ตัวรับความรู้สึกที่หนัง
ตัวรับความรู้สึกที่หนัง (อังกฤษ: cutaneous receptor) เป็นปลายประสาทรับความรู้สึกที่พบในหนังแท้หรือหนังกำพร้า โดยเป็นส่วนของระบบรับความรู้สึกทางกาย มีประเภทต่าง ๆ รวมทั้งตัวรับแรงกลที่หนัง โนซิเซ็ปเตอร์ (ความเจ็บปวด) และตัวรับอุณหภูมิ[1]
ประเภท
[แก้]ตัวรับความรู้สึกที่ผิวหนังรวมทั้ง
- ตัวรับแรงกลที่หนัง
- ปลายประสาทรัฟฟินี อยู่ในหนังแท้ รับรู้ความตึงที่หนัง ช่วยให้รู้รูปร่างของวัสดุที่อยู่ในมือ ตอบสนองอย่างต่อเนื่อง ลานรับสัญญาณใหญ่
- เม็ดไวสัมผัส (tactile corpuscle) อยู่ใต้หนังกำพร้า รับรู้การเปลี่ยนแปลงของลายผิวและแรงสั่นความถี่ต่ำ ช่วยทำให้รู้สึกสัมผัสในเบื้องต้นเมื่อถูกวัสดุหรือเมื่อวัสดุลื่นมือ ตอบสนองเพียงชั่วคราว ลานรับสัญญาณเล็ก
- เม็ดพาชีเนียน อยู่ในหนังแท้ รับรู้แรงดันที่ลึกและแรงสั่นความถี่สูง ช่วยให้สามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ดี ตอบสนองเพียงชั่วคราว ลานรับสัญญาณใหญ่
- ปลายประสาทเมอร์เกิล อยู่ใต้หนังกำพร้า รับรู้สัมผัสและแรงดันที่คงยืน ไวเป็นพิเศษต่อขอบ มุม และปลายแหลม ทำให้รู้สึกเมื่อถู แรงสั่นความถี่ต่ำ ตอบสนองอย่างต่อเนื่อง ลานรับสัญญาณเล็ก
- ปลายประสาทอิสระ รับรู้สัมผัส การยืด อุณหภูมิ และความรู้สึกเจ็บปวด
- ตัวรับความรู้สึกที่ปุ่มรากขน ไวการเคลื่อนไหวของขน แต่ไม่รู้แรงดันที่อยู่นิ่ง ๆ ใยประสาทแต่ละเส้นส่งสาขาไปยังขน 10-30 เส้นในพื้นที่ 1-2 มม2[2]
- ตัวรับอุณหภูมิ รับรู้ความร้อนความเย็น และสารเคมีบางชนิดที่ทำให้รู้สึกร้อนเย็น รวมทั้งกระเทียม/ผักกาดหัว เมนทอล/มินต์/พืชวงศ์กะเพรา (มีกะเพรา โหระพา สะระแหน่เป็นต้น) การบูร แคปเซอิซิน/พริก[3]
- โนซิเซ็ปเตอร์ตอบสนองต่อตัวกระตุ้นที่อาจจะทำให้เกิดความเสียหาย และโดยปกติก็จะก่อให้เกิดความเจ็บปวด
- bulboid corpuscle รับรู้ความเย็น
- ตัวรับรู้สารเคมี
แบบความรู้สึก (Modalities)
[แก้]ด้วยตัวรับความรู้สึกแบบต่าง ๆ ที่กล่าวแล้ว ผิวหนังจึงสามารถรับรู้สัมผัส แรงกดดัน แรงสั่น อุณหภูมิ และความเจ็บปวด ความรู้สึกแบบต่าง ๆ (Modalities) ที่ตัวรับความรู้สึกตรวจจับจะคาบเกี่ยวกัน โดยมีใยประสาทแบบต่าง ๆ กัน
แบบความรู้สึก | ตัวรับความรู้สึก | ใยประสาท |
---|---|---|
สัมผัส | ตัวรับแรงกลที่หนังซึ่งปรับตัวอย่างรวดเร็ว -
|
|
สัมผัสและแรงดัน | ตัวรับแรงกลที่หนังซึ่งปรับตัวอย่างช้า ๆ
|
|
แรงสั่น |
| |
อุณหภูมิ | ตัวรับอุณหภูมิ |
|
ความเจ็บปวด และความคัน |
โนซิเซ็ปเตอร์ซึ่งเป็นปลายประสาทอิสระ |
|
สัณฐาน
[แก้]ตัวรับความรู้สึกที่หนัง อยู่ที่ปลายประสาทนำเข้า โดยมักจะหุ้มด้วยเม็ดแคปซูลอันเป็นเซลล์ที่ซับซ้อน ปลายประสาทมักจะเกี่ยวพันกับข่ายใยคอลลาเจนภายในแคปซูล โดยช่องไอออนจะอยู่ใกล้ ๆ ข่ายประสาทเช่นนี้
ในการถ่ายโอนความรู้สึก ใยประสาทนำเข้าจะส่งอิมพัลส์ประสาทไปยังไซแนปส์เป็นลำดับ ๆ ภายในระบบประสาทกลาง แรกสุดที่ไขสันหลังหรือ trigeminal nucleus (ในสมองส่วนกลาง พอนส์ และก้านสมองส่วนท้าย) ขึ้นอยู่กับผิวหนังที่เป็นจุดเริ่มส่งสัญญาณ วิถีหนึ่งส่งไปยังทาลามัสส่วนฐานด้านข้าง (ventrobasal) และต่อจากนั้นไปยังคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย (รอยนูนหลังร่องกลาง)[4]
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ Lincoln, RJ; Boxshall, GA (1990). Natural history - The Cambridge illustrated dictionary. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 0-521-30551-9.
- ↑ Gardner & Johnson 2013a, p. 482
- ↑ Gardner & Johnson 2013a, p. 487
- ↑ Mader, SS (2000). Human Biology. New York: McGraw-Hill. ISBN 0-07-290584-0.
อ้างอิงอื่น ๆ
[แก้]- Neuroscience (2008)
- Purves, Dale; Augustine, George J; Fitzpatrick, David; Hall, William C; Lamantia, Anthony Samuel; McNamara, James O; White, Leonard E, บ.ก. (2008a). "9 - The Somatic Sensory System: Touch and Proprioception". Neuroscience (4th ed.). Sinauer Associates. pp. 207–229. ISBN 978-0-87893-697-7.
- Purves, Dale; Augustine, George J; Fitzpatrick, David; Hall, William C; Lamantia, Anthony Samuel; McNamara, James O; White, Leonard E, บ.ก. (2008b). "10 - Pain". Neuroscience (4th ed.). Sinauer Associates. pp. 231–251. ISBN 978-0-87893-697-7.
- Principles of Neural Science (2013)
- Gardner, Esther P; Johnson, Kenneth O (2013a). "22 - The Somatosensory System: Receptors and Central Pathway". ใน Kandel, Eric R; Schwartz, James H; Jessell, Thomas M; Siegelbaum, Steven A; Hudspeth, AJ (บ.ก.). Principles of Neural Science (5th ed.). United State of America: McGraw-Hill. pp. 475–497. ISBN 978-0-07-139011-8.
- Gardner, Esther P; Johnson, Kenneth O (2013b). "23: Pain". ใน Kandel, Eric R; Schwartz, James H; Jessell, Thomas M; Siegelbaum, Steven A; Hudspeth, AJ (บ.ก.). Principles of Neural Science (5th ed.). United State of America: McGraw-Hill. pp. 498–529. ISBN 978-0-07-139011-8.