ดัชชีแบรย์ส
ดัชชีแบรย์ส Dugelezh Breizh Duché de Bretagne | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ราว ค.ศ. 939–ค.ศ. 1547 | |||||||||||
คำขวัญ: Kentoc'h mervel eget bezañ saotret (Breton) Potius mori quam fœdari (ละติน) Plutôt la mort que la souillure (ฝรั่งเศส) A ma vie (แบบอื่น; ฝรั่งเศส) | |||||||||||
สถานะ | ประเทศราชภายใต้ราชอาณาจักรแห่งชาวแฟรงก์ (ค.ศ. 942–952) สหราชวงศ์กับราชอาณาจักรอังกฤษ (ค.ศ. 1181–1202) ประเทศราชในอาณัติของราชอาณาจักรฝรั่งเศส (ค.ศ. 1202–1491) สหราชวงศ์กับราชอาณาจักรฝรั่งเศส (ค.ศ. 1491–1547) | ||||||||||
เมืองหลวง | น็องต์ แรน วานน์ และเมืองอื่นๆ | ||||||||||
ภาษาทั่วไป | เบรอตง, กาลโล, ละติน, ฝรั่งเศส, ปัวเตอแวง | ||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตยระบอบศักดินา | ||||||||||
ดยุก | |||||||||||
• ค.ศ. 1514–1524 | โกลด (สุดท้าย) | ||||||||||
สภานิติบัญญัติ | สภาแบรย์ส; รัฐสภาแบรย์ส | ||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||
1 สิงหาคม ราว ค.ศ. 939 | |||||||||||
13 สิงหาคม ค.ศ. 1547 | |||||||||||
สกุลเงิน | หลากหลาย[1] | ||||||||||
|
ดัชชีแบรย์ส หรือ ดัชชีเบรอตาญ (อังกฤษ: Duchy of Brittany; เบรอตาญ: Dugelezh Breizh; ฝรั่งเศส: Duché de Bretagne) เป็นรัฐศักดินาในสมัยกลางซึ่งมีอยู่ในระหว่างปีค.ศ. 939[a] และ 1547[b] โดยกินอาณาเขตทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรยุโรป โดยมีพรมแดนธรรมชาติคือมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตก และช่องแคบอังกฤษทางทิศเหนือ ทางทิศใต้นั้นในบางสมัยมีพรมแดนจรดแม่น้ำลัวร์ และนอร์ม็องดี กับจังหวัดอื่นๆ ของฝรั่งเศสทางทิศตะวันออก ดัชชีได้ถือกำเนิดขึ้นภายหลังจากการขับไล่กองทัพไวกิงออกจากภูมิภาคนี้ราวปีค.ศ. 939 ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 10 และ 11 ได้มีเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมืองบ่อยครั้งซึ่งดยุกแห่งแบรย์สนั้นมีอำนาจจำกัดนอกจากภายในเขตที่ดินของตนเอง ในด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านอย่างดัชชีนอร์ม็องดีผสมผสานระหว่างพันธมิตรกัน และในบางเวลาได้มีความขัดแย้งรุนแรงถึงขึ้นสงคราม เช่น ช่วงสงครามแบรย์ส-นอร์ม็องดี
พระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ ได้เข้ารุกรานแบรย์สในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 และได้สถาปนาพระองค์เป็นเคานต์แห่งน็องต์ในปีค.ศ. 1158 ตามสนธิสัญญาที่ทำขึ้นกับดยุกโกน็องที่ 4 ทำให้พระราชโอรสในพระเจ้าเฮนรีที่ 2 เจ้าชายเจฟฟรีได้ถืออิสริยยศเป็นดยุกแห่งแบรย์สผ่านทางการเสกสมรสกับกงส์ต็องส์ซึ่งมีฐานะเป็นดัชเชสแห่งแบรย์สโดยสายเลือด กษัตริย์ในราชวงศ์อ็องฌูนั้นควบคุมดินแดนนี้จนกระทั่งถึงการล่มสลายของจักรวรรดิอ็องฌูในฝรั่งเศสตอนเหนือในปีค.ศ. 1204 ต่อมาราชวงศ์ฝรั่งเศสได้เข้ามามีอิทธิพลในดัชชีตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ได้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นโดยหลายฝ่ายสนับสนุนผู้นำของตนจากทั้งฝ่ายอังกฤษและฝรั่งเศสเพื่อมีอำนาจในการปกครองดัชชีในระหว่างสงครามสืบบัลลังก์เบรอตง
สถานะดัชชีอันเป็นเอกราชนั้นสิ้นสุดลงพร้อมกับการทิวงคตของฟร็องซัวที่ 2 ในปีค.ศ. 1488 โดยบรรดาศักดิ์ดยุกได้ถูกสืบทางสายเลือดไปยังธิดา อาน แต่พระเจ้าชาร์ลที่ 8 แห่งฝรั่งเศสได้ประกาศให้การเสกสมรสของเธอเป็นโมฆะ และอภิเษกสมรสกับเธอแทน จึงเป็นผลทำให้บรรดาศักดิ์ดยุกแห่งแบรย์ส ได้ตกมาเป็นของกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสโดยสิทธิแห่งภรรยา (Jure uxoris) โดยบรรดาศักดิ์ดยุกแห่งแบรย์สได้ผนวกเข้ากับราชบัลลังก์ฝรั่งเศสในปีค.ศ. 1532 โดยผ่านสภาแบรย์สซึ่งมีผลภายหลังจากการทิวงคตของสมเด็จพระราชินีโกลดแห่งฝรั่งเศสผู้ซึ่งเป็นดัชเชสพระองค์สุดท้าย พระราชโอรสทั้งสองพระองค์ ได้แก่ ฟร็องซัวที่ 3 และต่อมาพระเจ้าอ็องรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศส ได้ถือว่าทำให้เกิดรัฐร่วมประมุขขึ้นภายหลังจากการสวรรคตของพระราชบิดา
ในภายหลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศส ดัชชีได้ถูกเปลี่ยนสถานะตามระบบสาธารณรัฐตั้งแต่ปีค.ศ. 1792 เป็นจังหวัดของฝรั่งเศส ซึ่งมีผลต่อไปถึงสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ปีที่เกิดยุทธการที่ Trans-la-Fôret
- ↑ ปีที่ตำแหน่งกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสและดยุคแห่งแบรย์สรวมตัวกับภายใต้การนำของพระเจ้าอ็องรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศส
อ้างอิง
[แก้]บรรณานุกรม
[แก้]- Bachrach, Bernard S. (1993). Fulk Nerra the Neo-Roman Consul, 987-1040: A Political Biography of the Angevin Count. University of California Press. ISBN 0-520-07996-5.
- Booton, Diane E. (2010). Manuscripts, Market and the Transition to Print in Late Medieval Brittany. ISBN 9780754666233.
- Bradbury, Jim (2000). The Capetians: Kings of France, 987-1328. London: Hambledon Continuum. ISBN 978-1-85285-528-4.
- The Columbia Encyclopedia in One Volume. Morningside Heights, New York City, New York, USA: Columbia University Press, Clarke F Ansley, Editor in Chief. 1935.
- Crouch, David (2002). The Normans: The History of a Dynasty. London: Hambledon. ISBN 978-1-85285-595-6.
- Delumeau, Jean (1969). Histoire de la Bretagne. Toulouse, France: Edouard Privat editeur; Jean Delumeau, directeur, with contributing authors P-R Giot, J L'Helgouach, J Briard, J-B Colbert de Beaulieu, L Pape, P Rache, G Devailly, H Touchard, J Meyer, A Mussat, and G Le Guen (chapters do not specify individual authors).
- Everard, Judith A. (2000). Brittany and the Angevins: Province and Empire 1158–1203. Cambridge, UK: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-66071-6.
- Frélaut, Bertrand (2000). Histoire de Vannes. Éditions Jean-Paul Gisserot. ISBN 2-87747-527-1.
- Galliou, Patrick; Jones, Michael (1991). The Bretons. Oxford, England and Cambridge, US: Blackwells. ISBN 9780631164067.
- Hallam, Elizabeth M.; Everard, Judith A. (2001). Capetian France, 987–1328 (2nd ed.). Harlow, England: Longman. ISBN 978-0-582-40428-1.
- Hjardar, Kim; Vike, Vegard (2016). Vikings at War. Casemate Publishers.
- Howarth, David Armine (2008). 1066: The Year of the Conquest. Paw Prints. ISBN 978-1-4395-1242-5.
- Jones, Michael (1988). The Creation of Brittany: A Late Medieval State. London: Hambledon Press. ISBN 0-907628-80-X.
- Keats-Rohan (1992). "The Bretons and Normans of England 1066–1154" Nottingham Medieval Studies (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-24. สืบค้นเมื่อ 2022-01-31.
- Nouailhat, Yves Henri (1979). Bretagne: écologie, économie, art, littérature, langue, histoire, traditions populaires, in vol. 16. d'Encyclopédies régionales. France: Le Puy, C Bonneton editor.
- Patterson, Benton Rain (2004). Harold and William; The Battle for England, A.D. 1064–1066. The History Press. ISBN 978-0-7524-2984-7.
- Price, Neil S. (1989). The Vikings in Brittany. Viking Society for Northern Research, University College London. ISBN 978-0-903521-22-2.
- Small, Graeme (2009). Late Medieval France. Palgrave Macmillan. ISBN 9781137102157.[ลิงก์เสีย]
- Smith, Julia M. H. (1992). Province and Empire: Brittany and the Carolingians. Cambridge, UK: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-38285-4.