ดอริส เลสซิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดอริส เลสซิง
Doris Lessing CH
ดอริส เลสซิงที่งานเทศกาลวรรณกรรมแห่งโคโลญในปี ค.ศ. 2006
ดอริส เลสซิงที่งานเทศกาลวรรณกรรมแห่งโคโลญในปี ค.ศ. 2006
เกิดDoris May Tayler
22 ตุลาคม ค.ศ. 1919(1919-10-22)
เคร์มอนชอฮ์ อิหร่าน
เสียชีวิต17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013(2013-11-17) (94 ปี)
ลอนดอน อังกฤษ
นามปากกาJane Somers
อาชีพนักเขียน
สัญชาติอังกฤษ
พลเมืองสหราชอาณาจักร
ช่วงเวลา1950–2013
แนวนวนิยาย เรื่องสั้น อัตชีวประวัติ ดรามา เนื้อเรื่องอุปรากร โคลงกลอน
แนวร่วมในทางวรรณคดีนวยุคนิยม แนวคิดหลังยุคนวนิยม ลัทธิศูฟี สังคมนิยม สิทธิสตรี นวนิยายวิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์
ผลงานที่สำคัญ
คู่สมรส
บุตรJohn (1940–1992), Jean (1941-), Peter (1946–2013)[1]
เว็บไซต์
dorislessing.org

ดอริส เมย์ เลสซิง (อังกฤษ: Doris Lessing, CH, OBE) (22 ตุลาคม ค.ศ. 191917 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013) ดอริส เลสซิงเป็นนักเขียนคนสำคัญชาวอังกฤษผู้เกิดในเปอร์เชียผู้เขียนนวนิยายเช่น The Grass is Singing และ The Golden Notebook.

ในปี ค.ศ. 2007 เลสซิงได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ราชสถาบันสวีเดน (Swedish Academy) บรรยายเลสซิงว่า “that epicist of the female experience, who with scepticism, fire and visionary power has subjected a divided civilisation to scrutiny”[2] เลสซิงเป็นสตรีคนที่สิบเอ็ดที่ได้รับรางวัลโนเบลในประวัติศาสตร์ของรางวัลในรอบ 106 ปี[3][4] และเป็นผู้มีอายุสูงสุดที่ได้รับรางวัลในสาขาวรรณกรรม[5]

ประวัติ[แก้]

เลสซิงเกิดในเปอร์เซีย (อิหร่าน) เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1919 บิดาชื่อกัปตันอัลเฟรด เทย์เลอร์ และเอ็มมิลี มอด เทย์เลอร์ (สกุลเดิม แม็คเวห์)[6] บิดาผู้เสียขาข้างหนึ่งระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งพบเอ็มมิลีผู้เป็นพยาบาลที่ Royal Free Hospital ที่ไปรักษาตัวจากการถูกตัดขาอยู่[7][8]

อัลเฟรดและเอ็มมิลีย้ายไปเคร์มอนชอฮ์ (Kermanshah) ในอิหร่าน เพื่อไปรับหน้าที่เป็นเสมียนกับธนาคารหลวงแห่งเปอร์เซีย (Imperial Bank of Persia) เลสซิงถือกำเนิดที่นั่นในปี ค.ศ. 1919[9][10] หลังจากนั้นครอบครัวก็ย้ายไปยังอาณานิคมอังกฤษ โรดีเชียใต้ (Southern Rhodesia) (ซิมบับเวปัจจุบัน) ในปี ค.ศ. 1925 เพื่อไปทำฟาร์มข้าวโพด อัลเฟรดซื้อที่ดินราวหนึ่งพันเอเคอร์ เอ็มมิลีพยายามดำเนินชีวีตแบบเอ็ดเวิร์ดท่ามกลางสิ่งแวดล้อมในอาณานิคม ซึ่งก็ไม่ควรจะเป็นปัญหาถ้าเป็นครอบครัวที่มีฐานะดี แต่ครอบครัวเทย์เลอร์ไม่อยู่ในฐานะเช่นนั้น ฟาร์มที่ทำก็ไม่ประสบความสำเร็จและมิได้สร้างฐานะให้แก่ตามที่เทย์เลอร์หวัง[11]

เลสซิงได้รับการศึกษาที่โรงเรียนคอนแวนต์โดมินิคันสำหรับสตรีที่ซอลสบรี (ปัจจุบันคือ กรุงฮาราเร)[12] และออกจากโรงเรียนเมื่อมีอายุ 14 ปี หลังจากนั้นก็ทำการศึกษาด้วยตนเอง เลสซิงออกจากบ้านเมื่ออายุ 15 ปีไปทำงานเป็นผู้ช่วยพยาบาล ในช่วงเวลานี้เลสซิงก็เริ่มอ่านงานที่เกี่ยวกับการเมืองและสังคมวิทยาที่นายจ้างมอบให้อ่าน[8] และเริ่มการเขียนในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ในปี ค.ศ. 1937 เลสซิงก็ย้ายกลับไปซอลสบรีเพื่อไปทำงานเป็นพนักงานโทรศัพท์ และไม่นานหลังจากนั้นก็สมรสกับแฟรงค์ วิสดอม และมีลูกด้วยกันสองคนก่อนที่จะหย่ากันในปี ค.ศ. 1943[8]

หลังจากการหย่าร้างแล้วเลสซิงก็หันไปสนใจกับสมาคมหนังสือเล็ฟต์ (Left Book Club) ซึ่งเป็นสมาคมผู้ขายหนังสือเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์[11] เลสซิงพบสามีคนต่อมาที่นั่น ก็อตต์ฟรีด เลสซิง (Gottfried Lessing) ไม่นานทั้งสองคนก็สมรสกันและมีลูกด้วยกันคนหนึ่ง แต่การแต่งงานก็มาสิ้นสุดด้วยการหย่าร้างในปี ค.ศ. 1949 ก็อตต์ฟรีด เลสซิงต่อมาเป็นทูตเยอรมนีตะวันออกประจำยูกันดา และถูกฆาตกรรมในปี ค.ศ. 1979 ระหว่างการปฏิวัติต่อต้านอีดี อามิน (Idi Amin)[8]

เลสซิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 ที่บ้านพักในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ขณะมีอายุได้ 94 ปี[13]

อ้างอิง[แก้]

  1. Stanford, Peter (22 November 2013). "Doris Lessing: A mother much misunderstood". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 27 June 2017.
  2. "NobelPrize.org". สืบค้นเมื่อ 2007-10-11.
  3. Crown, Sarah. Look at her face.Doris Lessing wins Nobel prize. Look at her face.. The Guardian. Retrieved 2007-10-12.
  4. Editors at BBC. Author Lessing wins Nobel honour. BBC News. Retrieved on 2007-10-12.
  5. Marchand, Philip. Doris Lessing oldest to win literature award. Toronto Star. Retrieved on 2007-10-13.
  6. Hazelton, Lesley (2007-10-11). "`Golden Notebook' Author Lessing Wins Nobel Prize". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2007-10-11.
  7. Klein, Carole. "Doris Lessing". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2007-10-11.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 "Doris Lessing". kirjasto.sci.fi. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-08. สืบค้นเมื่อ 2007-10-11.
  9. Hazelton, Lesley (1982-07-25). "Doris Lessing on Feminism, Communism and 'Space Fiction'". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2007-10-11.
  10. "Author Lessing wins Nobel honour". BBC News Online. 2007-10-11. สืบค้นเมื่อ 2007-10-11.
  11. 11.0 11.1 "Biography". A Reader's Guide to The Golden Notebook & Under My Skin. HarperCollins. 1995. สืบค้นเมื่อ 2007-10-11.
  12. Carol Simpson Stern. Doris Lessing Biography. biography.jrank.org. Retrieved on 2007-10-11.
  13. "Doris Lessing dies aged 94". The Guardian. 17 November 2013.

งานเขียนของเลสซิง[แก้]

นวนิยาย
หนังสือชุด Children of Violence
  • Martha Quest (1952)
  • A Proper Marriage (1954)
  • A Ripple from the Storm (1958)
  • Landlocked (1965)
  • The Four-Gated City (1969)
หนังสือชุด Canopus in Argos: Archives
อุปรากร
ดรามา
  • Each His Own Wilderness (three plays, 1959)
  • Play with a Tiger (1962)
โคลงกลอน
  • Fourteen Poems (1959)
  • The Wolf People - INPOPA Anthology 2002 (poems by Lessing, Robert Twigger and T.H. Benson, 2002)
รวบรวมเรื่อง
  • Five Short Novels (1953)
  • The Habit of Loving (1957)
  • A Man and Two Women (1963)
  • African Stories (1964)
  • Winter in July (1966)
  • The Black Madonna (1966)
  • The Story of a Non-Marrying Man (1972)
  • This Was the Old Chief's Country: Collected African Stories, Vol. 1 (1973)
  • The Sun Between Their Feet: Collected African Stories, Vol. 2 (1973)
  • To Room Nineteen: Collected Stories, Vol. 1 (1978)
  • The Temptation of Jack Orkney: Collected Stories, Vol. 2 (1978)
  • Through the Tunnel (1990)
  • London Observed: Stories and Sketches (1992)
  • The Real Thing: Stories and Sketches (1992)
  • Spies I Have Known (1995)
  • The Pit (1996)
  • The Grandmothers: Four Short Novels (2003)
นิทานแมว
  • Particularly Cats (stories and nonfiction, 1967)
  • Particularly Cats and Rufus the Survivor (stories and nonfiction, 1993)
  • The Old Age of El Magnifico (stories and nonfiction, 2000)
  • On Cats (2002) – หนังสือรวมเล่มที่มีสามเล่มข้างต้น
สารคดี
  • In Pursuit of the English (1960)
  • Prisons We Choose to Live Inside (ความเรียง, 1987)
  • The Wind Blows Away Our Words (1987)
  • African Laughter: Four Visits to Zimbabwe (บันทึกความทรงจำ, 1992)
  • A Small Personal Voice (ความเรียง, 1994)
  • Conversations (บทสัมภาษณ์ บรรณาธิการโดย Earl G. Ingersoll, 1994)
  • Putting the Questions Differently (บทสัมภาษณ์ บรรณาธิการโดย Earl G. Ingersoll, 1996)
  • Time Bites (ความเรียง, 2004)
  • On Not Winning the Nobel Prize (Nobel Lecture, 2007, published 2008)
อัตชีวประวัติ และบันทึกความทรงจำ
  • Going Home (บันทึกความทรงจำ, 1957)
  • Under My Skin: Volume One of My Autobiography, to 1949 (1994)
  • Walking in the Shade: Volume Two of My Autobiography, 1949 to 1962 (1997)
  • Alfred and Emily (ผสมนวนิยายและบันทึกความทรงจำ, 2008)

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ดอริส เลสซิง