ข้ามไปเนื้อหา

ฏอฆูต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฏอฆูต (อาหรับ: طاغوت พหุพจน์: เฏาะวาฆีต ความหมายโดยกว้าง: "ไปไกลเกินขอบเขต" หรือ ระบุเป็น "ความสูง" หรือ "จุดสูงสุด" มาจากคำว่า ฏอฆิยะฮ์ طاغية แปล. ทรราช) เป็นอภิธานศัพท์ศาสนาอิสลามแสดงถึงการสักการะสิ่งอื่นใดนอกจากพระเจ้า ในเทววิทยาอิสลาม คำนี้มักใช้กับการบูชายัญเลือดแก่เทวรูปหรือมารของพวกนอกศาสนา[1] ในปัจจุบัน คำนี้สามารถใช้กับอำนาจเผด็จการ ซึ่งมาจากซูเราะฮ์ อันนิซาอ์ อายะฮ์ที่ 60[2] นักปราชญ์อิสลามสมัยใหม่ ซัยยิด อะบุล อะลา เมาดูดีย์ นิยาม ฏอฆูต ในตัฟซีรของเขาเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่ได้แค่ก่อกบฎต่อพระเจ้าเท่านั้น แต่ได้ล่วงละเมิดเจตจำนงของตนเองด้วย[3] เนื่องจากการเชื่อมโยงเหล่านี้ ทำให้ในปัจจุบัน คำนี้ถูกใช้แก่คนหรือกลุ่มที่ต่อต้านอิสลามและตัวแทนของลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งใช้มาตั้งแต่การปฏิวัติอิหร่านของรูฮุลลอฮ์ โคมัยนี[2]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

นักบูรพคดีศึกษาส่วนใหญ่กล่าวว่าคำนี้มาจากภาษาเอธิโอเปียว่า amlaka gebt หมายถึง แปลก, เทพต่างชาติ ที่ศาสดามุฮัมมัดตีความถึงรูปปั้นหรือ พระเจ้าปลอม[4]

หรือคำในภาษาอาหรับมาจากรากสามอักษรของ ط-غ-ت ซึ่งหมายถึง "ข้ามขอบเขต, ล้ำเส้นขอบเขต" หรือ "ก่อกบฎ"[5]

ในอัลกุรอาน

[แก้]

คำว่า ฏอฆูต ปรากฎอยู่ในอัลกุรอาน 8 ครั้ง[2] ในอาระเบียก่อนการมาของอิสลาม อิงถึงเทพเจ้าของพวกนอกรีต เช่น อัลลาต และอัลอุซซา[6]

"เจ้ามิได้มองดูบรรดาผู้ที่ได้รับส่วนหนึ่งจากคัมภีร์ดอกหรือ? โดยที่พวกเขาศรัทธาต่ออัลญิบติ และอัฏ-ฏอฆูต และกล่าวแก่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา ว่า 'พวกเขาเหล่านี้แหละเป็นผู้อยู่ในทางที่เที่ยงตรงกว่าบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย"

— กุรอาน ซูเราะฮ์ที่ 4 (อันนิซาอ์), อายะฮ์ที่ 51[7]

โองการนี้อิงจากเหตุการณ์จริงที่กลุ่มของผู้ปฏิเสธชาวมักกะฮ์ไปหาชาวยิวที่โดดเด่นสองคนเพื่อหารือถึงความจริงในคำสอนของมุฮัมมัด และกล่าวว่าพวกนอกรีตมีเส้นทางที่เที่ยงตรงกว่ามุสลิม[8]

"เจ้ามิได้มองดูบรรดาผู้ที่อ้างตนว่าพวกเขาศรัทธาต่อสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้าและสิ่งที่ถูกประทานลงมาก่อนเจ้าดอกหรือ ? โดยที่เขาเหล่านั้นต้องการที่จะให้การแก่อัฏฏอฆูต ทั้ง ๆ ที่พวกเขาถูกใช้ให้ปฏิเสธมันและชัยฏอนนั้นต้องการที่จะให้พวกเขาหลงทางที่ห่างไกล"

— กุรอาน ซูเราะฮ์ที่ 4 (อันนิซาอ์), อายะฮ์ที่ 60[9]

ฏอฆูต ในภาษาอาหรับมีความหมายหลากหลาย เพื่ออิงถึงรูปปั้น, ทรราชจำเพาะ, เทพยากรณ์ หรือศัตรูของท่านศาสดา[10][11]

"บรรดาผู้ที่ศรัทธานั้น พวกเขาจะต่อสู้ในทางของอัลลอฮฺ และบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธานั้น พวกเขาจะต่อสู้ในทางของอัฎ-ฎอฆูต ดังนั้นพวกเจ้าจงต่อสู้บรรดาสมุนของชัยฏอนเถิด แท้จริงอุบายของชัยฏอนนั้นเป็นสิ่งที่อ่อนแอ"

— กุรอาน ซูเราะฮ์ที่ 4 (อันนิซาอ์), อายะฮ์ที่ 76[12]

อีกครั้งที่คำว่า ฏอฆูต ใช้เจาะจงถึงมารที่พวกกุเรชบูชา[13]

"ไม่มีการบังคับใดๆ (ให้นับถือ) ในศาสนา อิสลาม แน่นอน ความถูกต้องนั้นได้เป็นที่กระจ่างแจ้งแล้วจากความผิด ดังนั้นผู้ใดปฏิเสธศรัทธาต่ออัฎ-ฎอฆูต และศรัทธาต่ออัลลอฮฺแล้ว แน่นอนเขาได้ยึดห่วงอันมั่นคงไว้แล้ว โดยไม่มีการขาดใด ๆ เกิดขึ้นแก่มัน และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้"

— กุรอาน ซูเราะฮ์ที่ 2 (อัลบะเกาะเราะฮ์), อายะฮ์ที่ 256[14]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Nünlist, Tobias (2015). Dämonenglaube im Islam (ภาษาเยอรมัน). Walter de Gruyter. p. 210. ISBN 978-3-110-33168-4.
  2. 2.0 2.1 2.2 Momen, Moojan. (1995). "Țāghūt". In John L. Esposito. The Oxford Encyclopedia of the Modern Islamic World. Oxford: Oxford University Press.
  3. Mawdudi, 1988, vol.1, pp.199-200
  4. Bellamy, James A. (2001). "Textual Criticism of the Koran". Journal of the American Oriental Society. 121 (1): 1–6. JSTOR 606724.
  5. Mir, Mustansir (2007). Understanding the Islamic Scripture. New York: Pearson Longman. p. 55. ISBN 978-0-321-35573-7.
  6. Fahd, T.; Stewart, F. H. (2012). "Ṭāg̲h̲ūt". ใน Bearman, P.; Bianquis, Th.; Bosworth, C. E.; van Donzel, E.; Heinrichs, W. P. (บ.ก.). Encyclopaedia of Islam (Second ed.). doi:10.1163/1573-3912_islam_COM_1147. ISBN 9789004161214, 1960-2007
  7. อัลกุรอาน 4:51
  8. See Abdel Haleem Oxford Translation p.87 notes
  9. อัลกุรอาน 4:60
  10. See Abdel Haleem Oxford Translation of the Qur'an p.89
  11. Abdel Haleem Oxford Translation p.91
  12. อัลกุรอาน 4:76
  13. Dr. Shmuel Bar Lebanese Hizballah – Political, Ideological and Organizational Highlights 29 October 2006 p. 6
  14. อัลกุรอาน 7:256