ข้ามไปเนื้อหา

ญาณวิทยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ญาณวิทยา (อังกฤษ: Epistemology; /ɪˌpɪstɪˈmɒləi/ ( ฟังเสียง); จากภาษากรีก: ἐπιστήμη, epistēmē หมายถึง ความรู้ และเติมปัจจัย -logy) เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา ที่ศึกษาทฤษฎีของความรู้

ญาณวิทยาเป็นการศึกษาธรรมชาติของความรู้ การให้เหตุผลสนับสนุน (justification) และความเป็นเหตุเป็นผลของความเชื่อ (rationality of belief) การถกเถียงในญาณวิทยามักอยู่ในสี่แนวคิดหลักคือ (1) การวิเคราะห์ทางปรัชญา (philosophical analysis) ของธรรมชาติของความรู้และความสัมพันธ์ระหว่างมันกับแนวคิดเช่น ความจริง (truth) ความเชื่อ (belief) และการให้เหตุผลสนับสนุน (justification (epistemology)),[1][2] (2) ปัญหานานาประการของความสงสัย (skepticism), (3) ที่มาและขอบเขตของความรู้และความเชื่อที่มีเหตุผล และ (4) เกณฑ์สำหรับว่าสิ่งใดเป็นความรู้และเป็นการให้เหตุผล ญาณวิทยาตั้งคำถามอย่างเช่น "อะไรทำให้ความเชื่อที่มีเหตุผล (justified belief) มีเหตุผล (justified)",[3] "อะไรหมายถึงการที่เรารู้บางสิ่ง (to say that we know something)"[4] และที่พื้นฐานที่สุด "เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรารู้แล้ว (How do we know that we know?)"[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Steup, Matthias (2005). Zalta, Edward N. (บ.ก.). "Epistemology". Stanford Encyclopedia of Philosophy (Spring 2014 ed.).
  2. Borchert, Donald M., บ.ก. (1967). "Epistemology". Encyclopedia of Philosophy. Vol. 3. Macmillan.
  3. Steup, Matthias (8 September 2017). Zalta, Edward N. (บ.ก.). The Stanford Encyclopedia of Philosophy. Metaphysics Research Lab, Stanford University – โดยทาง Stanford Encyclopedia of Philosophy.
  4. Carl J. Wenning. "Scientific epistemology: How scientists know what they know" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-06-23. สืบค้นเมื่อ 2020-05-11.
  5. "The Epistemology of Ethics". 1 September 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-20. สืบค้นเมื่อ 2020-05-11.