ฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชอร์ช-ปีแยร์ เซอรา
Georges-Pierre Seurat
ฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา, ค.ศ. 1888
เกิดGeorges-Pierre Seurat
2 ธันวาคม ค.ศ. 1859(1859-12-02)
ปารีส, จักรวรรดิฝรั่งเศสที่สอง
เสียชีวิต29 มีนาคม ค.ศ. 1891(1891-03-29) (31 ปี)
ปารีส, สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3
สัญชาติฝรั่งเศส
มีชื่อเสียงจากจิตรกรรม
ผลงานเด่นบ่ายวันอาทิตย์บนเกาะลากร็องด์ฌัต
คนอาบน้ำที่อัสนีแยร์
ขบวนการลัทธิประทับใจยุคหลัง, ลัทธิประทับใจใหม่, ลัทธิผสานจุดสี

ฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา (ฝรั่งเศส: Georges-Pierre Seurat[p][1]; UK: /ˈsɜːrɑː, -ə/ SUR-ah-,_--; US: /sʊˈrɑː/ suu-RAH; ภาษาฝรั่งเศส: [ʒɔʁʒ pjɛʁ sœʁa]) (2 ธันวาคม ค.ศ. 1859 - 29 มีนาคม ค.ศ. 1891) เป็นจิตรกรชาวฝรั่งเศสของสมัยอิมเพรสชันนิสม์ใหม่ของคริสต์ศตวรรษที่ 19 งานเขียนชิ้นที่มีชื่อเสียงที่สุดของเซอราคือภาพ “บ่ายวันอาทิตย์บนเกาะลากร็องด์ฌัต” ที่เขียนระหว่างปี ค.ศ. 1884 ถึง ค.ศ. 1886 ซึ่งเป็นภาพที่เปลี่ยนทิศทางของศิลปะสมัยใหม่เข้าสู่สมัยอิมเพรสชันนิสม์ใหม่ และเป็นภาพไอคอนสำคัญที่สุดภาพหนึ่งของคริสต์ศตวรรษที่ 19[2]

ประวัติ[แก้]

เซอราเกิดในครอบครัวที่มีฐานะดีในกรุงปารีสในประเทศฝรั่งเศส บิดาของเซอรามีอาชีพทางกฎหมายผู้มาจากช็องปาญ ส่วนมารดาเป็นชาวปารีส เซอราเริ่มการศึกษาด้านศิลปะกับประติมากร Justin Lequiene ต่อมาก็เข้าศึกษาที่สถาบันวิจิตรศิลป์ระหว่างปี ค.ศ. 1878 จนถึง ค.ศ. 1879 หลังจากไปรับราชการเป็นทหารอยู่ปีหนึ่งแล้วเซอราก็กลับมายังปารีสในปี ค.ศ. 1880 มามีห้องเขียนภาพร่วมกับนักเรียนสองคนที่เลฟต์แบงก์ก่อนที่จะไปมีห้องเขียนภาพของตนเอง ระหว่างช่วงสองปีต่อมาเซอราก็อุทิศตัวเองให้กับการวาดลายเส้นขาวดำ ในปี ค.ศ. 1883 เซอราก็เขียนงานชิ้นสำคัญชิ้นแรกซึ่งเป็นภาพขนาดใหญ่ชื่อ “Bathers at Asnières” (คนอาบน้ำที่อัสนีแยร์)

เมื่อภาพเขียนถูกปฏิเสธจากการแสดงที่นิทรรศการศิลปะแห่งปารีส เซอราก็หันหลังให้กับสถาบันทางการไปรวมกลุ่มกับศิลปินอิสระในปารีส ในปี ค.ศ. 1884 เซอราและจิตรกรผู้อื่น (รวมทั้ง Maximilien Luce) ก็ก่อตั้งสมาคมศิลปินอิสระแห่งปารีส ที่สมาคมเซอราก็ได้ทำความรู้จักกับจิตรกรปอล ซีญัก ผู้ที่เซอราเสนอความคิดเกี่ยวกับการเขียนแบบผสานจุดสี ต่อมาซีญักก็ดำเนินการเขียนภาพด้วยวิธีที่ว่านี้ ระหว่างฤดูร้อนของปีเดียวกัน เซอราก็เริ่มเขียนงานชิ้นเอก “บ่ายวันอาทิตย์บนเกาะลากร็องด์ฌัต” ที่ใช้เวลาสองปีจึงเขียนเสร็จ

ต่อมาเซอราก็ย้ายไปอยู่อย่างลับ ๆ กับนางแบบสาวมาเดอเลน คโนบล็อกผู้เป็นแบบในภาพ “Jeune femme se poudrant” ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1890 มาเดอเลนก็ให้กำเนิดแก่บุตรชายชื่อปีแยร์ ฌอร์ฌ หลังจากที่เซอราเสียชีวิตมาเดอเลนก็ให้กำเนิดแก่บุตรชายคนที่สองผู้เสียชีวิตอาจจะแต่กำเนิดหรือไม่นานหลังจากนั้น

สาเหตุการเสียชีวิตของเซอราไม่เป็นที่ทราบแน่นอนแต่เชื่อกันว่าอาจจะมาจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบ, ปอดบวม, infectious angina หรืออาจจะเป็นโรคคอตีบ ลูกชายคนโตก็มาเสียชีวิตเพียงสองอาทิตย์ต่อมาจากโรคเดียวกัน[3] เซอราเขียนงานชิ้นสุดท้าย “The Circus” ค้างไว้ก่อนที่จะเสียชีวิต

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "C.U.S.D. Art Masterpiece Manual", Mary Lynne Lasure, p.38, web: CUSD-artm-PDF[ลิงก์เสีย].
  2. "Seurat and the Making of La Grande Jatte". archive.artic.edu.
  3. Death of Seurat, CDC.
[p] - The name Georges Seurat is pronounced as "Zhorzh Soo-rah".

ดูเพิ่ม[แก้]

  • Cachin, Françoise, Seurat: Le rêve de l’art-science, Paris: Gallimard/Réunion des musées nationaux, 1991
  • Everdell, William R. (1998). The First Moderns. Chicago: University of Chicago Press. ISBN 0-226-22480-5.
  • Fénéon, Félix, Oeuvres-plus-que-complètes, ed., J. U. Halperin, 2v, Geneva: Droz, 1970
  • Gage, John T., “The Technique of Seurat: A Reappraisal,” Art Bulletin 69:3 (87 September)
  • Halperin, Joan Ungersma, Félix Fénéon: Aesthete and Anarchist in Fin-de-Siècle Paris, New Haven, CT: Yale U.P., 1988
  • Homer, William Innes, Seurat and the Science of Painting, Cambridge, MA: MIT Press, 1964
  • Lövgren, Sven, The Genesis of Modernism: Seurat, Gauguin, Van Gogh & French Symbolism in the 1880s, 2nd ed., Bloomington, IN: Indiana U.P., 1971
  • Rewald, John, Cézanne, new ed., NY: Abrams, 1986
  • Rewald, Seurat, NY: Abrams, 1990
  • Rewald, Studies in Impressionism, NY: Harry N. Abrams, 1986
  • Rewald, Post-Impressionism, 3rd ed., revised, NY: Museum of Modern Art, 1978
  • Rewald, Studies in Post-Impressionism, NY: Harry N. Abrams, 1986
  • Rich, Daniel Catton, Seurat and the Evolution of La Grande Jatte (U. of Chicago Press, 1935), NY: Greenwood Press, 1969
  • Russell, John, Seurat, (1965) London: Thames & Hudson, 1985
  • Seurat, Georges, Seurat: Correspondences, témoignages, notes inédites, critiques, ed., Hélène Seyrès, Paris: Acropole, 1991 (NYU ND 553.S5A3)
  • Seurat, ed., Norma Broude, Seurat in Perspective, Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall, 1978

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา