ข้ามไปเนื้อหา

ศิลปะสัจนิยม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพเขียนแบบสัจจนิยม “สวัสดีมงซิเออร์คูร์เบต์” โดย กุสตาฟ คูร์เบต์ ค.ศ. 1854

ศิลปะสัจนิยม (อังกฤษ: Realism) คือทัศนศิลป์ และ วรรณกรรมที่แสดงตัวแบบหรือเรื่องราวตามที่ปรากฏในชีวิตประจำวันโดยปราศจากการสร้างเสริมหรือการตีความหมาย และหมายถึงงานศิลปะที่เผยให้เห็นถึงความเป็นจริงที่อาจจะเน้นความเป็นอัปลักษณ์ด้วย

สัจนิยมมักจะหมายถึงขบวนการศิลปะที่เริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ทศวรรษ 1850 ความนิยมสัจนิยมเพิ่มมากขึ้นเมื่อเริ่มมีศิลปะการถ่ายภาพเกิดขึ้น ที่ทำให้ศิลปินมีความต้องการที่จะสร้างงานที่ดู “แท้จริง” ศิลปินสัจนิยมจะมีทัศนคติที่ตรงกันข้ามกับลัทธิจินตนิยมซึ่งเป็นประเภทของศิลปะที่มีอิทธิพลต่องานศิลปะและวรรณกรรมในฝรั่งเศสในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 การไม่ใช้ความรู้สึกส่วนตัวในการบิดเบือนทำให้ศิลปินสัจนิยมมีความเชื่อในปรัชญาของความเป็นจริง และ ต่อต้านการแสดงออกทางอารมณ์อย่างเกินเลย สัจจะและความเที่ยงตรงคือปัจจัยสำคัญของผู้ที่เรียกตนเองว่าเป็นสัจนิยม

อ้างอิง

[แก้]
  • West, Shearer (1996). The Bullfinch Guide to Art. UK: Bloomsbury Publishing Plc. ISBN 0-8212-2137-X.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]