กลุ่มเบลาเออไรเทอร์
กลุ่มเบลาเออไรเทอร์ (เยอรมัน: Der Blaue Reiter, อังกฤษ: The Blue Rider) หรือแปลตรงตัวว่ากลุ่มคนขี่ม้าสีน้ำเงิน คือกลุ่มศิลปินจากกลุ่มศิลปินใหม่แห่งมิวนิกในเยอรมนี ซึ่งเป็นขบวนการศิลปะของเยอรมนีที่รุ่งเรืองระหว่าง ค.ศ. 1911 จนถึง ค.ศ. 1914 บลู ไรเดอร์ เป็นพื้นฐานของเอ็กซเพรสชันนิสม์ และดีบรึคเคอ (Die Brücke) ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อสิบปีก่อนหน้านั้นในปี ค.ศ. 1905
ก่อนจะเป็นเบลาเออไรเทอร์
[แก้]วาสสิลี แคนดินสกี (Wassily Kandinsky) และ ฟรานซ์ มาร์ก (Franz Marc) เจอกันครั้งแรกในปลายปี 1910 หลังจากที่มาร์กได้เขียนคำวิจารณ์ถึงการจัดนิทรรศการครั้งที่สองของ Neue Künstlervereinigung München (N.K.V.M. กลุ่มศิลปินหน้าใหม่ในมิวนิก) ก่อนที่จะเป็น เดอะ บลู ไรเดอร์ แคนดินสกีและศิลปินคนอื่น ๆ เคยเป็นสมาชิกของ N.K.V.M. กลุ่มศิลปินหน้าใหม่ในมิวนิกมาก่อน N.K.V.M. ได้เริ่มต้นก่อตั้งขึ้นในปี 1909 เป็นกลุ่มที่รวบรวมศิลปินที่ถูกเนรเทศออกจากกลุ่มศิลปะรัสเซีย ซึ่งได้แก่ วาสสิลี แคนดินสกี (Wassily Kandinsky), อเล็ก วอน จาวเลนสกี (Alexej von Jawlensky), Marianne von Werefkin, Vladimir von Berekhtyev กลุ่มศิลปินกลุ่มนี้จึงเป็นเสมือนการผสมผสานศิลปินต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยที่ภายหลังกลุ่มศิลปะกลุ่มนี้ก็ได้ดึงดูดศิลปินต่าง ๆ ให้เข้ามาได้ในไม่ช้า รวมถึง Alexander Kanoldt, Paul Baum, Carl Hofer, Adolf Erbsloh และ Gabriele Münter นักประวัติศาสตร์ศิลปะ อย่าง Heinrich Schnabel, Oskar Wittgenstein and Otto Fischer นักเต้น Alexander Sakharov นักดนตรีและนักเขียน ความหลากหลายนี้อาจจะเป็นแนวความคิดของแคนดินสกีที่ต้องการรวมเอาความหลายหลายทางศิลปะเข้าด้วยกัน สถาบัน N.K.V.M.รวบรวมศิลปินเข้าด้วยกัน ไม่เพียงแต่เพื่อที่จะแสดงให้เห็นสิ่งที่อยู่ภายนอก แต่เพื่อที่จะแสดงให้เห็นโลกที่อยู่ภายในตัวของพวกเขาด้วย
สมาคมศิลปินหน้าใหม่ของมิวนิก ได้จัดนิทรรศการไปแล้ว 2 ครั้ง และมีการปะทะกันอย่างรุนแรง รวมถึงการแตกหักกัน ในระหว่างการเตรียมงานถึงสามครั้ง ครั้งแรกในเดือนธันวาคม 1909 ในการจัดนิทรรศการที่ Thanhauser ในปีถัดมาจากวันที่ 1-14 กันยายน เป็นการจัดนิทรรศการที่มีนิทรรศการอื่นถูกจัดขึ้นในสถานที่เดียวกัน ซึ่งมีการแสดงผลงานจากศิลปินรับเชิญ อย่างเช่น ปีกัสโซ (สเปน: Pablo Ruiz Picasso), Braque, Derain, van Donggen และ Georges Rouault เป็นความตั้งใจที่จะชี้ให้เห็นพัฒนาการขนานกัน ซึ่งเป็นการเพิ่มความตึงเครียดให้เกิดขึ้นภายในสมาคม ในปี 1911 หลังจากความตึงเครียดที่ดำเนินมาเรื่อย ๆ สุดท้ายแคนดิสกีตัดสินใจลาออกจากการเป็นประธานที่ N.K.V.M. รวมถึงมาร์กด้วย พวกเขาทั้งสองลาออกจากการเป็นสมาชิก ในวันที่ 2 ธันวาคม 1911
ที่มาของชื่อ เบลาเออไรเทอร์
[แก้]แคนดินสกี กล่าวว่า ชื่อของกลุ่มถูกคิดขึ้นมาในขณะที่เขากำลังนั่งดื่มกาแฟที่บ้านในเมือง Sindelsdors เขากล่าวว่า “พวกเราต่างก็ชอบสีฟ้า และชอบม้าเหมือน ๆ กัน ส่วนฉันก็ชอบคนขี่ม้า” ดังนั้นชื่อกลุ่มของเขาจึงถือได้ว่า เป็นชื่อที่ได้เปิดเผยให้เห็นความหมายที่ตรงไปตรงมาในตนเองอย่างมาก พร้อมกับภาพจิตรกรรมของแคนดินสกี ที่ก็มักจะเป็น คนขี่ม้าสีน้ำเงิน (Der Blaue Reiter)
พัฒนาการ
[แก้]ในปี 1911 หลังจากที่แคนดิสกีและมาร์กได้ออกจากกลุ่ม N.K.V.M. แคนดินสกีกลายเป็นบรรณาธิการ ของกลุ่มเดอะ บลู ไรเดอร์ และพวกเขาทั้งสอง ก็ได้รีบจัดนิทรรศการ ในวันเดียวกันกับงานเปิดนิทรรศการของกลุ่ม N.K.V.M. ซึ่งเป็นนัยหมายถึงการแสดงให้เหตุถึงพลังของศิลปะหัวก้าวหน้า ที่ก้าวหน้ากว่า
เดอะ บลู ไรเดอร์ แต่เดิมชื่อนี้ถูกเผยแพร่โดย Reinhard Piper (เยอรมัน: Reinhard Piper)ซึ่งเป็นผู้โฆษณา และวางแผนปรับปรุงแก้ไขใหม่โดยที่วาสสิลี แคนดินสกี (อังกฤษ: Wassily Kandinsky) และฟรานซ์ มาร์ก (อังกฤษ: Franz Marc) ช่วยกันจัดนิทรรศการเพื่อแสดงให้เห็นถึงทฤษฎีและรูปแบบงานศิลปะของพวกเขาขึ้น ในปี 1911 และปี 1912 โดยนิทรรศการครั้งแรกถูกจัดขึ้นที่ Thannhauser Gallery ในเมืองมิวนิกและเปิดแสดงในวันที่ 18 พฤศจิกายน 1911 นอกเหนือจาก วาสสิลี แคนดินสกี(อังกฤษ: Wassily Kandinsky) และฟรานซ์ มาร์ก(อังกฤษ: Franz Marc) แล้วก็ยังมีศิลปินคนอื่น ๆ อีกที่เข้าร่วมแสดงด้วย เช่น Gabriele Münter, Arnold Schönberg ซึ่งเป็นนักแต่งเพลง August Macke และ Heinrich Campendonk ซึ่งเป็นศิลปินในกลุ่ม ไรน์นิช เอกซ์เพรสชั่นนิสม์ (อังกฤษ: Rhenish Expressionism)และ เดอลาเนย์ (Robert Delaunay) ศิลปินชาวฝรั่งเศส รวมถึงอเล็ก วอน จาวเลนสกี (Alexej von Jawlensky), Marianne von Werefkin และพอล คลี (Paul Klee) ก็ได้เข้าร่วมด้วย ชื่อของศิลปินทั้งหมดนี้ส่วนใหญ่ปรากฏอยู่ในกลุ่ม เดอะ บลู ไรเดอร์ ทั้งในบทความและสมุดภาพ
พัฒนาการขั้นที่สองของ เดอะ บลู ไรเดอร์ คือพื้นที่ในศิลปะอาร์ตนูโว (ฝรั่งเศส: Art Nouveau) ซึ่งเป็นศูนย์กลางของศิลปะของเมืองมิวนิก นิตยสาร 2 ฉบับ ที่ตีพิมพ์ในปี 1896 ได้แก่ นิตยสาร Jugend (คนหนุ่มสาว) และ นิตยสาร Simplicissimus ได้แสดงให้เห็นว่า ศิลปินอาร์ตนูโวที่เป็นตัวแทนสำคัญที่สุดของมิวนิก คือ Von Stuck ซึ่งแนวคิดทั้งหมดของเขาถูกใส่ลงไปในงานศิลปะที่เขาทำ ส่งผลให้ถ้อยแถลงที่ถูกระบุโดยแคนดินสกีกลายเป็นเพียงความคิดที่ค่อนข้างจะธรรมดาไปแล้ว ในสภาพแวดล้อมของเขาเมืองมิวนิก ที่เต็มไปด้วยแนวคิดที่เปิดกว้างเกี่ยวกับวงการศิลปะและด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้เมืองมิวนิกเป็นสถานที่ที่สมบูรณ์แบบสำหรับศิลปินทั้งหลาย
ศิลปินในกลุ่ม
[แก้]- วาสสิลี แคนดินสกี (Wassily Kandinsky)
- ฟรานซ์ มาร์ก (Franz Marc)
- อเล็ก วอน จาวเลนสกี (Alexej Jawlensky)
- August Macke
- Paul Klee
- Gabriele Münter
- Heinrich Campendonk
- Albert Bloch
- Natalia Goncharova
- Marianne von Werefkin
- ไลโอเนล ไฟนิงเกอร์ (Lyonel Feininger)
- อาร์น็อลท์ เชินแบร์ค (Arnold Schoenberg)
- David Burliuk
ผลงาน
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- John E. Bowlt, Rose-Carol Washton Long. The Life of Vasilii Kandinsky in Russian art : a study of "On the spiritual in art" by Wassily Kandinsky. Pub l. Newtonville, Mass. USA. 1980. ISBN 0-89250-131-6 ISBN 0-89250-132-4
- Wassily Kandinsky, M. T. Sadler (Translator) Concerning the Spiritual in Art. Dover Publ. (Paperback). 80 pp. ISBN 0-486-23411-8. or: Lightning Source Inc. Publ. (Paperback). ISBN 1-4191-1377-1
- Shearer West (1996). The Bullfinch Guide to Art. UK: Bloomsbury Publishing. ISBN 0-8212-2137-X.
- Hoberg, Annegret, & Friedel, Helmut (ed.): Der Blaue Reiter und das Neue Bild, 1909-1912, Prestel, München, London & New York 1999 ISBN 3-7913-2065-3
- Hopfengart, Christine: Der Blaue Reiter, DuMont, Cologne 2000 ISBN 3-7701-5310-3