ชาวจีนในประเทศปากีสถาน
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
---|---|
อิสลามาบาด การาจี ละฮอร์ ประเทศปากีสถาน | |
ภาษา | |
ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ ภาษาอูรดู | |
ศาสนา | |
ศาสนาอิสลาม[1] ศาสนาพุทธ |
ชาวจีนในประเทศปากีสถาน คือกลุ่มชนเชื้อสายจีนที่อพยพมาจากประเทศจีน โดยเข้ามาตั้งรกราก และพำนักในดินแดนปากีสถานประมาณกว่า 10,000 คน ในปี พ.ศ. 2552[2]
ชุมชนชาวจีน
[แก้]ประมาณปี ค.ศ. 1904 มีชาวจีนมุสลิมจำนวนหนึ่งอพยพเข้ามาจากประเทศจีน และได้ตั้งถิ่นฐานในเมืองการาจี[1] อย่างไรก็ตาม ชุมชนชาวจีนแต่เดิมก็ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม โดยบรรพบุรุษของพวกเขานับถือศาสนาพุทธ แต่ภายหลังได้หันไปนับถือศาสนาอื่น หรือไม่นับถือเลย โดยกลุ่มชนเชื้อสายจีนกลุ่มนี้กว่าร้อยละ 30 ได้ยอมรับนับถือศาสนาอิสลาม[3]
กลุ่มชนเชื้อสายจีนของการาจีในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นรุ่นที่สอง รุ่นแรกที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ส่วนมากได้เสียชีวิตหมดแล้ว และรุ่นที่สามส่วนมากให้อพยพไปสู่ประเทศอื่น[3] โดยส่วนมากอพยพไปสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา หรืออพยพไปประเทศจีน[1] พวกเค้าแทบจะไม่สวมเสื้อผ้าจีน แต่รักษาภาษาจีน แม้ไม่นานมานี้จะมีการเปลี่ยนแปลงทางภาษา ซึ่งหันมาพูดภาษาอูรดู[1][3] ที่ผ่านมาชุมชนชาวจีนได้จัดตั้งคณะกรรมการสมาคมเชื้อสายจีน เพื่อแสดงความเป็นปึกแผ่นของชุมชน พวกเขาตั้งอยู่ใกล้กับ Pakistan Employees Cooperative Housing บนถนนตาริก (Tariq) ในเขตเซดดาร์[3] โดยเป็นที่ตั้งของร้านอาหารจีน 15 ร้าน และเขตนี้บางครั้งจึงถูกเรียกว่า "ไชน่าทาวน์"[4]
นอกจากร้านอาหารจีนแล้ว ช่าวปากีสถานเชื้อสายจีนยังประกอบอาชีพช่างเสริมสวย ช่างทำรองเท้า ทำฟัน โดยส่วนมากเป็นรุ่นที่สองโดยสืบทอดจากรุ่นบรรพบุรุษ[3] โดยหมอฟันเชื้อสายจีนส่วนมากจะเจาะจงลูกค้าที่มีรายได้ต่ำในเมือง และส่วนมากพวกเขาไม่มีใบประกอบอาชีพอย่างเป็นทางการ ซึ่งบรรพบุรุษของพวกเขาเคยอาศัยอยู่ท่ามกลางชุมชนชาวจีนในประเทศมาเลเซีย และเคยทำงานช่วยเหลือเกี่ยวฟัน แตต่อมาได้อพยพมายังประเทศปากีสถานเพื่อฝึกหัดเป็นทันตแพทย์ด้วยตัวเอง เนื่องจากการาจีในช่วงนั้นขาดแคลนหมอฟัน โดยขณะนี้ได้มีโรงเรียนทันตกรรมที่ไฮเดอราบาด รัฐซินด์[5]
ในเมืองละฮอร์ ชาวจีนมุสลิมได้จัดตั้งมัสยิดเรียกว่า จินีมัสญิด (Chini Masjid) หรือมัสยิดจีน พวกเขาได้แต่งงานข้ามเชื้อชาติกับคนในท้องถิ่น[6] โดยที่นี่ชาวจีนได้ผลิตรองเท้าสองยี่ห้อ และมีชื่อเสียง ได้แก่ Hopson และ Kingson[7]
ชนกลุ่มน้อยจากจีน
[แก้]มีปนระชากรจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีจำนวนมากของจีนคือชาวอุยกูร์ และทาจิก ที่อพยพมาจากเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศปากีสถาน[8] มีผู้อพยพกว่าพันคนในปี ค.ศ. 1940 ได้อพยพเข้ามาด้วยความเกรงกลัวคอมมิวนิสต์ในจีน [9] และอพยพมากว่าร้อยคนจากเมืองโฮตาน ใน ค.ศ. 1954[10] ต่อมาคลื่นผู้อพยพเข้ามาอีกในปี ค.ศ. 1963 และอีกครั้งในปี ค.ศ. 1974
ในปี ค.ศ. 2009 มีการประมาณการว่ามีประชากรประมาณ 3,000 คน โดย 800 คนอยู่ในเมืองกิลกิต ประมาณ 2,000 คนอาศัยอยู่ในเมืองราวัลปินดี อีกกว่า 100 อาศัยอยู่ในเมืองซุซต์บนคาราโครัมไฮเวย์ ส่วนที่เหลือกระจายกระจายอยู่ทั่วไปในประเทศ[8] นอกจากนี้ทางการจีนได้เรียกร้องสมาชิกของขบวนการอิสลามเตอรกีสถานตะวันออก (East Turkestan Islamic Movement) ที่ได้กระทำการในเมืองละฮอร์ด้วย[11]
ชุมชนชาวอุยกูร์ในปากีสถานนั้น ได้มีความสัมพันธ์อันดีกับเจ้าบ้านปากีสถานเป็นอย่างดี มีการแต่งงานข้ามเผ่าพันธุ์ระหว่างสองฝ่าย และส่วนมากพูดภาษาอูรดูได้มากกว่าพูดภาษาอุยกูร์ โดยกลุ่มเชื้อสายอุยกูร์จะทำธุรกิจเล็กๆ[9] เมื่อไม่นานมานี้พวกเขาได้ทำการนำเข้าเซรามิกจากจีน และผลิตภัณฑ์จากซินเจียง มาส่งขายภายในปากีสถาน[12]
ผู้อพยพเข้ามาทำงาน
[แก้]ในประเทศปากีสถานได้มีคนงานจากประเทศจีนเข้ามาทำงานจำนวนมากขึ้น แต่ก็ถูกขัดจังหวะเนื่องจากเกิดการโจมตีในปากีสถานเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ผู้อาศัยชาวจีนส่วนใหญ่จึงได้ส่งผู้หญิงและเด็กกลับบ้าน[13] ในปี ค.ศ. 2007 มีวิศวกรชาวจีน 3,500 คน เข้ามาทำงานในการสร้าง ท่าเรือกวาดาร์ รวมเป็น 5,000 คน [14] คาดกันว่ามีอีก 1,200 คนอยู่ในอิสลามาบาด[15] ในระหว่างปี ค.ศ. 2008-2009 จำนวนชาวจีนในปากีสถานได้เติบโตขึ้นกว่า 10,000 คน และอาจจะมากกว่าคนเชื้อชาติอื่นที่เข้ามาทำงานในปากีสถาน[2]
องค์กรชาวจีนในปากีสถาน
[แก้]องค์กรชุมชนชาวจีนในปากีสถาน ถูกจัดตั้งขึ้นเนื่องจากอุปสรรคต่างๆของคนงานจีนในปากีสถาน สถานทูตจึงได้จัดตั้งการติดต่อสื่อสารกับคณะกรรมการการปกครองปากีสถาน เพื่อเข้าไปดูแลด้านความปลอดภัย[15] อันได้แก่
- กิลกิต: สมาคมชาวจีนเมืองกิลกิต (吉尔吉特华人华侨协会)[16]
- อิสลามาบาด: สมาคมจีนเมืองอิสลามาบาด (伊斯兰堡华人华侨协会)[17]
- ละฮอร์: สมาคมจีนเมืองละฮอร์ (拉合尔华人华侨协会)[18]
- ราวัลปินดี: สมาคมจีนเมืองราวัลปินดี (拉瓦尔品第华人华侨协会)[19]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Asadullah (2007-09-26), "Disappearing Chinese Diaspora", The International News, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-19, สืบค้นเมื่อ 2009-03-25
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Fazl-e-Haider, Syed (2009-09-11), "Chinese shun Pakistan exodus", Asia Times, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-13, สืบค้นเมื่อ 2009-09-11
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Ramzi, Shanaz (2001-07-09), "The melting pot by the sea", Dawn, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-07-15, สืบค้นเมื่อ 2009-07-26
- ↑ Karachi Chinatown, Chinatownology.com, สืบค้นเมื่อ 2009-09-12
- ↑ Rizvi, Amna (2005-07-08), "Karachi's Chinese Dentists", Daily Jang, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-07-11, สืบค้นเมื่อ 2009-07-26
- ↑ Wang, Daiyu (2007-10-27), "Chinese Muslims in Pakistan", Chowk, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-21, สืบค้นเมื่อ 2009-03-25
- ↑ Hamid, A. (2006-07-02), "Lahore Lahore Aye: How Lahore has changed", Daily Times of Pakistan, สืบค้นเมื่อ 2009-07-26
- ↑ 8.0 8.1 Sun, Jincheng (2009-07-19), "巴基斯坦维族华人领袖:新疆维族人过得比我们好/Pakistan Uyghur leader: Xinjiang Uyghurs live better than us", Global Times Chinese Edition, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04, สืบค้นเมื่อ 2009-09-14
- ↑ 9.0 9.1 Rahman, Anwar (2005), Sinicization beyond the Great Wall: China's Xinjiang Uighur Autonomous Region, Troubador Publishing, p. 60, ISBN 9781904744887
- ↑ Rahman 2005, p. 50
- ↑ Ali, Wajahat (2004-05-29), "China says terrorists from Xinjiang hiding in Pakistan", Daily Times, สืบค้นเมื่อ 2009-03-25
- ↑ "巴基斯坦北部华裔维吾尔人/Uyghurs of China in Northern Pakistan", Broadcasting Corporation of China, 2009-02-23, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-07, สืบค้นเมื่อ 2009-07-26
- ↑ "担心大战爆发 巴基斯坦华人纷纷回国/Worrying that war will explode, Chinese in Pakistan go home one by one", People's Daily, 2001-09-27, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03, สืบค้นเมื่อ 2009-09-11
- ↑ "Peshawar killing evokes fear among foreigners", Dawn, 2007-07-10, สืบค้นเมื่อ 2009-03-25
- ↑ 15.0 15.1 "Liaison committee for Chinese security being formed", Daily Times, 2007-07-10, สืบค้นเมื่อ 2009-03-25
- ↑ "巴基斯坦华人华侨与我外交官共庆元宵节/Overseas Chinese in Pakistan celebrate Lantern Festival with Chinese diplomats", People's Daily, 2009-02-10, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-19, สืบค้นเมื่อ 2009-09-11
- ↑ "新疆海外交流协会慰问巴基斯坦华人华侨/Xinjiang Overseas Exchanges Association expresses appreciation to overseas Chinese in Pakistan", China Radio International, 2008-07-17, สืบค้นเมื่อ 2009-09-11
- ↑ "'镜头里的中国'图片展在拉合尔开幕/'China in the mirror' photo exhibition opens in Lahore", People's Daily, 2008-06-24, สืบค้นเมื่อ 2009-09-14
- ↑ Yin, Liang (2008-02-06), "巴基斯坦华人华侨为中国灾区捐款/Overseas Chinese in Pakistan make donations for China disaster areas", China Radio International, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-08, สืบค้นเมื่อ 2009-09-14