ข้ามไปเนื้อหา

ชัชวาลล์ คงอุดม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชัชวาลล์ คงอุดม
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 (81 ปี)
อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย
พรรคการเมืองชาติไทย (2545–2550)
รวมใจไทยชาติพัฒนา (2550–2551)
ประชาธิปัตย์ (2551–2555)
พลังท้องถิ่นไท (2555–2565)
รวมไทยสร้างชาติ (2565–ปัจจุบัน)
คู่สมรสวงศ์เดือน คงอุดม
บุตร

ชัชวาลล์ คงอุดม หรือที่รู้จักกันในชื่อ ชัช เตาปูน (นามเดิม ; ชัชวาลย์ คงอุดม ; 12 พฤศจิกายน 2486 - ) เป็นนักการเมืองและนักธุรกิจชาวไทย ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อและอดีตหัวหน้าพรรคพลังท้องถิ่นไท

เขาทำหน้าที่เป็นสมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับการเลือกตั้งจากกรุงเทพในปี พ.ศ. 2543 ถึง 2549 และเคยเป็นบรรณาธิการบริหาร โดยได้รับความไว้วางใจจาก ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ให้สืบสานกิจการหนังสือพิมพ์สยามรัฐ โดยทั้งสองได้นับถือกันเป็นพ่อ-ลูก สมัยที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตดุสิต และได้รับการช่วยเหลือจาก ชัช เตาปูน[1]

ชัชวาลล์ คงอุดม ก่อตั้ง พรรคพลังท้องถิ่นไท ในปี พ.ศ. 2555[2] การเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2562 ปัจจุบันมี ส.ส.จำนวน 5 ที่นั่ง[3][4][5]

จนในที่สุดพรรคของเขาได้รับเลือกตั้งจำนวน 3 ที่นั่ง และตัดสินใจเข้าร่วมรัฐบาลภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และในปี พ.ศ. 2563 พรรคของเขาได้รับสมาชิกใหม่เพิ่มอีก 2 คน ซึ่งถูกขับให้ออกจากพรรคอนาคตใหม่ กระทั่งในวันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2565 นายชัชวาลล์ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็น ส.ส. และสมาชิกพรรคพลังท้องถิ่นไท[6] โดยในวันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2565 นายชัชวาลล์ได้เดินทางมาสมัครสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ พร้อมกับนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี และนายชุมพล กาญจนะ[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. คิง เคนนี่ (30 October 2017). "ใครบอกเป็นเจ้าพ่อผมไม่โกรธนะ อย่ามาว่าผมเป็นมาเฟีย". COP'S Magazine. สืบค้นเมื่อ 30 March 2019.
  2. ""ชัช เตาปูน" กับการฝืนคำสั่ง"พ่อ"". Kom Chad Luek. 2 November 2018. สืบค้นเมื่อ 30 March 2019.
  3. Thaitrakulpanich, Asaree (5 February 2019). "Election Gets Epic With Cinematic Campaign Posters". Khaosod English. สืบค้นเมื่อ 30 March 2019.
  4. "14 พรรคกวาด ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ 'อนาคตใหม่' คว้ามากสุด 57 ที่นั่ง". VoiceTV. 29 March 2019. สืบค้นเมื่อ 30 March 2019.
  5. "ล่าสุด! เปิดโฉม 27 พรรค ยึด ส.ส.เขต-บัญชีรายชื่อจากฐานคะแนน 100%". Matichon Online. 28 March 2019. สืบค้นเมื่อ 30 March 2019.
  6. 'ชัช เตาปูน' ลาออกส.ส.พลังท้องถิ่นไท จ่อซบรวมไทยสร้างชาติ
  7. ‘ไตรรงค์-ชุมพล-ชัช เตาปูน’ เปิดตัวซบรวมไทยสร้างชาติยก ‘บิ๊กตู่’ ผู้มากบารมี!
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๒, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘