งูดิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

งูดิน
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 87.8–0Ma ยุคครีเทเชียสตอนปลาย - ปัจจุบัน (ดูข้อความ)
Brahminy blind snake,
Ramphotyphlops braminus
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
อันดับ: กิ้งก่าและงู
อันดับย่อย: Serpentes
อันดับฐาน: งูดิน
Cope, 1864[1]
วงศ์

ดูข้อความ

งูดิน เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกงูกลุ่มหนึ่ง[2] จัดอยู่ในอันดับฐาน Scolecophidia[3] จัดเป็นงูขนาดเล็กที่สุด เป็นงูไม่มีพิษ มีลักษณะลำตัวยาวเรียว ปกคลุมด้วยเกล็ดมันวาว ขนาดเท่ากันตลอดลำตัวรวมทั้งเกล็ดท้อง มักมีสีน้ำตาลหรือดำ ลิ้นมี 2 แฉก มีขนาดลำตัวตั้งแต่ความยาวไม่กี่เซนติเมตรลักษณะคล้ายไส้เดือนหรือไส้ดินสอ ไปจนถึงความยาวกว่า 30 เซนติเมตร ตาขนาดเล็กมากอยู่ใต้เกล็ด บางชนิดมองไม่เห็นเลยจนเสมือนว่าตาบอด มักพบเจองูดินได้บ่อย ๆ บนพื้นดินช่วงหลังฝนตกใหม่ ๆ ดำรงชีวิตโดยการกินไข่และตัวอ่อนของมดและปลวกรวมถึงสัตว์ขาปล้องขนาดเล็กเป็นอาหาร

งูทั้งหมดในวงศ์นี้เป็นนักขุดงัด (สามารถขุดรูได้)[4] ปัจจุบันมีชนิดที่ยอมรับถึง 5 วงศ์ และ 39 สกุล[5]

การจำแนก[แก้]

วงศ์[3] ผู้อนุกรมวิธาน[3] สกุล[5] ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ)[3] สถานที่พบแพร่กระจายพันธุ์[1]
Anomalepididae Taylor, 1939 4 primitive blind snakes ตอนใต้ของอเมริกากลาง และทวีปอเมริกาใต้
Gerrhopilidae Vidal, Wynn, Donnellan & Hedges, 2010[6] 2 blind snakes อินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ และนิวกินี[7]
Leptotyphlopidae Stejneger, 1892 13 slender blind snakes or threadsnakes แอฟริกา, เอเชียตะวันตก และทวีปอเมริกา
Typhlopidae Merrem, 1820 18 long-tailed blind snakes ภูมิภาคเขตร้อนส่วนใหญ่และกึ่งเขตร้อนหลายแห่งทั่วโลก
Xenotyphlopidae Vidal, Vences, Branch & Hedges, 2010[6] 1 blind snakes มาดากัสการ์

สำหรับในประเทศไทย เป็นงูดินที่อยู่ในวงศ์ Typhlopidae หรืองูดินตาบอด พบประมาณ 12 ชนิด ใน 2 สกุล คือ Typhlops เช่น งูดินตรัง (T. trangensis), งูดินหัวเหลือง (T. floweri), งูดินสองสี (T. muelleri) และสกุล Ramphotyphlops เช่น งูดินหัวขาว (R. albiceps) และงูดินบ้าน (R. braminus) เป็นต้น[8]

วิวัฒนาการชาติพันธุ์[แก้]

ตารางวิวัฒนาการชาติพันธุ์นำข้อมูลจาก Vidal et al. ใน ค.ศ. 2010 และ Fachini et al. ใน ค.ศ. 2020[6][9]

Scolecophidia

Anomalepididae




Leptotyphlopidae




Boipeba


Typhlopoidea

Gerrhopilidae




Xenotyphlopidae



Typhlopidae








อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 McDiarmid RW, Campbell JA, Touré TA (1999). Snake Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference, Volume 1. Washington, District of Columbia: Herpetologists' League. 511 pp. ISBN 1-893777-00-6 (series). ISBN 1-893777-01-4 (volume).
  2. Vitt, Laurie J.; Caldwell, Janalee P. (2014). Herpetology: An Introductory Biology of Amphibians and Reptiles (Fourth ed.). Academic Press. pp. 597–603. ISBN 978-0-12-386919-7.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Scolecophidia". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 14 August 2007.
  4. Scolecophidia at Palaeos. Accessed 21 December 2013.
  5. 5.0 5.1 Uetz, Peter. "The Reptile Database". The Reptile Database. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-18. สืบค้นเมื่อ 31 December 2017.
  6. 6.0 6.1 6.2 Vidal, Nicolas; และคณะ (2010). "Blindsnake evolutionary tree reveals long history on Gondwana". Biology Letters. 6 (4): 558–561, page 560. doi:10.1098/rsbl.2010.0220. PMC 2936224. PMID 20356885.
  7. Vitt, Laurie J.; Caldwell, Janalee P. (2013). Herpetology: An Introductory Biology of Amphibians and Reptiles. Academic Press. p. 600. ISBN 9780123869203.
  8. วีรยุทธ์ เลาหะจินดา. วิทยาสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลาน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2552. 458 หน้า. ISBN 978-616-556-016-0
  9. Thiago Schineider Fachini; Silvio Onary; Alessandro Palci; Michael S.Y. Lee; Mario Bronzati; Annie Schmaltz Hsiou (2020). "Cretaceous blindsnake from Brazil fills major gap in snake evolution". iScience. 23 (12): Article 101834. doi:10.1016/j.isci.2020.101834. PMC 7718481. PMID 33305189.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]