ข้ามไปเนื้อหา

การใส่ท่อช่วยหายใจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Tracheal intubation
การแทรกแซง
Photograph of an anesthesiologist using the Glidescope video laryngoscope to intubate the trachea of an elderly person with challenging airway anatomy
Anesthesiologist using the Glidescope video laryngoscope to intubate the trachea of a morbidly obese elderly person with challenging airway anatomy
ICD-9-CM96.04
MeSHD007442
OPS-301 code:8-701
MedlinePlus003449

การใส่ท่อช่วยหายใจคือการใส่ท่อช่วยหายใจซึ่งทำจากพลาสติกหรือยางเข้าไปในหลอดลมเพื่อให้ผู้ป่วยมีทางหายใจที่เปิดตลอดเวลา หรือใช้เป็นทางในการให้ยาบางอย่าง ส่วนใหญ่ใช้กับผู้ป่วยที่ป่วยหนักเฉียบพลัน บาดเจ็บเฉียบพลัน หรือได้รับยาระงับความรู้สึก เพื่อเป็นทางในการช่วยหายใจ และป้องกันการสูดสำลัก หรือป้องกันไม่ให้ทางหายใจถูกปิดกั้น ที่ทำบ่อยที่สุดคือการใส่ท่อช่วยหายใจทางปาก ซึ่งจะใส่ท่อช่วยหายใจผ่านปาก ผ่านกล่องเสียง เข้าไปยังหลอดลม ทางอื่นเช่นใส่ทางจมูก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีวิธีที่ต้องผ่าตัด เช่น การผ่าเปิดช่องที่เยื่อคริโคไทรอยด์ (cricothyroidomy) ซึ่งมักใช้ในกรณีฉุกเฉิน และการผ่าเปิดช่องที่หลอดลม (tracheostomy, "การเจาะคอ") ซึ่งมักทำในกรณีที่คาดว่าจำเป็นจะต้องใส่ท่อช่วยหายใจอยู่เป็นเวลานาน วิธีใส่ท่อช่วยหายใจแบบที่ต้องผ่าตัดนี้อาจทำในกรณีฉุกเฉินหากการใส่ด้วยวิธีปกติไม่ประสบผลสำเร็จ

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ของการใส่ท่อช่วยหายใจมีตั้งแต่ภาวะแทรกซ้อนเล็กน้อยเช่นฟันหัก หรือเนื้อเยื่อของทางเดินหายใจส่วนบนบาดเจ็บ หรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้เช่นการสูดสำลักจากกระเพาะอาหารเข้าไปยังปอด หรือใส่ท่อช่วยหายใจไม่เข้าหลอดลมแต่ไปเข้าหลอดอาหารแทนทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน ดังนั้นการประเมินว่าผู้ป่วยที่กำลังจะได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจอาจมีกายวิภาคของทางเดินหายใจที่ไม่ปกติหรือปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจึงมีความสำคัญอย่างมากก่อนที่จะใส่ท่อช่วยหายใจ หากเป็นไปได้จำเป็นจะต้องมีแผนทางเลือกสำหรับกรณีใส่ท่อช่วยหายใจไม่สำเร็จเอาไว้ด้วยเสมอ