ข้ามไปเนื้อหา

การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018 และ 2022

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กระบวนการการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018 และ 2022 เป็นกระบวนการซึ่งคัดเลือกสถานที่จัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 และ 2022 ซึ่งเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 โดยมีสิบเอ็ดประเทศเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ ถึงประเทศหนึ่งที่ขอถอนตัวและอีกหนึ่งประเทศได้รับการปฏิเสธก่อนคณะผู้บริหารของฟีฟ่าจะลงคะแนนเสียงในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 สองประเทศในจำนวนนี้เสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022 เท่านั้น ในขณะที่ประเทศที่เหลือเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานทั้งสองครั้งในช่วงแรก เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553 รัสเซียและกาตาร์ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018 และ 2022 ตามลำดับ

ตลอดการพิจารณา ประเทศนอกทวีปยุโรปทั้งหมดได้ถอนตัวจากการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018 ทำให้ประเทศผู้เสนอตัวทวีปยุโรปทั้งหมดไม่ได้รับการพิจารณาให้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022 ณ เวลาของการตัดสินใจ การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018 ประกอบด้วยการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพร่วมของเบลเยี่ยมและเนเธอร์แลนด์ อังกฤษ การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพร่วมของโปรตุเกสและสเปน และรัสเซีย ในขณะที่ประเทศผู้เสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022 มาจากออสเตรเลีย ญี่ปุ่น กาตาร์ เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกา การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพของอินโดนีเซียได้รับการตัดสิทธิเนื่องจากขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ เม็กซิโกถอนตัวจากการเสนอตัวเนื่องจากปัญหาทางการเงิน

กระบวนการเสนอตัวยังเป็นประเด็นโต้เถียงกันรุนแรง เนื่องจากสมาชิกคณะผู้บริหารฟี่ฟ่าสองคนได้ถูกระงับสิทธิ์ลงคะแนนเสียงหลังจากมีข้อกล่าวหาว่ารับเงินเพื่อแลกกับคะแนนเสียง การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพของอังกฤษและรัสเซียยังได้เป็นประเด็นโต้เถียงกันหลังจากมีการแสดงความไม่พอใจอย่างเป็นทางการในกฎของฟีฟ่าเกี่ยวกับการพูดคุยถึงผู้เสนอตัวเป็นเจ้าภาพที่เป็นคู่แข่งกัน ถึงแม้ว่าข้อไม่พอใจดังกล่าวจะได้รับการถอนออกไปหลังจากรัสเซียออกมาแสดงความขอโทษ

เบื้องหลัง

[แก้]

เดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 ฟีฟ่าได้ยกเลิกนโยบายการเวียนเจ้าภาพฟุตบอลโลกตามทวีป โดยเปลี่ยนนโยบายเป็นว่า สมาชิกจากสมาพันธ์ของฟีฟ่าเดียวกันกับประเทศเจ้าภาพฟุตบอลโลกสองครั้งที่ผ่านมาถือว่าขาดคุณสมบัติ ดังนั้น ทวีปแอฟริกาจึงขาดคุณสมบัติเสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018 และทวีปอเมริกาใต้ขาดคุณสมบัติที่จะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกทั้ง 2018 และ 2022[1] ปัจจัยอื่นในกระบวนการเลือกเจ้าภาพ รวมไปถึงจำนวนสนามกีฬาที่เหมาะสม และตำแหน่งที่ตั้งตลอดประเทศผู้เสนอตัว การลงคะแนนเสียงกระทำหลายรอบโดยที่ประเทศที่ได้รับคะแนนเสียงน้อยที่สุดในแต่ละรอบจะถูกคัดออกจนกระทั่งเหลือประเทศผู้เสนอตัวเพียงประเทศเดียวที่มีคะแนนเสียงข้างมาก

นโยบายการเวียนเจ้าภาพฟุตบอลโลก

[แก้]
สมาพันธ์ฟุตบอลของฟีฟ่า

หลังจากการเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2006 ฟีฟ่าได้ตัดสินใจออกนโยบายสำหรับกำหนดเจ้าภาพจัดการแข่งขันในอนาคต สมาพันธ์ฟุตบอลโลกทั้งหก ซึ่งมักมีขอบเขตครอบคลุมแต่ละทวีป จะผลัดเวียนกันเสนอให้ประเทศสมาชิกหนึ่งเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก ระบบดังกล่าวถูกใช้เฉพาะในการเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2010 (แอฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพ) และฟุตบอลโลก 2014 (บราซิลเป็นเจ้าภาพ) ซึ่งเปิดโอกาสให้เฉพาะสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งแอฟริกา (CAF) และสมาพันธ์ฟุตบอลอเมริกาใต้ (CONMEBOL) ตามลำดับ

เดือนกันยายน พ.ศ. 2550 ระบบการเวียนเจ้าภาพได้นำมาสู่การทบทวน และได้มีการเสนอระบบใหม่ซึ่งเสนอให้ประเทศจากสมาพันธ์ฟุตบอลที่เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกสองครั้งล่าสุด[2] ข้อเสนอดังกล่าวได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ในซือริช สวิตเซอร์แลนด์ โดยคณะผู้บริหารฟีฟ่า ภายใต้นโยบายดังกล่าว ประเทศที่มีคุณสมบัติจะต้องมาจากทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป หรือโอเชียเนีย โดยทวีปแอฟริกาและทวีปอเมริกาใต้ขาดคุณสมบัติ[3] เช่นเดียวกัน ไม่มีสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลอเมริกาใต้สามารถเสนอเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022 ได้ และประเทศจากสมาพันธ์ฟุตบอลเดียวกับประเทศเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018 จะไม่ได้รับการพิจารณาในการเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022 เนื่องจากรัสเซียได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018 ประเทศในทวีปยุโรปจึงขาดคุณสมบัติที่จะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022 เช่นเดียวกัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Fifa abandons World Cup rotation". BBC News Online. 29 October 2007. สืบค้นเมื่อ 29 October 2007.
  2. "New rotation proposal". BBC Sport. 25 September 2007. สืบค้นเมื่อ 22 October 2007.
  3. Hall, Matthew (18 September 2005). "Australia can host World Cup". Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 22 October 2007.