ข้ามไปเนื้อหา

การหมักเนื้อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การหมักเนื้อ (อังกฤษ: marination) สามารถทำได้ในหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น การหมักด้วยกรดเปรี้ยว, การหมักด้วยเอนไซม์ หรือการหมักด้วยนม ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายและทำให้รสชาติของเนื้อดีขึ้น[1]

การหมักด้วยกรดเปรี้ยว

[แก้]

การหมักด้วยกรดเปรี้ยว เช่น การหมักด้วยน้ำส้มสายชู, น้ำมะนาว, น้ำส้ม หรือไวน์ ซึ่งข้อดีของการหมักด้วยวัตถุดิบเหล่านี้ จะทำให้สามารถส่งเสริมรสชาติความนุ่มอร่อยของเนื้อได้เป็นอย่างดี

เนื้อที่นำมาหมักคือ เนื้อหมู, เนื้อไก่, เนื้อปลา โดยจะดียิ่งขึ้นถ้าได้ใส่สมุนไพรสด ๆ เครื่องเทศหลากหลายชนิด เช่น กระเทียม, หอมแดง ฯลฯ ผสมเข้าไปในเนื้อด้วย จะเชื่อกันว่าจะทำให้เนื้อมีความนุ่มขึ้น เพราะมันไม่เปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติของโปรตีนในเนื้อสัตว์

หากคิดจะเลือกที่จะหมักเนื้อด้วยวิธีนี้ก็ควรจะทำด้วยจุดประสงค์ในการที่เพิ่มรสชาติเป็นสำคัญ และในการหมักเนื้อกับวัตถุดิบต่าง ๆ ก็ควรที่จะกะเวลาให้เหมาะสมกับสิ่งที่หมัก เพราะถ้าหากใช้เวลาในการหมักนานเกินไป อาจทำให้เนื้อหมูออกมาแย่ รสชาติไม่อร่อยได้

การหมักด้วยเอนไซม์

[แก้]

การหมักด้วยวิธีการนี้จะอาศัยสารโปรตีเอส (Proteaes) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า [2]โปรตีนเอนไซม์ ซึ่งสารเหล่านี้จะมีมากมายในผลไม้ เช่น สับปะรด, มะละกอ, แตงฮันนีดิว, กีวี เป็นต้น ซึ่งเอนไซม์ชนิดนี้จะให้ผลโดยการที่ทำให้เส้นใยในกล้ามเนื้อและยังทำให้เส้นใยคอลลาเจนสลายตัวอย่างรวดเร็ว หรือใช้ Papain Liquid Meat Tenderizer ซึ่งมีเอนไซม์ปาปาอิน (Papain)[3] แต่ควรระวังเพราะอาจทำให้เนื้อยุ่ยจนเกินไป

การหมักด้วยผลิตภัณฑ์นม

[แก้]

การหมักด้วยผลิตภัณฑ์นมเป็นหนึ่งในกรรมวิธีหมักเนื้อที่มีมาอย่างยาวนาน ในอาหารอินเดีย จะใช้โยเกิร์ตหมักเนื้อแพะเหนียว ๆ ให้มีความนุ่ม ในสหรัฐอเมริกา มีเคล็ดลับการหมักไก่ให้อร่อย ทำได้โดยการหมักไก่ในบัตเตอร์มิลค์หลาย ๆ ชั่วโมง ซึ่งสาเหตุที่นมสามารถทำให้เนื้อนุ่มได้นั้น อาจเป็นเพราะแคลเซียมในนม ไปกระตุ้นเอนไซม์ในเนื้อเยื่อให้เริ่มทำหน้าทึคลี่คลายความยึดเหนื่ยวของโปรตีนได้

อ้างอิง

[แก้]
  1. "การหมักเนื้อหมู เคล็ดลับทำให้หมูนุ่มอร่อย -- MThai". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-14. สืบค้นเมื่อ 2015-03-28.
  2. http://pantip.com/topic/30110838
  3. "How to use papaya to tenderize meats?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2015-03-28.