ข้ามไปเนื้อหา

กังสดาล พิพิธภักดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กังสดาล พิพิธภักดี
เกิดราวปี พ.ศ. 2524 (อายุ 44 ปี)
อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
สัญชาติไทย
การศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล (วท.บ.)
คู่สมรสสุลต่านมูฮัมมัดที่ 5 แห่งรัฐกลันตัน (พ.ศ. 2547–2551)
บิดามารดาวัยโรจน์ พิพิธภักดี
เยาวลักษณ์ พิพิธภักดี

กังสดาล พิพิธภักดี หรือ เติงกูซูไบดะฮ์ บินตี เติงกูโนรูดิน บิน เติงกูมูดา (มลายู: Tengku Zubaidah binti Tengku Norudin bin Tengku Muda; ยาวี: تڠکو زبيدة بنت تڠکو نورالدين) ชื่อเล่น ก้อย เป็นอดีตพระชายาในสุลต่านมูฮัมมัดที่ 5 เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นมกุฎราชกุมารแห่งกลันตัน

ประวัติ

[แก้]

กังสดาล พิพิธภักดี มีชื่อเล่นว่า ก้อย เป็นบุตรคนที่สามจากทั้งหมดสี่คนของวัยโรจน์ พิพิธภักดี (หรือ ตนกูนูรดิน) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี พรรคประชาธิปัตย์ และเยาวลักษณ์ พิพิธภักดี (หรือ เจะยามิล่ะห์) บิดาสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองยะหริ่ง[1] ด้วยเป็นบุตรชายของพระพิพิธภักดี (ตนกูมุกดา อับดุลบุตร) กับสวาสดิ์ (สกุลเดิม ดาราชาติ) ภรรยาคนที่สาม ซึ่งเป็นชาวไทยเชื้อสายจีนจากกรุงเทพมหานคร[2] กังสดาลมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องของสมเด็จพระราชินีอานิซ พระชนนีของสุลต่านมูฮัมมัดที่ 5[3] ด้วยสมเด็จพระราชินีอานิซเป็นบุตรสาวของพี่ชายต่างมารดาวัยโรจน์[4]

กังสดาลสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปี พ.ศ. 2546[5][6] และเคยทำงานในบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร[7]

อภิเษกสมรส

[แก้]

กังสดาลรู้จักกับสุลต่านมูฮัมมัดที่ 5 เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นมกุฎราชกุมาร ในงานสมรสบุตรสาวของทวีศักดิ์ อับดุลบุตร ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของวัยโรจน์ผู้เป็นบิดา เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2545 ที่วังยะหริ่ง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี โดยซึ่งในครั้งนั้นอดีตสุลต่านแห่งรัฐกลันตัน พระอัครมเหสี พระราชบุตรและพระราชธิดา ได้เสด็จมาร่วมงานในฐานะญาติของเจ้าเมืองยะหริ่ง โดยทั้งสองได้รู้จักทักทาย และเป็นที่พอพระราชหฤทัยของมกุฎราชกุมาร และต่อมากังสดาลก็ได้เข้าเฝ้าฯ มกุฎราชกุมารอีกครั้งในงานสมรสของหลานพิเชษฐ สถิรชวาล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อพรรคไทยรักไทย ที่โรงแรมโอเรียนเต็ล กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2546 หลังจากที่มกุฎราชกุมารเสด็จกลับไปยังรัฐกลันตัน ครั้งนี้จึงได้ทูลให้พระราชบิดามาสู่ขอกังสดาล และนำไปสู่การอภิเษกสมรสของทั้งสอง[8]

กังสดาลอภิเษกสมรสกับสุลต่านมูฮัมมัดที่ 5 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ที่วังอิสตานาเนอเกอรีกูบังเกรียน เมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน ในพิธีอภิเษกสมรสครั้งนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปร่วมในพิธีด้วย[9][10][11] โดยในชุดของเจ้าสาวเป็นชุดไทยสากลสีขาวสั่งตัดจากกรุงเทพมหานคร ราคา 200,000 บาท[12]

กังสดาลมีฐานันดรศักดิ์เป็นเจ้า (Yang Teramat Mulia) และมีตำแหน่งเป็น เติงกูอัมปวนมะฮ์โกตา (Tengku Ampuan Mahkota) หรือพระชายาในมกุฎราชกุมาร หลังจากการอภิเษกสมรสได้เพียงสี่ปี ทั้งสองก็หย่าขาดจากกัน[13] โดยที่ไม่มีโอรส-ธิดาด้วยกัน[14]

ลำดับสาแหรก

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ลูก ส.ส.ออกเรือนมกุฎราชกุมารกลันตัน". ฐานข้อมูลข่าวจังหวัดชายแดนภาคใต้. เดลินิวส์. 22 ตุลาคม 2547. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-25. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  2. จุรีรัตน์ บัวแก้ว (2540). วัง 7 หัวเมือง (ปัตตานี) (PDF). ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. p. 92.
  3. Kelantan Royal Family
  4. "Kangsadal Pipitpakdee @ Tengku Zubaidah". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-28. สืบค้นเมื่อ 2010-08-22.
  5. Kelantan abuzz with talk of royal wedding Oct 24, 2004, 04:02 PM
  6. "Last single Malaysian crown prince gets hitched". Taipei Times. November 17, 2004. สืบค้นเมื่อ 2010-08-22.
  7. "Kelantan abuzz with talk of royal wedding". The Star. 22 October 2004. สืบค้นเมื่อ 13 May 2011.
  8. เรื่องราวดุจเทพนิยายของ "เจ้าหญิง" กังสดาล แห่งรัฐกลันตัน[ลิงก์เสีย]
  9. เจ้ากลันตัน-สาวไทยอภิเษกใหญ่แขกมาร่วมกว่า 5,000[ลิงก์เสีย]
  10. Royalty of Malaysia 1: September 2004-October 2006
  11. Thai Queen attends wedding ceremony of Malaysia's crown prince.Asia Africa Intelligence Wire| November 17, 2004
  12. "ลูก ส.ส.ออกเรือนมกุฎราชกุมารกลันตัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-06-04.
  13. Kelantan Royal Family (1979 - 2010)
  14. "Marriage on the cards for Sultan Kelantan". New Straits Times. 2011-05-05. สืบค้นเมื่อ 2011-05-13.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]