ทวีศักดิ์ อับดุลบุตร
ทวีศักดิ์ อับดุลบุตร | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 31 ตุลาคม พ.ศ. 2489 อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี |
เสียชีวิต | 13 มกราคม พ.ศ. 2559 (69 ปี) |
คู่สมรส | วัฒนาวิไล อับดุลบุตร |
ทวีศักดิ์ อับดุลบุตร (31 ตุลาคม พ.ศ. 2489 - 13 มกราคม พ.ศ. 2559) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี 4 สมัย
ประวัติ
[แก้]ทวีศักดิ์ อับดุลบุตร เกิดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2489[1] เป็นบุตรของบรรเทิง อับดุลบุตร กับสงวน อับดุลบุตร[2] และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับ นายวัยโรจน์ พิพิธภักดี สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 สมรสกับวัฒนาวิไล อับดุลบุตร
ทวีศักดิ์เคยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการ บริษัท แด๊กซิน (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทขายตรงผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเห็ดหลินจือ [3]
การทำงาน
[แก้]อดีตเป็นเกษตรกร ทวีศักดิ์ลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคชาติไทย และได้รับเลือกเรื่อยมา รวม 4 ครั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ทวีศักดิ์ อับดุลบุตร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 4 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคชาติประชาชน (พ.ศ. 2522) → พรรคสยามประชาธิปไตย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคสยามประชาธิปไตย → พรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคกิจสังคม
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]ทวีศักดิ์ เสียชีวิต เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559 สิริอายุรวม 69 ปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2526 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
- ↑ "ทวีศักดิ์ อับดุลบุตร สร้าง "แด๊กซิน" ด้วยคุณธรรม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-08-15.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐, ๑๖ มกราคม ๒๕๒๗
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2489
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2559
- บุคคลจากอำเภอยะหริ่ง
- ชาวไทยเชื้อสายมลายู
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- สกุลอับดุลบุตร
- มุสลิมชาวไทย
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี
- พรรคชาติไทย
- พรรคชาติประชาชน (พ.ศ. 2522)
- พรรคสหประชาธิปไตย
- พรรคกิจสังคม
- พรรคสามัคคีธรรม
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- พรรคความหวังใหม่
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.