กระบี่ใจพิสุทธิ์
ผู้ประพันธ์ | กิมย้ง |
---|---|
ชื่อเรื่องต้นฉบับ | 連城訣 (Lián Chéng Jué) |
ผู้แปล | จำลอง พิศนาคะ, น.นพรัตน์ ฉบับอื่นๆ ไม่ทราบแน่ชัด |
ผู้วาดภาพประกอบ | ภาพปกฉบับแปลของ จำลอง พิศนาคะ |
ศิลปินปก | DINHIN |
ประเทศ | จีน |
ภาษา | จีน |
ประเภท | นิยายกำลังภายใน |
สำนักพิมพ์ | สร้างสรรค์, SIC |
ชนิดสื่อ | นิยาย |
หน้า | 641 (ฉบับจำลอง) |
ISBN | 974-341-086-4 |
กระบี่ใจพิสุทธิ์[1] (จีนตัวย่อ: 连城诀; จีนตัวเต็ม: 連城訣; พินอิน: Lián Chéng Jué; A Deadly Secret, เหลียน เฉิง เจ่ว์) มีชื่อเดิมเป็นภาษาแต้จิ๋วว่า ซู้ซิมเกี้ยม ซึ่งแปลว่า กระบี่ใจพิสุทธิ์ (ชื่อเรื่องภาษาไทย ได้ชื่อมาจากการแปลฉบับเดิม) พิมพ์ครั้งแรกลงในวารสาร Southeast Asia Weekly ในปี พ.ศ. 2506 ก่อนที่จะเปลี่นชื่อเป็น เหลียนเฉิงเจ่ว์ เช่นปัจจุบัน นิยายเรื่องนี้เป็นผลงานประพันธ์ของกิมย้ง ผู้มีฉายา จอมอักษราแห่งบูรพาทิศ ที่เขียนได้สะเทือนอารมณ์เป็นอย่างยิ่ง เป็นเรื่องราวของตัวเอกที่ถูกใส่ร้าย จนต้องถูกจองจำในคุกและถูกแย่งชิงหญิงที่ตนรักไป ถูกทัณฑ์ทรมาน จนกลายเป็นคนพิการ แต่ยังมีวาสนาในคราเคราะห์ ได้พบพานยอดคนภายในคุก สุดท้ายหนีออกมาได้ แต่กลับถูกชาวยุทธตามล่า ด้วยเพราะคิดว่าเป็นพวกเดียวกับพรรคมาร เรื่องนี้แฝงไปด้วยปรัชญาชีวิตอันทรงคุณค่า ฉบับแปลของ น.นพรัตน์ เดิมใช้ชื่อว่า หลั่งเลือดมังกร แล้วเปลี่ยนเป็น กระบี่ใจพิสุทธิ์ ส่วนฉบับแปลของ จำลอง พิศนาคะ ใช้ชื่อว่า มังกรแก้ว
ผลกระทบ
[แก้]นิยายเรื่องนี้เป็นนิยายที่ได้รับอิทธิพลมาจาก The Count of Monte Cristo ของ Alexandre Dumas แม้เหตุการณ์จะเหมือนกัน แต่ตัวเอกของเรื่องอย่างเต็กฮุ้นนั้นเป็นหนุ่มใสซื่อ และจริงใจ แม้ผ่านเหตุการณ์มามากมายที่ร้ายๆ ความใสชื่อจะหมดไปบ้าง แต่ก็ยังคงจริงใจไปจนตลอดจบเรื่อง ต่างกับ Edmond Dantès (เอ็ดมอง ดังเต) ทีเป็นหนุ่มใสซื่อตอนต้นเรื่อง กลายเป็นเคาน์ มองเต คริสโต ที่เจ้าคิดเจ้าแค้น กระทำการทุกอย่างเพื่อการแก้แค้นเท่านั้น
นอกจากเรื่องนี้จะได้รับอิทธิพลจากเรื่องอื่นแล้ว นิยายเรื่องนี้ก็มีผลกระทบต่องานเขียนยุคหลังของกิมย้งอย่างมากเช่นกัน โดยเฉพาะกระบี่เย้ยยุทธจักร และอุ้ยเสี่ยวป้อ แต่ที่เห็นชัดที่สุดก็คือ กระบี่เย้ยยุทธจักร ที่ตัวเอกอย่างเหล่งฮู้ชงก็มีศิษย์น้องหญิง เจอเหตุการณ์ใส่ร้ายป้ายสี และถูกจองจำเหมือนกันเกือบทุกประการ แตกต่างกันที่นิสัยของเหล่งฮู้ชงนั้นเข้าใจโลกมากกว่าเต็กฮุ้น อีกทั้งกระบี่เย้ยยุทธจักรนั้นโครงเรื่องที่กว้างมากกว่ากระบี่ใจพิสุทธ์อีกด้วย แต่ถึงกระนั้นกระบี่ใจพิสุทธิ์ก็ถือเป็นต้นแบบของความสำเร็จอย่างมากของกระบี่เย้ยยุทธจักร
ตัวละคร
[แก้]- เต็กฮุ้น
- จุ้ยเซ็ง
- เต็งเตียน
- เช็กเชี่ยงฮวด
- เช็กฮวง
- บ้วนจิ้นซัว
- บ้วนกุย
- ฮวยทิกั้ง
- อวงเซียวฮวง
- หลวงจีนฮ่วยตอเล่าโจ๊ว
ค่ายสำนัก
[แก้]การดัดแปลงในสื่ออื่น
[แก้]ภาพยนตร์
[แก้]ปี | ผู้สร้าง | นักแสดงหลัก | ดูที่ |
---|---|---|---|
1980 | Shaw Brothers Studio (Hong Kong) | Ng Yuen-chun, Liu Lai-ling, Jason Pai, Shih Szu, Elliot Ngok | See A Deadly Secret (film) |
ละครโทรทัศน์
[แก้]ปี | ผู้สร้าง | นักแสดงหลัก | ดูที่ |
---|---|---|---|
1989 | TVB (Hong Kong) | Roger Kwok, Kitty Lai, Shallin Tse | See Deadly Secret |
2004 | Mainland China | Wu Yue, He Meitian, Shu Chang | See Lian Cheng Jue (TV series) |
คำคมจากเรื่อง
[แก้]- "นี่เรียกว่าจิตใจที่คิดร้ายคนอื่นนั้นมิควรมี แต่จิตใจป้องกันคนอื่นนั้นมิควรขาด การเตรียมป้องกันเอาไว้ มิได้ใช้ เป็นเรื่องที่ดีหามิได้อีกแล้ว"
อ้างอิง
[แก้]- ↑ มังกรแก้ว/กิมย้ง เขียน/จำลอง พิศนาคะ แปล/สำนักพิมพ์สร้างสรรค์/พ.ศ. 2544