ภาษาศาสตร์สังคม
ภาษาศาสตร์สังคม |
---|
แนวคิดหลัก |
สาขาวิชา |
สาขาที่เกี่ยวข้อง |
ภาษาศาสตร์สังคม (อังกฤษ: sociolinguistics) คือการศึกษาเชิงพรรณนาเกี่ยวกับผลกระทบของแง่มุมใด ๆ ทั้งหมดของสังคม (รวมถึงบรรทัดฐาน ความคาดหวัง และบริบททางวัฒนธรรม) ต่อวิธีการใช้ภาษา และผลกระทบของสังคมต่อภาษา ภาษาศาสตร์สังคมแตกต่างจากสังคมวิทยาภาษาซึ่งมุ่งเน้นไปที่ผลกระทบของภาษาต่อสังคม ภาษาศาสตร์สังคมมีเนื้อหาซ้อนเหลื่อมกับวัจนปฏิบัติศาสตร์มาก และยังมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับมานุษยวิทยาภาษาศาสตร์ บางคนตั้งคำถามถึงความแตกต่างระหว่างสาขาทั้งสองโดยเน้นย้ำความสัมพันธ์ต่อกันและกันในอดีต[1]
ภาษาศาสตร์สังคมยังศึกษาว่าวิธภาษาระหว่างกลุ่มบุคคลที่แยกจากกันโดยตัวแปรทางสังคมบางอย่าง (เช่น ชาติพันธุ์ ศาสนา สถานภาพ สถานะเพศ ระดับการศึกษา อายุ ฯลฯ) มีความแตกต่างกันอย่างไร และการสร้างและความยึดมั่นในเกณฑ์เหล่านี้ถูกใช้ในการจัดจำแนกบุคคลในชั้นสังคมหรือชั้นเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างไร เนื่องจากการใช้ภาษานั้นแตกต่างกันไปในแต่ละสถานที่ การใช้ภาษาจึงแตกต่างกันไปตามชั้นสังคมด้วย และสังคมภาษณ์ (sociolect) เหล่านี้คือสิ่งที่ภาษาศาสตร์สังคมสนใจศึกษา
แง่มุมทางสังคมของภาษาได้รับการค้นคว้าตามแบบสมัยใหม่โดยนักภาษาศาสตร์ชาวอินเดียและชาวญี่ปุ่นในคริสต์ทศวรรษ 1930 และโดยหลุยส์ โกชา นักภาษาศาสตร์ชาวสวิส ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1900 แต่ยังไม่ได้รับความสนใจมากนักในซีกโลกตะวันตกจนกระทั่งในเวลาต่อมา ในทางกลับกัน การศึกษาเหตุจูงใจทางสังคมของการเปลี่ยนแปลงภาษามีรากฐานมาจากแบบจำลองคลื่นของปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 การใช้ศัพท์ ภาษาศาสตร์สังคม เป็นครั้งแรก (ที่ได้รับการยืนยัน) ปรากฏในชื่อบทความ "Sociolinguistics in India" ของทอมัส คัลลัน ฮอดสัน ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Man in India ใน ค.ศ. 1939[2][3] ภาษาศาสตร์สังคมปรากฏครั้งแรกในซีกโลกตะวันตกในคริสต์ทศวรรษ 1960 และได้รับการบุกเบิกโดยนักภาษาศาสตร์เช่นวิลเลียม ลาโบฟ ในสหรัฐ และบาซิล เบิร์นสไตน์ ในสหราชอาณาจักร ในคริสต์ทศวรรษ 1960 วิลเลียม อเล็กซานเดอร์ สจวร์ต[4] และไฮนทซ์ โคลส ได้นำเสนอแนวคิดพื้นฐานสำหรับทฤษฎีภาษาศาสตร์สังคมของภาษาพหุศูนย์ ซึ่งอธิบายว่าวิธภาษามาตรฐานมีความแตกต่างกันอย่างไรในแต่ละชาติ (เช่น ภาษาอังกฤษแบบบริติช/อเมริกัน/แคนาดา/ออสเตรเลีย;[5] ภาษาเยอรมันแบบเยอรมัน/ออสเตรีย/สวิส;[6] ภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบียแบบบอสเนีย/โครเอเชีย/มอนเตเนโกร/เซอร์เบีย[7] เป็นต้น)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Gumperz, John J.; Cook-Gumperz, Jenny (2008). "Studying language, culture, and society: Sociolinguistics or linguistic anthropology?". Journal of Sociolinguistics. 12 (4): 532–545. doi:10.1111/j.1467-9841.2008.00378.x.
- ↑ Paulston, Christine Bratt and G. Richard Tucker, eds. Sociolinguistics: The Essential Readings. Malden, Ma.: Wiley-Blackwell, 2003.
- ↑ T. C. Hodson and the Origins of British Socio-linguistics by John E. Joseph เก็บถาวร 2009-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Sociolinguistics Symposium 15, Newcastle-upon-Tyne, April 2004
- ↑ Stewart, William A (1968). "A Sociolinguistic Typology for Describing National Multilingualism". ใน Fishman, Joshua A (บ.ก.). Readings in the Sociology of Language. The Hague, Paris: Mouton. p. 534. doi:10.1515/9783110805376.531. ISBN 978-3-11-080537-6. OCLC 306499.
- ↑ Kloss, Heinz (1976). "Abstandsprachen und Ausbausprachen" [Abstand-languages and Ausbau-languages]. ใน Göschel, Joachim; Nail, Norbert; van der Elst, Gaston (บ.ก.). Zur Theorie des Dialekts: Aufsätze aus 100 Jahren Forschung. Zeitschrift für Dialektologie and Linguistik, Beihefte, n.F., Heft 16. Wiesbaden: F. Steiner. p. 310. OCLC 2598722.
- ↑ Ammon, Ulrich (1995). Die deutsche Sprache in Deutschland, Österreich und der Schweiz: das Problem der nationalen Varietäten [German Language in Germany, Austria and Switzerland: The Problem of National Varieties] (ภาษาเยอรมัน). Berlin & New York: Walter de Gruyter. pp. 1–11. OCLC 33981055.
- ↑ Kordić, Snježana (2010). Jezik i nacionalizam [Language and Nationalism] (PDF). Rotulus Universitas (ภาษาเซอร์โบ-โครเอเชีย). Zagreb: Durieux. pp. 77–90. doi:10.2139/ssrn.3467646. ISBN 978-953-188-311-5. LCCN 2011520778. OCLC 729837512. OL 15270636W. แม่แบบ:CROSBI. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 1 June 2012. สืบค้นเมื่อ 17 May 2019.