สัมพันธสารวิเคราะห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สัมพันธสารวิเคราะห์ ปริจเฉทวิเคราะห์ หรือ วาทกรรมวิเคราะห์ (อังกฤษ: discourse analysis) และยังเรียกอีกอย่างว่า สัมพันธสารศึกษา (discourse studies) คือแนวทางการวิเคราะห์การใช้ภาษาเขียน ภาษาพูด หรือภาษามือ หรือเหตุการณ์สำคัญใด ๆ ทางสัญญาณศาสตร์

วัตถุประสงค์ของสัมพันธสารวิเคราะห์ (สัมพันธสาร การเขียน การสนทนา เหตุการณ์สื่อสาร) ได้รับการนิยามไว้อย่างหลากหลายในแง่ที่เกี่ยวกับประโยค ประพจน์ วัจนกรรม หรือหน่วยผลัดในการพูดที่เรียงร้อยกันเป็นลำดับ ตรงข้ามกับนักภาษาศาสตร์ดั้งเดิมส่วนใหญ่ นักสัมพันธสารวิเคราะห์ไม่เพียงแต่ศึกษาการใช้ภาษาที่ "อยู่เหนือระดับประโยค" แต่ยังสนใจวิเคราะห์การใช้ภาษาที่ "เกิดขึ้นตามธรรมชาติ" ไม่ใช่ตัวอย่างที่คิดขึ้นเอง[1] ภาษาศาสตร์ข้อความต่อเนื่องเป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับสาขานี้อย่างใกล้ชิด ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างสัมพันธสารวิเคราะห์และภาษาศาสตร์ข้อความต่อเนื่องคือ สัมพันธสารวิเคราะห์มุ่งเปิดเผยลักษณะทางสังคมและจิตของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลมากกว่าจะมุ่งวิเคราะห์โครงสร้างตัวบท[2]

สัมพันธสารวิเคราะห์ได้รับการนำมาอภิปรายในสาขาวิชาต่าง ๆ ในมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ ภาษาศาสตร์ การศึกษา สังคมวิทยา มานุษยวิทยา สังคมสงเคราะห์ จิตวิทยาปริชาน จิตวิทยาสังคม ภูมิภาคศึกษา วัฒนธรรมศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ภูมิศาสตร์มนุษย์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิทยาการสื่อสาร การศึกษาไบเบิล การประชาสัมพันธ์ และการศึกษาการแปล แต่ละสาขาวิชาขึ้นอยู่กับสมมุติฐาน มิติการวิเคราะห์ และระเบียบวิธีของตนเอง

อ้างอิง[แก้]

  1. "Discourse Analysis—What Speakers Do in Conversation". Linguistic Society of America. สืบค้นเมื่อ 2019-11-25.
  2. "Yatsko's Computational Linguistics Laboratory". yatsko.zohosites.com. สืบค้นเมื่อ 2019-11-25.