พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
พิกัด: 14h 29m 42.9487s, −62° 40′ 46.141″
ดาวเคราะห์นอกระบบ | รายชื่อ | |
---|---|---|
ดาวฤกษ์แม่ | ||
ดาวฤกษ์ | พร็อกซิมาคนครึ่งม้า | |
กลุ่มดาว | คนครึ่งม้า | |
ไรต์แอสเซนชัน | (α) | 14h 29m 42.94853s |
เดคลิเนชัน | (δ) | −62° 40′ 46.1631″ |
ความส่องสว่างปรากฏ | (mV) | 11.13 |
ระยะห่าง | 4.224 ly (1.295[1] pc) | |
ชนิดสเปกตรัม | M6Ve[2] | |
มวล | (m) | 0.123 (± 0.006)[3] M☉ |
รัศมี | (r) | 0.141 (± 0.007)[4] R☉ |
อุณหภูมิ | (T) | 3042 (± 117)[3] K |
ความเป็นโลหะ | [Fe/H] | 0.21[5] |
อายุ | 4.85[5] พันล้านปี | |
ลักษณะทางกายภาพ | ||
มวลอย่างต่ำ | (m sin i) | 1.27+0.19 −0.17[1] M⊕ |
รัศมี | (r) | ≥1.1 (± 0.3)[6] R⊕ |
ฟลักซ์การแผ่รังสีของดาว | (F⊙) | 0.65[1] ⊕ |
อุณหภูมิ | (T) | 234 K |
องค์ประกอบวงโคจร | ||
กึ่งแกนเอก | (a) | 0.0485+0.0041 −0.0051[1] AU |
ความเยื้องศูนย์กลาง | (e) | <0.35[1] |
คาบการโคจร | (P) | 11.186+0.001 −0.002[1] d |
มุมของจุดใกล้ที่สุด | (ω) | 310 (± 50)[1]° |
ครึ่งแอมพลิจูด | (K) | 1.38 (± 0.21)[1] m/s |
ข้อมูลการค้นพบ | ||
ค้นพบเมื่อ | 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559 | |
ค้นพบโดย | ||
วิธีตรวจจับ | ดอปเพลอร์สเปกโทรสโกปี | |
สถานที่ที่ค้นพบ | หอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป | |
สถานะการค้นพบ | ยืนยันการค้นพบ | |
ชื่ออื่น | ||
Alpha Centauri Cb, Proxima b, GL 551 b, HIP 70890 b
| ||
อ้างอิงกับฐานข้อมูลอื่น | ||
สารานุกรม ดาวเคราะห์นอกระบบ | ข้อมูล | |
ซิมแบด | ข้อมูล |
พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี (อังกฤษ: Proxima Centauri b) หรือเรียก พร็อกซิมา บี (อังกฤษ: Proxima b[7][8]) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบในเขตอาศัยได้ โคจรรอบดาวฤกษ์พร็อกซิมาคนครึ่งม้า ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ประเภทดาวแคระแดงในกลุ่มดาวคนครึ่งม้า และถือเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด[9][10] โดยห่างจากโลกราว 4.2 ปีแสง (1.3 พาร์เซก หรือ 40 ล้านล้านกิโลเมตร) ทำให้ดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้เป็นดาวเคราะห์ที่มีศักยภาพต่อการอยู่อาศัยได้ที่อยู่ใกล้ระบบสุริยะมากที่สุดเท่าที่รู้จัก
ดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี ค้นพบโดยคณะนักดาราศาสตร์จากหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป ประกาศการค้นพบในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559[1][11][12][9][13] หลังการค้นพบไม่นานนักวิจัยของสถาบันที่วิเคราะห์ศักยภาพในการอยู่อาศัยได้เสนอว่าดาวเคราะห์ดวงนี้อาจเป็นสถานที่ที่มีสภาพเอื้อต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่ใกล้เรามากที่สุด ซึ่งเปิดโอกาสให้เกิดการสำรวจดาวเคราะห์โดยใช้หุ่นยนต์ตามโครงการสตาร์ช็อต (Starshot)[9][10] หรืออย่างน้อยที่สุดภายในศตวรรษหน้า[10]
ดาวเคราะห์ดวงนี้ถูกค้นพบโดยใช้วิธีวัดความเร็วแนวเล็ง เมื่อพบว่าเกิดการเคลื่อนดอปเพลอร์ของเส้นสเปกตรัมของดาวฤกษ์พร็อกซิมาคนครึ่งม้าเป็นช่วง ๆ ทำให้ทราบว่ามีวัตถุอื่นที่กำลังโคจรรอบดาวฤกษ์ดวงนี้ ความเร็วแนวเล็งที่วัดได้เมื่อเทียบระหว่างดาวฤกษ์ดังกล่าวกับโลกแปรค่าประมาณ 2 เมตรต่อวินาที[1]
การค้นพบดาวเคราะห์
[แก้]ข้อมูลบ่งชี้การมีอยู่ของดาวเคราะห์ถูกพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2556 โดยนักดาราศาสตร์มิกโก ทัวมิ (Mikko Tuomi) จากมหาวิทยาลัยฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ โดยพบจากการวิเคราะห์ข้อมูลการสำรวจที่ถูกเก็บไว้[14][15] 3 ปีต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 องค์การหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรปได้เริ่มโครงการเพลเรดด็อท (Pale Red Dot, จุดแดงอันซีดจาง)[หมายเหตุ 1] โดยใช้อุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ตรวจวัดเพื่อยืนยันการค้นพบใหม่ที่อาจเกิดขึ้น[16] ซึ่งต่อมากลุ่มนักดาราศาสตร์ในโครงการได้ออกมาประกาศการค้นพบอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ปีเดียวกัน กลุ่มนักดาราศาสตร์นำโดยกีเยม อันกลาดา-เอสกูเด จากมหาวิทยาลัยควีนแมรีแห่งลอนดอน ประกาศการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี[17] โดยบทความถูกตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาเดียวกันแล้วจึงตีพิมพ์ลงในวารสารเนเจอร์[1][18] นักดาราศาสตร์กลุ่มนี้ได้ตรวจวัดโดยใช้เครื่องมือสเปกโตรกราฟสองเครื่อง ได้แก่ "อุปกรณ์ค้นหาดาวเคราะห์ด้วยวิธีความเร็วแนวเล็งความแม่นยำสูง" (HARPS) ติดตั้งบนกล้องโทรทรรศน์ ESO 3.6 ม. ณ หอดูดาวลาซียา ประเทศชิลี และ "สเปกโตรกราฟเอเช็ลแสงที่มองเห็นได้และอัลตราไวโอเล็ต" (UVES) ติดตั้งบนกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่มาก (VLT) ขนาด 8 เมตร ณ ประเทศชิลี[1] การวัดความเร็วแนวเล็งสูงสุดของดาวฤกษ์กับคาบการหมุนของดาวเคราะห์รอบดาวฤกษ์ทำให้สามารถคำนวณมวลอย่างต่ำของดาวเคราะห์ได้ นอกจากนี้ โอกาสที่การค้นพบนี้จะเป็นการตรวจจับเชิงบวกเทียม (false positive detection) ยังต่ำกว่า 1 ใน 10 ล้าน[14]
ลักษณะทั่วไป
[แก้]มวล ขนาด และอุณหภูมิ
[แก้]ปัจจุบันยังไม่มีการวัดความเอียงปรากฏของวงโคจรของดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี ทำให้ยังไม่สามารถระบุมวลที่แน่นอนของดาวเคราะห์ดวงนี้ได้ ค่ามวลอย่างต่ำที่คำนวณได้โดยทางอ้อมจากการวัดค่าการเคลื่อนดอปเพลอร์มีค่า 1.27 เท่าของมวลโลก (M⊕) ซึ่งถ้ามองจากโลกเห็นวงโคจรของดาวดวงนี้เป็นระนาบด้านข้างแล้ว ความเคลื่อนดอปเพลอร์จะมีค่าสูงสุด ทำให้มวลอย่างต่ำคือมวลที่แท้จริงของดาวเคราะห์[1] ดังนั้นหากทราบค่าความเอียงของวงโคจรก็จะสามารถคำนวณมวลที่แน่นอนได้ ความเอียงที่มีค่ามากขึ้นจะให้ค่ามวลมากขึ้น จากการคำนวณมีโอกาส 90% ที่ดาวเคราะห์ดวงนี้มีมวลสูงสุด 3 M⊕ (2.3 เท่าของมวลต่ำสุด)[19][หมายเหตุ 2]
หากดาวเคราะห์ดวงนี้มีองค์ประกอบเป็นหินและมีความหนาแน่นเท่ากับของโลก จะได้ค่ารัศมีของดาวอย่างต่ำคือ 1.1 เท่าของรัศมีโลก (R⊕) แต่ถ้าหากดาวเคราะห์มีความหนาแน่นน้อยกว่าโลกหรือมีมวลมากกว่ามวลอย่างต่ำที่วัดได้ครั้งแรกนั้น ขนาดของดาวที่คำนวณได้ก็จะใหญ่ขึ้น[6] ดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี มีอุณหภูมิสมดุลดาวเคราะห์ 234 K (−39 °C) [1] ทำให้ทราบว่าดาวเคราะห์ดวงนี้ตั้งอยู่ในเขตอาศัยได้ของดาวฤกษ์แม่
ดาวฤกษ์แม่
[แก้]ดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี ถูกตั้งชื่อตามดาวฤกษ์แม่พร็อกซิมาคนครึ่งม้า ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ประเภทดาวแคระแดงชนิดสเปกตรัม M มีมวล 0.12 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ มีรัศมี 0.14 เท่าของรัศมีดวงอาทิตย์[1] อุณหภูมิผิวเท่ากับ 3,042 K[20] และอายุ 4,850 ล้านปี[17] เปรียบเทียบกับดวงอาทิตย์ที่มีอุณหภูมิผิว 5,778 K[21] และมีอายุ 4,600 ล้านปี[22] ดาวฤกษ์พร็อกซิมาคนครึ่งม้าหมุนรอบตัวเองหนึ่งรอบใช้เวลาราว 83 วัน[14] มีความสว่างเพียง 0.0015 เท่าของความสว่างดวงอาทิตย์[1] ดาวฤกษ์ดวงนี้มีความพิเศษตรงที่อุดมไปด้วยโลหะ ซึ่งพบได้ไม่บ่อยในกลุ่มดาวฤกษ์มวลน้อย ความเป็นโลหะ ([Fe/H]) ของดาวฤกษ์มีค่า 0.21 สูงกว่าปริมาณที่วัดได้ในชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ 1.62 เท่า[5][หมายเหตุ 3]
ดาวฤกษ์มีค่าความส่องสว่างปรากฏ 11.13 เป็นความส่องสว่างที่ปรากฏเห็นจากโลกโดยตรง[23] ซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด แต่เราก็ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลกเนื่องจากดาวฤกษ์มีความสว่างต่ำ
ดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้าถือเป็นดาวแปรแสงดวงหนึ่ง ซึ่งบางครั้งความสว่างและการปลดปล่อยอนุภาคพลังงานสูงของดาวจะเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงเชิงแม่เหล็กของดาว[24] ปรากฏการณ์นี้สามารถสร้างพายุสุริยะขนาดใหญ่และอาจสาดรังสีใส่พื้นผิวของดาวเคราะห์ที่โคจรโดยรอบได้หากดาวเคราะห์ดังกล่าวไม่มีสนามแม่เหล็กที่แรงพอหรือไม่มีชั้นบรรยากาศหนาพอที่จะป้องกัน
วงโคจร
[แก้]ดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี โคจรรอบดาวฤกษ์แม่ใช้เวลา 11.185 วัน โดยมีระยะห่างจากดาวฤกษ์มากที่สุด (กึ่งแกนเอก) เพียง 0.05 หน่วยดาราศาสตร์ (7 ล้านกิโลเมตร) ซึ่งเป็นระยะเพียง 1 ใน 20 ของระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ เทียบกับดาวพุธซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดยังมีระยะกึ่งแกนเอก 0.39 หน่วยดาราศาสตร์ พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี ได้รับฟลักซ์รังสีจากดาวฤกษ์แม่ประมาณ 65 % ของฟลักซ์รังสีที่โลกได้รับจากดวงอาทิตย์ แต่เนื่องจากดาวเคราะห์มีวงโคจรอยู่ใกล้ดาวฤกษ์แม่มาก ทำให้ได้รับปริมาณฟลักซ์ของรังสีเอกซ์สูงกว่าที่โลกได้รับถึง 400 เท่า[1]
การอาศัยได้
[แก้]หัวข้อเรื่องการอาศัยได้บนดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี นั้นยังไม่ได้มีการเสนออย่างเป็นทางการ[25][26][27] อย่างไรก็ตาม เราสามารถอนุมานแบบจำลองภูมิอากาศและพิจารณาเชิงทฤษฎีได้จากข้อมูลการกักเก็บสารระเหยได้บนดาวและรูปแบบการหมุนรอบตัวเองของดาวเคราะห์[27][28]
ดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้โคจรในเขตอาศัยได้ของดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า เป็นเขตที่น้ำสามารถดำรงสถานะของเหลวได้บนผิวดาวหากชั้นบรรยากาศและดาวเคราะห์เองมีสภาพที่เหมาะสม ดาวฤกษ์แม่เป็นดาวแคระแดง มีมวล 1 ใน 8 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ ทำให้ขอบเขตอาศัยได้อยู่ระหว่าง 0.0423–0.0816 หน่วยดาราศาสตร์[1]
ถึงแม้ว่าดาวเคราะห์ดวงนี้จะตั้งอยู่ในเขตอาศัยได้ แต่ยังมีการตั้งคำถามถึงการอยู่อาศัยได้ เนื่องจากยังมีเงื่อนไขทางกายภาพอื่น ๆ ที่มีศักยภาพเสี่ยงอันตราย เช่น ดาวเคราะห์ตั้งอยู่ใกล้ดาวฤกษ์พอที่จะเกิดปรากฏการณ์ไทดัลล็อก[18][29] ซึ่งเกิดขึ้นหากดาวเคราะห์มีความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรเป็น 0 ทำให้ด้านหนึ่งของดาวเคราะห์ประจันหันหน้าเข้าดาวฤกษ์และได้รับความร้อนและรังสีอยู่ตลอดเวลา ส่วนอีกด้านตกอยู่ในความมืดและความเย็นตลอดไป[30][31] กรณีดังกล่าวนักวิทยาศาสตร์ได้คิดว่าหากมีพื้นที่อยู่อาศัยได้บนดาวแล้ว พื้นที่นี้น่าจะตั้งอยู่บริเวณขอบของทั้งสองเขตนี้ นั่นคือพื้นที่ระหว่างกลางวันและกลางคืน โดยอุณหภูมิอาจเหมาะสมทำให้น้ำคงอยู่ในสภาพของเหลวได้หากมีน้ำบนดาวเคราะห์[29]
ค่าความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรของดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี ยังไม่ทราบแน่ชัด โดยเบื้องต้นทราบว่าต่ำกว่า 0.35[32] ซึ่งมีศักยภาพสูงพอที่จะเกิดการโคจรที่มีอัตราการสั่นพ้องของวงโคจรเป็น 3:2 คล้ายกับการหมุนรอบตัวเองของดาวพุธเมื่อเทียบกับดวงอาทิตย์[33] องค์การหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรปสันนิษฐานว่าหากดาวเคราะห์ดวงนี้มีน้ำและบรรยากาศแล้ว จะเกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกว่าเมื่อไม่มีน้ำและบรรยากาศอย่างมาก ซึ่งอาจมีอุณหภูมิเฉลี่ยใกล้เคียงกับโลก[28][32] พื้นที่อาศัยได้อาจเพิ่มขึ้นอีกมากถ้าหากดาวเคราะห์ดวงนี้มีชั้นบรรยากาศหนาพอที่จะสามารถถ่ายเทความร้อนไปยังด้านที่หันหน้าออกจากดาวฤกษ์[29] แบบจำลองให้ผลไว้ว่า หากปัจจุบันดาวเคราะห์ยังมีชั้นบรรยากาศอยู่ ดาวเคราะห์ดวงนี้อาจเคยสูญเสียปริมาณน้ำไปแล้วราว 1 มหาสมุทรในช่วง 100-200 ล้านปีหลังดาวเคราะห์ก่อกำเนิดเนื่องจากถูกรังสีของดาวฤกษ์กวาดออกไปในช่วงนั้น น้ำในสถานะของเหลวอาจปรากฏเฉพาะในพื้นที่ที่มีแดดแรงที่สุดของซีกดาวที่หันหน้าเข้าดาวฤกษ์ (กรณีไทดัลล็อก) หรือบริเวณเขตร้อนของดาว (กรณีการหมุนแบบสั่นพ้องอัตราส่วน 3:2)[27][28] ทำให้สรุปได้ว่า ความสามารถในการกักเก็บน้ำของดาวเคราะห์เป็นปัญหาใหญ่ที่สุดต่อสภาพการอาศัยได้ของดาวเคราะห์[34] เราอาจใช้กล้องโทรทรรศน์หรือเครื่องมือสำรวจดาวเคราะห์ดวงนี้ได้ ซึ่งจะให้ข้อมูลด้านองค์ประกอบและชั้นบรรยากาศของดาวมากขึ้น นำมาวิเคราะห์ได้มากขึ้น[25]
ภาพเคลื่อนไหวด้านล่างคือแบบจำลองเชิงตัวเลขแสดงอุณหภูมิพื้นผิวที่เป็นไปได้บนดาวเคราะห์พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี โดยใช้แบบจำลองภูมิอากาศทั่วดาวเคราะห์ (Planetary Global Climate Model) ของห้องปฏิบัติการอุตุนิยมวิทยาเชิงพลวัต (Laboratoire de Météorologie Dynamique) ในที่นี้กำหนดให้ดาวเคราะห์มีบรรยากาศคล้ายโลกและมีมหาสมุทรปกคลุมดาวทั้งดวง เส้นประที่เห็นคือขอบเขตระหว่างผิวมหาสมุทรน้ำ (เหลว) และน้ำแข็ง และดาวเคราะห์มีการหมุนรอบตัวเองครบหนึ่งรอบ
|
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ โครงการ Pale Red Dot มีนัยสื่อถึงภาพเพลบลูด็อท (Pale Blue Dot) ซึ่งเป็นภาพของโลกจากระยะไกลถ่ายโดยยานวอยเอเจอร์ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2533
- ↑ มวลแท้จริงของดาวเคราะห์มีค่าเท่ากับ เมื่อกำหนดให้ คือมวลของโลก และ คือมุมระหว่างเวกเตอร์ตั้งฉากของระนาบวงโคจรกับทิศทางการสังเกตระหว่างโลกกับดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า
- ↑ คำนวณจากสูตร เมื่อแทนค่า จะได้อัตราส่วนดาวฤกษ์ต่อดวงอาทิตย์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 Anglada-Escudé, G.; Amado, P. J.; Barnes, J.; Berdiñas, Z. M.; Butler, R. P.; Coleman, G. A. L.; de la Cueva, I.; Dreizler, S.; Endl, M.; Giesers, B.; Jeffers, S. V.; Jenkins, J. S.; Jones, H. R. A.; Kiraga, M.; Kürster, M.; López-González, M. J.; Marvin, C. J.; Morales, N.; Morin, J.; Nelson, R. P.; Ortiz, J. L.; Ofir, A.; Paardekooper, S.-J.; Reiners, A.; Rodríguez, E.; Rodrίguez-López, C.; Sarmiento, L. F.; Strachan, J. P.; Tsapras, Y.; Tuomi, M.; Zechmeister, M. (25 August 2016). "A terrestrial planet candidate in a temperate orbit around Proxima Centauri" (PDF). Nature (ภาษาอังกฤษ). 536 (7617): 437–440. doi:10.1038/nature19106. ISSN 0028-0836.
- ↑ Torres, C. A. O.; Quast, G. R.; Da Silva, L.; De La Reza, R.; Melo, C. H. F.; Sterzik, M. (December 2006). "Search for associations containing young stars (SACY). I. Sample and searching method". Astronomy and Astrophysics. 460 (3): 695–708. arXiv:astro-ph/0609258. Bibcode:2006A&A...460..695T. doi:10.1051/0004-6361:20065602.
- ↑ 3.0 3.1 Ségransan, D.; Kervella, P.; Forveille, T.; Queloz, D. (2003). "First radius measurements of very low mass stars with the VLTI". Astronomy and Astrophysics. 397 (3): L5–L8. arXiv:astro-ph/0211647. Bibcode:2003A&A...397L...5S. doi:10.1051/0004-6361:20021714.
- ↑ Demory, B.-O.; Ségransan, D.; Forveille, T.; Queloz, D.; Beuzit, J.-L.; Delfosse, X.; Di Folco, E.; Kervella, P.; Le Bouquin, J.-B. (October 2009). "Mass-radius relation of low and very low-mass stars revisited with the VLTI". Astronomy and Astrophysics. 505 (1): 205–215. arXiv:0906.0602. Bibcode:2009A&A...505..205D. doi:10.1051/0004-6361/200911976.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Schlaufman, K. C.; Laughlin, G. (September 2010). "A physically-motivated photometric calibration of M dwarf metallicity". Astronomy and Astrophysics. 519: A105. arXiv:1006.2850. Bibcode:2010A&A...519A.105S. doi:10.1051/0004-6361/201015016.
- ↑ 6.0 6.1 A Potentially Habitable World in Our Nearest Star เก็บถาวร 2019-05-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Planetary Habitability Laboratory. 24 August 2016.
- ↑ "Earth-like planet discovered orbiting sun's neighbor". CNN. 24 August 2016. สืบค้นเมื่อ 24 August 2016.
A planet named Proxima b has been discovered orbiting the closest star to our sun.
- ↑ Davis, Nicola (24 August 2016). "Discovery of potentially Earth-like planet Proxima b raises hopes for life". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 24 August 2016.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 Chang, Kenneth (24 August 2016). "One Star Over, a Planet That Might Be Another Earth". New York Times. สืบค้นเมื่อ 24 August 2016.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 Strickland, Ashley (24 August 2016). "Closest potentially habitable planet to our solar system found". CNN Health. สืบค้นเมื่อ 25 August 2016.
- ↑ "Planet Found in Habitable Zone Around Nearest Star". European Southern Observatory. 24 August 2016.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""Found! Potentially Earth-Like Planet at Proxima Centauri Is Closest Ever "". Space.com. 24 August 2016.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Knapton, Sarah (24 August 2016). "Proxima b: Alien life could exist on 'second Earth' found orbiting our nearest star in Alpha Centauri system". The Telegraph. Telegraph Media Group. สืบค้นเมื่อ 24 August 2016.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 "Proxima b is our neighbor… better get used to it!". Pale Red Dot. 24 August 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-13. สืบค้นเมื่อ 24 August 2016.
- ↑ Aron, Jacob. 24 August 2016. Proxima b: Closest Earth-like planet discovered right next door. New Scientist. Retrieved 24 August 2016.
- ↑ "Follow a Live Planet Hunt!". European Southern Observatory. 15 January 2016. สืบค้นเมื่อ 24 August 2016.
- ↑ 17.0 17.1 Mathewson, Samantha (24 August 2016). "Proxima b By the Numbers: Possibly Earth-Like World at the Next Star Over". Space.com. สืบค้นเมื่อ 25 August 2016.
- ↑ 18.0 18.1 Witze, Alexandra (24 August 2016). "Earth-sized planet around nearby star is astronomy dream come true". Nature. pp. 381–382. doi:10.1038/nature.2016.20445. สืบค้นเมื่อ 24 August 2016.
- ↑ Marchis, Franck (24 August 2016). "Proxima Centauri b: Have we just found Earth's cousin right on our doorstep?". The Planetary Society. สืบค้นเมื่อ 24 August 2016.
- ↑ Ségransan, D.; Kervella, P.; Forveille, T.; Queloz, D. (2003). "First radius measurements of very low mass stars with the VLTI". Astronomy and Astrophysics. 397 (3): L5–L8. arXiv:astro-ph/0211647. Bibcode:2003A&A...397L...5S. doi:10.1051/0004-6361:20021714.
- ↑ Fraser Cain (15 September 2008). "Temperature of the Sun". Universe Today. สืบค้นเมื่อ 19 February 2011.
- ↑ Fraser Cain (16 September 2008). "How Old is the Sun?". Universe Today. สืบค้นเมื่อ 19 February 2011.
- ↑ Jao, Wei-Chun; Henry, Todd J.; Subasavage, John P.; Winters, Jennifer G.; Gies, Douglas R.; Riedel, Adric R.; Ianna, Philip A. (2014). "The Solar Neighborhood. XXXI. Discovery of an Unusual Red+White Dwarf Binary at ~25 pc via Astrometry and UV Imaging". The Astronomical Journal. 147 (1): 21. arXiv:1310.4746. Bibcode:2014AJ....147...21J. doi:10.1088/0004-6256/147/1/21. ISSN 0004-6256.
- ↑ Christian, D. J.; Mathioudakis, M.; Bloomfield, D. S.; Dupuis, J.; Keenan, F. P. (2004). "A Detailed Study of Opacity in the Upper Atmosphere of Proxima Centauri". The Astrophysical Journal. 612 (2): 1140–1146. Bibcode:2004ApJ...612.1140C. doi:10.1086/422803.
- ↑ 25.0 25.1 Clery, Daniel (26 August 2016). "The exoplanet next door". Science News. สืบค้นเมื่อ 28 August 2016.
Researchers have already found hundreds of similarly sized planets, and many appear to be far better candidates for hosting life than the one around Proxima Centauri, called Proxima b.
- ↑ Amos, Jonathan (24 August 2016). "Neighbouring star Proxima Centauri has Earth-sized planet". BBC News. สืบค้นเมื่อ 25 August 2016.
Just how "habitable" this particular planet really is, one has to say is pure speculation for the time being.
- ↑ 27.0 27.1 27.2 Ribas, Ignasi; Bolmont, Emeline; Selsis, Franck; และคณะ (25 August 2016). "The habitability of Proxima Centauri b: I. Irradiation, rotation and volatile inventory from formation to the present" (PDF). Astronomy & Astrophysics. สืบค้นเมื่อ 28 August 2016.
- ↑ 28.0 28.1 28.2 The habitability of Proxima Centauri b - II. Possible climates and observability เก็บถาวร 2016-08-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 25 August 2016.
- ↑ 29.0 29.1 29.2 Singal, Ashok K. (2014). "Life on a tidally-locked planet". Planex Newsletter. 4 (2): arXiv:1405.1025. arXiv:1405.1025. Bibcode:2014arXiv1405.1025S.
- ↑ Barnes, Rory, บ.ก. (2010), Formation and Evolution of Exoplanets, John Wiley & Sons, p. 248, ISBN 3527408967.
- ↑ Heller, R.; Leconte, J.; Barnes, R. (April 2011). "Tidal obliquity evolution of potentially habitable planets". Astronomy & Astrophysics. 528: 16. arXiv:1101.2156. Bibcode:2011A&A...528A..27H. doi:10.1051/0004-6361/201015809. A27.
{{cite journal}}
: CS1 maint: postscript (ลิงก์) - ↑ 32.0 32.1 "Numerical simulation of possible surface temperatures on Proxima b (synchronous rotation)". ESO. 2016. สืบค้นเมื่อ 24 August 2016.
- ↑ Makarov, Valeri V. (June 2012), "Conditions of Passage and Entrapment of Terrestrial Planets in Spin-orbit Resonances", The Astrophysical Journal, 752 (1): 8, arXiv:1110.2658, Bibcode:2012ApJ...752...73M, doi:10.1088/0004-637X/752/1/73, 73.
- ↑ http://arxiv.org/abs/1608.06919 The Habitability of Proxima Centauri b I: Evolutionary Scenarios
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- รายงานการค้นพบ A terrestrial planet candidate in a temperate orbit around Proxima Centauri ("ดาวเคราะห์ที่มีคุณสมบัติคล้ายโลกในวงโคจรที่เหมาะสมรอบดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า") โดยองค์การหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป (อังกฤษ)
- เว็บไซต์โครงการเพลเรดด็อท เก็บถาวร 2016-09-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โครงการค้นหาดาวเคราะห์คล้ายโลกบริเวณดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า (อังกฤษ)