มิลเลนเนียมสเตเดียม

พิกัด: 51°28′41″N 3°10′57″W / 51.47806°N 3.18250°W / 51.47806; -3.18250
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Millennium Stadium)
พรินซิพาลิตีสเตเดียม
ทางเข้าด้านเวสต์เกตสตรีต (บีทีสแตนด์)
แผนที่
ชื่อเดิมมิลเลนเนียมสเตเดียม
ที่ตั้งเวสต์เกตสตรีต
คาร์ดิฟฟ์ ประเทศเวลส์
พิกัด51°28′41″N 3°10′57″W / 51.47806°N 3.18250°W / 51.47806; -3.18250
ขนส่งมวลชนสถานีรถไฟกลางคาร์ดิฟฟ์ และ สถานีรถโดยสารกลางคาร์ดิฟฟ์
เจ้าของรักบี้ยูเนียนทีมชาติเวลส์
ผู้ดำเนินการรักบี้ยูเนียนทีมชาติเวลส์
ความจุ74,500[5]
ขนาดสนาม120 x 79 เมตร[6]
พื้นผิวหญ้า (พ.ศ. 2542–2557)
เดสโซกราสมาสเตอร์ (พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน)[2]
การก่อสร้าง
ลงเสาเข็มพ.ศ. 2540
เปิดใช้สนาม26 มิถุนายน พ.ศ. 2542[1]
งบประมาณในการก่อสร้าง121 ล้านปอนด์[3]
สถาปนิกไบลจ์ลอบบ์สปอรตส์อาชิเทคเจอร์ (ในเครือของปอปปูเลาส์),
ดับเบิลยูเอสแอตคินส์[4]
การใช้งาน
รักบี้ยูเนียนทีมชาติเวลส์
ฟุตบอลทีมชาติเวลส์
รักบี้ชิงแชมป์โลก: 1999
ไฮเนเกนคัพ: 2002, 2006, 2008, 2011, 2014
เอฟเอคัพ: 2001, 2002, 2003, 2004, 2005, 2006
ลีกคัพ: 2001, 2002, 2003, 2004, 2005, 2006, 2007
รักบี้ลีกชาเลนจ์คัพ รอบชิงชนะเลิศ: 2003, 2004, 2005

มิลเลนเนียมสเตเดียม (อังกฤษ: Millennium Stadium) หรือในชื่อปัจจุบัน พรินซิพาลิตีสเตเดียม (อังกฤษ: Principality Stadium) ตามชื่อของผู้สนับสนุน สนามนี้เป็นสนามฟุตบอลแห่งชาติของประเทศเวลส์ ตั้งอยู่ในคาร์ดิฟฟ์ และเป็นสนามเหย้าของรักบี้ยูเนียนทีมชาติเวลส์ อีกทั้งยังใช้งานในการเป็นสนามเหย้าของฟุตบอลทีมชาติเวลส์ ด้วย ซึ่งสนามนี้สร้างมาสำหรับใช้งานใน รักบี้ชิงแชมป์โลก 1999 และได้ใช้งานในงานขนาดใหญ่อีกมากมาย เช่น สึนามิรีลีฟคอนเสิร์ต, ซูเปอร์สเปเชียลสเตจ, สปีดเวย์กรังด์ปรีซ์ออฟเกรตบริเตน และ งานคอนเสิร์ตอีกมากมาย อีกทั้งยังได้เป็นสนามแข่งขันเอฟเอคัพ รอบชิงชนะเลิศถึง 6 ครั้ง ในช่วงที่สนามกีฬาเวมบลีย์ กำลังปรับปรุงสนามอยู่

สนามแห่งนี้มีผู้ดูแลคือบริษัทมิลเลียนเนียมสเตเดียม ซึ่งเป็นบริษัทลูกของรักบี้ทีมชาติเวลส์[7] สนามได้รับการออกแบบโดยไบลจ์ลอบบ์สปอรตส์อาชิเทคเจอร์ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของปอปปูเลาส์, และ ดับเบิลยูเอสแอตคินส์ ซึ่งรับงานเป็นบริษัททางด้านการก่อสร้าง ส่วนทางด้านผู้รับเหมา คือบริษัทไลอิง โดยสนามนี้ใช้ค่าก่อสร้าง 121 ล้านปอนด์[3] ซึ่งเงินในส่วนนี้มาจากคณะกรรมการของมิลเลนเนียมคอมมิชชัน 46 ล้านปอนด์[8]

มิลเลนเนียมสเตเดียม เปิดในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542[1] ซึ่งการแข่งขันรายการใหญ่ที่จัดขึ้นที่สนามนี้เป็นรายการแรกคือการแข่งขันรักบี้ยูเนียนทีมชาติ กระชับมิตร โดยเวลส์ ชนะ แอฟริกาใต้ 29–19 ในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2542 ซึ่งมีผู้ชม 29,000 คน[9] จากการที่สนามมีความจุ 74,500 คน ทำให้เป็นสนามที่ใหญ่ที่สุดอันดับที่ 3 ในการแข่งขันซิกเนชันส์แชมเปียนชิพ โดยมีความจุน้อยกว่า สตาดเดอฟร็องส์ และ ทวิคเกนแฮมสเตเดียม ตามลำดับ อีกทั้งยังเป็นสนามที่ใหญ่ที่สุดอันดับที่ 2 ในโลก และเป็นสนามที่ 2 ของยุโรป ที่มีหลังคาเปิด-ปิดได้[10][11] โดยเกณฑ์การแบ่งประเภทสนามฟุตบอล ของยูฟ่า ซึ่งสนามนี้ได้รับเลือกให้เป็นสนามแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2017 อีกด้วย[12] ในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558 รักบี้ยูเนียนทีมชาติเวลส์ได้ตกลงสัญญากับพรินซิพาลิตีในการเป็นสปอนเซอร์เป็นเวลา 10 ปี ทำให้มีการเปลี่ยนชื่อสนามเป็น "พรินซิพาลิตีสเตเดียม" ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559[13][14][15]

ประวัติ[แก้]

ก่อนสร้างสนาม[แก้]

ตั้งแต่อดีตจนถึงปี พ.ศ. 2512 สโมสรรักบี้คาร์ดิฟฟ์ และ รักบี้ยูเนียนทีมชาติเวลส์ จะใช้สนามเหย้าสนามเดียวกันที่ คาร์ดิฟฟ์อาร์มพาร์ก แต่ทุกสิ่งทุกอย่างก็เปลี่ยนไปในฤดูกาล 1969–70[16] หลังจากการตกลงกันระหว่าง สโมสรรักบี้คาร์ดิฟฟ์ กับ ทีมชาติเวลส์ ทำให้มีโครงการที่จะสร้างสนามแห่งใหม่สำหรับการแข่งขันในระดับนานาชาติเกิดขึ้น พร้อมยังต้องการที่จะสร้างสนามให้รองรับกับงานสำคัญขนาดใหญ่อีกด้วย ทำให้สโมสรรักบี้คาร์ดิฟฟ์ ต้องย้ายไปเล่นในสนามเหย้าที่สนามคริกเก็ต ซึ่งเป็นสนามเก่าของคาร์ดิฟฟ์อาร์มพาร์ก[16] ต่อมาในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2527 สนามกีฬาแห่งชาติแห่งใหม่ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 2537 ก็ได้มีการปรับปรุงครั้งใหญ่จากการตัดสินใจของคณะกรรมการ และทำให้ในปีถัดมา รักบี้ยูเนียนทีมชาติเวลส์ ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพในการจัดแข่งขัน รักบี้ชิงแชมป์โลก 1999[17]

สนามกีฬาแห่งชาติ
อัฒจันทร์ด้านทิศตะวันตกของสนามกีฬาแห่งชาติ
อัฒจันทร์ด้านทิศเหนือระหว่างการรื้อสนามกีฬาแห่งชาติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอัฒจันทร์ทิศเหนือของมิลเลนเนียมสเตเดียม

ในปี พ.ศ. 2538 สนามกีฬาแห่งชาติที่ได้รับการออกแบบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505[16] มีความจุเพียง 53,000 คน ซึ่งสนามกีฬาแห่งชาติของประเทศข้างเคียงอย่าง ทวิคเกนแฮมสเตเดียม ในประเทศอังกฤษ มีความจุ 75,000 คน และ เมอเรย์ฟีลด์สเตเดียม ในประเทศสกอตแลนด์ มีความจุ 67,000 คน ส่วนในประเทศฝรั่งเศส สตาดเดอฟร็องส์ สามารถจุคนได้มากกว่า 80,000 คน ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1998[17] โดยสนามเก่านั้นสามารถจุคนได้ถึง 65,000 คน แต่ถูกปรับลดเหลือ 53,000 คน ซึ่งในส่วนที่หายไปนั้นอยู่ทางด้านอัฒจันทร์ทิศตะวันออก และหลังจากได้ปรับเป็นสนามกีฬาแบบมีเก้าอี้แล้ว ทำให้สามารถจุคนได้เพียง 47,500 คน[17]

นอกจากเรื่องของปัญหาความจุผู้ชมแล้ว สนามกีฬาแห่งชาติยังถูกบดบังโดยตึกมากมายทางด้านทิศใต้ในพาร์กสตรีต, วูดสตรีต และทางด้านทิศตะวันออกในเวสต์เกตสตรีต อีกทั้งยังมีสนามรักบี้คาร์ดิฟฟ์ทางทิศเหนือ ส่วนทางด้านทิศตะวันตกนั้นติดแม่น้ำทัฟฟ์ ทำให้ทางเข้าสนามถูกจำกัดเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นทางเข้าหลักที่ติดเวสต์เกตสตรีตนั้นก็มีความแคบ ซึ่งมีทั้งที่จอดรถและผู้ชม ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการเข้า-ออกสนาม[17]

มี 2 ทางเลือกในการแก้ปัญหาคือการเพิ่มอัฒจันทร์ชั้นที่ 3 ในสนามกีฬาแห่งเก่า หรือ ย้ายไปยังสนามแห่งใหม่ ซึ่งทางเลือกหลังนั้นดูดีกว่าเนื่องจากสนามเก่าติดปัญหาเรื่องที่จอดรถที่ไม่เพียงพอ อีกทั้งเมื่อช่วงที่มีการแข่งขัน จะทำให้มีความหนาแน่นในการใช้ระบบขนส่งมวลชน อีกทั้งยังทำให้เกิดปัญหารถติดในบริเวณใกล้เคียง[17] คณะกรรมการจึงตัดสินใจลงมติเลือกที่จะสร้างสนามแห่งใหม่ ในพื้นที่เดิม แต่เพิ่มความจุให้มากขึ้น และยังย้ายการวางแนวของสนามจาก ทิศตะวันตก-ทิศตะวันออก เป็น ทิศเหนือ-ทิศใต้ โดยทางเลือกขั้นต้นได้รับการสนับสนุนโดยคณะกรรมการมิลเลียนเนียมคอมมิชชัน และจะกลายเป็นการปรับปรุงครั้งใหญ่ครั้งที่ 4 ของคาร์ดิฟฟ์อาร์มพาร์ก[11] ต่อมาได้มีการตัดสินใจที่จะสร้างสนามใหม่ที่มาพร้อมกับหลังคาที่สามารถเปิด-ปิดได้ เพื่อการใช้งานหลากหลายรูปแบบ และพื้นสนามที่เป็นหญ้าที่เหมาะสมกับทั้งกีฬารักบี้และฟุตบอล[17] ทำให้เป็นอีกหนึ่งสนามที่มีหลังคาเปิด-ปิด ได้ในทวีปยุโรป นอกจากสนามในประเทศเนเธอร์แลนด์ 2 สนาม คือ อัมสเตอร์ดัมอาเรนา ซึ่งสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2539 ด้วยความจุ 50,000 คน[11] และ เยลเรโดม ในอาร์เนม สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2541 ด้วยความจุ 30,000 คน[18]

หลังจากการตัดสินใจที่จะยังใช้พื้นที่ของอาร์มพาร์ก และมีความต้องการพื้นที่เพิ่ม เพื่อที่จะเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกและความจุสนาม ทำให้ต้องมีการเวนคืนอาคารทางด้านทิศใต้และทิศตะวันออก อีกทั้งยังมีการสร้างทางเดินริมแม่น้ำทัฟฟ์ทางด้านทิศตะวันตกของสนาม ซึ่งใช้งบประมาณ 6 ล้านปอนด์[3]

ต่อมา ปี พ.ศ. 2539 มิลเลนเนียมสเตเดียมได้แทนที่สนามกีฬาแห่งชาติเก่า, คาร์ดิฟฟ์อาร์มพาร์ก ทำให้มิลเลนเนียมเสตเดียมรับใช้งานสำหรับรักบี้ทีมชาติเวลส์ ในการแข่งขันระดับนานาชาติ ส่วนสโมสรรักบี้คาร์ดิฟฟ์จะลงเล่นที่สนามรักบี้คาร์ดิฟฟ์อาร์มพาร์กต่อไป ซึ่งสนามข้างต้นได้แทนที่สนามคริกเก็ตในปี พ.ศ. 2512[16][19]

ก่อสร้าง[แก้]

เปลี่ยนชื่อ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Millennium Stadium Information". Millennium Stadium. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-03. สืบค้นเมื่อ 28 August 2008.
  2. "End of an era, as Heineken Cup final between Toulon and Saracens marks last game on grass at the Millennium Stadium". Welsh Rugby Union. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-22. สืบค้นเมื่อ 11 September 2015.
  3. 3.0 3.1 3.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ cost
  4. "Pulling off the wow factor". Federation of Master Builders. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-10. สืบค้นเมื่อ 28 August 2008.
  5. Information : About the Venue : Facts & Figures เก็บถาวร 2011-06-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Millennium Stadium (12 May 2009). Retrieved 17 July 2013.
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Information
  7. "About Millennium Stadium plc". Welsh Rugby Union. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-22. สืบค้นเมื่อ 24 August 2008.
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Lottery
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Opened
  10. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Retractable roof
  11. 11.0 11.1 11.2 "About Millennium Stadium". Millennium Stadium. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-09. สืบค้นเมื่อ 24 August 2008.
  12. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ CL Final
  13. "Millennium Stadium: Cardiff venue to be renamed Principality Stadium". BBC Sport (British Broadcasting Corporation). 8 September 2015. สืบค้นเมื่อ 8 September 2015.
  14. "Millennium Stadium to be renamed Principality Stadium in historic naming rights deal with WRU". Wales Online. สืบค้นเมื่อ 11 September 2015.
  15. Mosalski, Ruth (31 December 2015). "It's just three weeks until the Millennium Stadium officially becomes the Principality". WalesOnline. Media Wales. สืบค้นเมื่อ 1 January 2016.
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 Harris CBE LLD (Hons), Kenneth M (1984). "The Story of the Development of the National Rugby Ground 7 April 1984". Welsh Rugby Union. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 17.4 17.5 "In the heart of the city". PanStadia International. สืบค้นเมื่อ 24 August 2008.
  18. "Projecten: Gelredome, Arnhem" (ภาษาดัตช์). Alynia Architecten. สืบค้นเมื่อ 15 February 2009.
  19. "CRFC History". Cardiff RFC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-14. สืบค้นเมื่อ 27 August 2008.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า มิลเลนเนียมสเตเดียม ถัดไป
ซานซีโร
 อิตาลี
ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก รอบชิงชนะเลิศ
(ฤดูกาล 2016-2017)
สนามกีฬาโอลิมปิก
 ยูเครน