ข้ามไปเนื้อหา

ไมเคิล ดักลาส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Michael Douglas)
ไมเคิล ดักลาส
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด (1944-09-25) 25 กันยายน ค.ศ. 1944 (80 ปี)
ไมเคิล เคิร์ก ดักลาส
New Brunswick, New Jersey, U.S.
คู่สมรสDiandra Luker (1977-2000)
Catherine Zeta-Jones (2000-ปัจจุบัน)
อาชีพนักแสดง โปรดิวเซอร์
ปีที่แสดง1966–ปัจจุบัน
รางวัล
ออสการ์Best Picture
1975 One Flew Over the Cuckoo's Nest
Best Actor
1987 Wall Street
ลูกโลกทองคำBest Motion Picture - Drama
1975 One Flew Over the Cuckoo's Nest
Best Actor - Motion Picture Drama
1987 Wall Street
Cecil B. DeMille Award
2004 Lifetime Achievement
แบฟตาBest Film
1975 One Flew Over the Cuckoo's Nest
ซีซาร์Honorary César
1998 Lifetime Achievement

ไมเคิล เคิร์ก ดักลาส (อังกฤษ: Michael Kirk Douglas) เกิดเมื่อวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 1944 เป็นนักแสดง โปรดิวเซอร์ ชาวอเมริกัน มีผลงานทางภาพยนตร์และโทรทัศน์ ดักลาสปรากฏบนจอโทรทัศน์ครั้งแรก ในละครดรามาอาชญากรรมยุคทศวรรษ 1970 เรื่อง The Streets of San Francisco รับบทบาทเล่นตั้งแต่ปี 1972-1976 ดักลาสได้รับ รางวัลเอมมี 1 สมัย, รางวัลลูกโลกทองคำ 1 สมัย และ รางวัลออสการ์ 2 สมัย จากการเป็นผู้สร้างภาพยนตร์ปี 1975 เรื่อง One Flew Over the Cuckoo's Nest และ อีกครั้งในฐานะนักแสดงจากบทบาทเรื่อง Wall Street

เขาเป็นบุตรชายคนโตของ เคิร์ก ดักลาส และ ไดอาน่า ดิลล์ ดักลาสสำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาการละครจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาร์บารา บทบาทการแสดงในช่วงแรกของเขามีมากมายรวมถึงภาพยนตร์ ละครเวที และการผลิตรายการโทรทัศน์ ดักลาสประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกในการแสดงของเขาในซีรีส์ทางโทรทัศน์เรื่อง The Streets of San Francisco ของสถานี ABC ซึ่งทำให้เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเอมี (Emmy Award) ติดต่อกันสามครั้ง ในปี 1975 ดักลาสได้ผลิตภาพยนตร์เรื่อง One Fly Over the Cuckoo's Nest โดยได้รับสิทธิ์จากนิยายของ Ken Kesey ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับเสียงวิจารณ์วิจารณ์และได้รับความนิยมและได้รับรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ทำให้ดักลาสได้ออสการ์เป็นครั้งแรกในฐานะหนึ่งในผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ ในช่วงเวลาต่อมาดักลาสได้ผลิตภาพยนตร์เช่น The China Syndrome (1979) และ Romancing the Stone (1984) เขาได้รับรางวัลลูกโลกทองคำสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม - ดนตรีหรือตลกจาก Romancing the Stone ซึ่งเขาได้ร่วมแสดงด้วย

หลังจากกลับมารับบทเป็น แจ็ค โคลตัน ในภาพยนตร์ภาคต่อเรื่อง The Jewel of the Nile ในปี 1985 ซึ่งเขาเคยอำนวยการสร้างด้วยและร่วมแสดงในละครเพลงเรื่อง A Chorus Line (1985) และ ภาพยนตร์ระทึกขวัญจิตวิทยาเรื่อง Fatal Attraction (1987) ดักลาสได้รับเสียงชื่นชมในบทบาทของ Gordon Gekko ใน Wall Street ของ โอลิเวอร์ สโตน (1987) ซึ่งทำให้เขาได้รับรางวัลออสการ์สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม เขากลับมารับบทในภาคต่อของภาพยนตร์ Wall Street ในเรื่อง Wall Street: Money Never Sleeps (2010)

ประวัติ

[แก้]

ดักลาสเกิดในนิวบรันสวิก รัฐนิวเจอร์ซีย์ เป็นบุตรคนแรกของนักแสดง เคิร์ก ดักลาส (1916–2020) และ Diana Dill (1923–2015) พ่อแม่ของเขาพบกันที่สถาบันสอนการแสดง American Academy of Dramatic Arts[1]

พ่อของเขาเป็นชาวยิว และ เกิดที่ Issur Danielovitch ปู่ย่าตายายของไมเคิลเป็นผู้อพยพจากชาวูซี (ตอนนี้คือส่วนหนึ่งของเบลารุส)[1] แม่ของเขามาจากเดวอนเชียร์แพริช เบอร์มิวดา และ มีเชื้อสายอังกฤษ ไอริช สก็อตแลนด์ เวลส์ ฝรั่งเศส เบลเยียม และ ดัตช์ ลุงของดักลาสเป็นนักการเมืองนามว่า Sir Nicholas Bayard Dill และปู่ของดักลาสคือ พันโท ทอมัส ทำหน้าที่เป็นอัยการสูงสุดแห่งเบอร์มิวดาในฐานะสมาชิกรัฐสภาแห่งเบอร์มิวดา (MCP) และเป็นผู้บัญชาการกองปืนใหญ่แห่งเบอร์มิวดา[2] ดักลาสมีน้องชายหนึ่คนได้แก่ โจเอล ดักลาส (เกิดปี 1947) และพี่ชายต่างมารดาสองคนคือ ปีเตอร์ ดักลาส (เกิด 1955) และ เอริก ดักลาส (เกิด 1958-2004) จากแม่เลี้ยงของเขา (แอนน์ บายเดนส์)

ดักลาสเข้าเรียนที่โรงเรียน Allen-Stevenson ในนิวยอร์กซิตี้, โรงเรียน Eaglebrook ในเมืองเดียร์ฟิลด์ รัฐแมสซาชูเซตส์ และ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา Choate (ปัจจุบันคือ Choate Rosemary Hall) ในเมืองวอลลิงฟอร์ด รัฐคอนเนตทิคัต เขาได้รับปริญญาตรีสาขาการละครจากมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนียซานตาบาร์บาราในปี 1968 ซึ่งเขาเป็นประธานกิตติมศักดิ์ของสมาคมศิษย์เก่า UCSB เขาเรียนการแสดงกับ Wynn Handman ที่สถาบัน The American Place Theatre ในนิวยอร์กซิตี้[3]

ในปี 1980 ดักลาสประสบอุบัติเหตุร้ายแรงจากการเล่นสกีซึ่งทำให้อาชีพการแสดงของเขาต้องหยุดชะงักไปเป็นเวลาสามปี และ เมื่อวันที่ 17 กันยายน ในปี 1992 เขาเข้ารับการรักษาโรคพิษสุราเรื้อรังเป็นเวลา 30 วันที่ศูนย์บำบัดเซียร์ราทูซอน

อาชีพนักแสดง

[แก้]

ช่วงเริ่มต้น

[แก้]

บทบาทครั้งแรกของดักลาสคือการปรากฎตัวในละครพิเศษเรื่อง The Experiment ในปี 1969 ของ CBS Playhouse ไมเคิล ดักลาสเริ่มต้นอาชีพนักแสดงอย่างเป็นทางการในช่วงปลายทศวรรษ 1960 และต้นทศวรรษ 1970 โดยปรากฏตัวในภาพยนตร์ที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก เช่น Hail, Hero!, Adam At 6.00 น. และ Summertree การแสดงของเขาใน Hail และ Hero! ทำให้เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำสาขานักแสดงหน้าใหม่ฝ่ายชายที่มีผลงานดีที่สุด ในช่วงปลายปี 1969 เขาได้ก่อตั้งบริษัทผลิตภาพยนตร์ของตนเองที่ชื่อว่า Bigstick Productions

บทบาทสำคัญครั้งแรกของเขาคือละครโทรทัศน์เรื่อง The Streets of San Francisco ตั้งแต่ปี 1972 ถึงปี 1976 ซึ่งเขาได้แสดงร่วมกับ คาร์ล มัลเดน ดักลาสกล่าวในภายหลังว่ามัลเดนกลายเป็น "พี่เลี้ยง" และเป็นคนที่เขา "ชื่นชมและรักอย่างสุดซึ้ง" ทั้งคู่มีความสัมพันธ์อันยาวนานจนกระทั่งมัลเดนเสียชีวิตในวันที่ 1 กรกฎาคม ปี 2009[4] โดย ในปี 2004 ดักลาสได้มอบรางวัล Monte Cristo Award ให้กับมัลเดน ณ โรงละคร Eugene O'Neill Theatre Center ในเมืองวอเตอร์ฟอร์ด

ดักลาสในละครโทรทัศน์ "The Streets of San Francisco" ในปี 1975

ในปี 1975 ดักลาสได้รับลิขสิทธิ์สร้างภาพยนตร์จากนวนิยายเรื่อง One Flew Over the Cuckoo's Nest จากบิดาของเขา โดยดัลสาสต้องการตั้งชื่อภาพยนตร์ตามชื่อนวนิยายดังกล่าว โดย เคิร์ก ดักลาสพ่อของเขาหวังที่ร่วมแสดงเป็นตัวละคร McMurphy ด้วยตัวเขาเอง โดยได้เคยแสดงในเวอร์ชันละครเวทีมาแล้วก่อนหน้านี้ แต่ ดักลาสลูกชายของเขากล่าวว่าเขาแก่เกินไปสำหรับบทนี้ และ บทบาทดังกล่าวตกเป็นของ แจ็ค นิโคลสัน ผู้ได้รับรางวัลออสการ์สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ซึ่งดักลาสได้รับรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากการผลิตภาพยนตร์[5]

หลังจากสิ้นสุดการแสดงใน The Streets of San Francisco ในปี 1976 ดักลาสได้รับบทเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลในภาพยนตร์ระทึกขวัญแนววิทยาศาสตร์เรื่อง Coma (1978) และ ในปี 1979 เขารับบทเป็นนักวิ่งมาราธอนที่มีปัญหาส่วนตัวในเรื่อง Running ในปี 1979 เขาได้เป็นอำนวยการสร้างและร่วมแสดงในภาพยนตร์ The China Syndrome ซึ่งเป็นภาพยนตร์ดรามาที่ร่วมแสดงโดย Jane Fonda และ Jack Lemmon มีเนื้อหาเกี่ยวกับอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ถือเป็น "หนึ่งในภาพยนตร์ฮอลลีวูดที่ดีที่สุดแห่งปี 1970"

โด่งดังและประสบความสำเร็จในฮอลลีวูด

[แก้]

อาชีพการแสดงของดักลาสได้รับความนิยมอย่างมากฮอลลีวูดเมื่อเขาสร้างและร่วมแสดงในภาพยนตร์ตลกแนวผจญภัยแนวโรแมนติกปี 1984 เรื่อง Romancing the Stone และ ทำให้ผู้กำกับ โรเบิร์ต เซเมคิส ประสบความสำเร็จในบ็อกซ์ออฟฟิศเป็นครั้งแรก ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังแสดงนำแสดงโดย แดนนี่ เดวิโต เพื่อนของดักลาส พวกเขามีความสนิทสนมกันเนื่องจากเคยแชร์อพาร์ตเมนต์ร่วมกันในช่วงทศวรรษ 1960 โดยอีกหนึ่งปีต่อมาภาพยนตร์เรื่องนี้ก็มีภาคต่อคือ The Jewel of the Nile ซึ่งเขาร่วมสร้างด้วยอีกเช่นเคย

ปี 1987 ดักลาสได้แสดงในภาพยนตร์ระทึกขวัญ Fatal Attraction ร่วมกับ เกล็นน์ โคลส ในปีเดียวกันนั้นเอง เขาเล่นเป็นเจ้าพ่อนามว่า Gordon Gekko ใน Wall Street ของ โอลิเวอร์ สโตน ซึ่งเขาได้รับรางวัลออสการ์สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม เขากลับมารับบทเป็นตัวละคร Gekko อีกคร้งในภาคต่อชื่อว่า Wall Street: Money Never Sleeps ในปี 2010 ซึ่งกำกับโดยสโตนด้วย[6]

ดักลาสแสดงในภาพยนตร์ปี 1989 เรื่อง The War of the Roses ซึ่งนำแสดงโดย Kathleen Turner และ Danny DeVito ด้วย[7] ในปี 1989 เขาได้แสดงในละครอาชญากรรมระดับนานาชาติเรื่อง Black Rain ของ ริดลีย์ สก็อตต์ ประกบคู่ แอนดี้ การ์เซียและเคท แคปชอว์; ภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทำในเมืองโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น

ดักลาสในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ (Festival de Cannes) ในปี 1987

ในปี 1992 ดักลาสได้รับบทบาทนักแสดงที่ประสบความสำเร็จอีกครั้งเมื่อเขาปรากฏตัวร่วมกับ ชารอน สโตน ในภาพยนตร์ Basic Instinct ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำรายได้ทะลุบ็อกซ์ออฟฟิศและจุดชนวนให้เกิดการโต้เถียงเกี่ยวกับไบเซ็กชวลและเลสเบี้ยนในวงกว้าง ในปี 1994 ดักลาส และ เดมี มัวร์ ได้แสดงในภาพยนตร์เรื่อง Disclosure โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศ โดยที่ดักลาสแสดงเป็นผู้ชายที่ถูกเจ้านายคนใหม่รังแก ภาพยนตร์ยอดนิยมอื่น ๆ ที่เขาแสดงในช่วงทศวรรษนี้ ได้แก่ Falling Down, The American President, The Ghost and the Darkness, The Game (กำกับโดย David Fincher) และ A Perfect Murder ในปี 1998 ดักลาสได้รับรางวัลคริสตัลสำหรับผลงานที่โดดเด่นที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติคาร์โลวี วารี[8]

ในปี 2000 ดักลาสได้แสดงในภาพยนตร์ดรามาของ สตีเวน โซเดอร์เบิร์ก เรื่อง Traffic ประกบคู่กับ เบนิซิโอ เดล โตโร และ ภรรยาในอนาคตของเขา "แคทเธอรีน ซีตา-โจนส์" ในปีเดียวกันนั้นเอง เขายังได้รับเสียงวิจารณ์ชื่นชมจากบทบาทของเขาใน Wonder Boys ในฐานะศาสตราจารย์และนักประพันธ์ที่ทุกข์ทรมานจากปัญหาต่างๆ เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยมและรางวัลบาฟตาสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

ความสัมพันธ์

[แก้]

หลังจากการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง Summertree ในปี 1971 ดักลาสเริ่มออกเดทกับนักแสดงหญิง Brenda Vaccaro ความสัมพันธ์ของทั้งคู่จบลงในปีที่ 6 หลังจากนั้น

ในเดือนมีนาคม ปี 1977 ดักลาส ซึ่งในขณะนั้นอายุ 32 ปี ได้แต่งงานกับ ไดแอนดรา ลูเกอร์ วัย 19 ปี ลูกสาวของนักการทูตชาวออสเตรีย พวกเขามีลูกชายคนหนึ่งชื่อคาเมรอนเกิดในปี 1978 ในปี 1995 ไดแอนดราได้ฟ้องหย่าดักลาสและได้รับเงินรางวัล 45 ล้านดอลลาร์ตามข้อตกลงในการหย่า[9]

ดักลาสแต่งงานกับนักแสดงหญิงชาวเวลส์ แคเธอรีน ซีตา-โจนส์ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2000 ทั้งคู่เกิดเมื่อวันที่ 25 กันยายนเหมือนกัน แม้ว่าจะห่างกัน 25 ปี ซีตา-โจนส์กล่าวว่าเมื่อพวกเขาพบกันในเมือง Deauville ประเทศฝรั่งเศส ดักลาสกล่าวว่า "ฉันต้องการเป็นพ่อของลูก ๆ ของคุณ"[10] พวกเขามีลูกสองคน ลูกชาย Dylan Michael (เกิด 8 สิงหาคม ปี 2000)[11] และ ลูกสาว Carys Zeta (เกิด 20 เมษายน ปี 2003)

ไมเคิล ดักลาส และ แคเธอรีน ซีตา-โจนส์ ภรรยาของเขาในปี 2012

ในเดือนสิงหาคม 2013 นิตยสาร People รายงานว่า ดักลาส และ ซีตา-โจนส์ ได้แยกกันอยู่ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2013[12] แต่ไม่ได้ดำเนินการทางกฎหมายใดๆต่อการหย่าร้าง ต่อมา มีรายงานเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2013 ว่าทั้งคู่ได้คืนดีกันแล้ว และ ซีตา-โจนส์ได้ย้ายกลับเข้าไปในอพาร์ตเมนต์ในนิวยอร์ก

สุขภาพ

[แก้]

มีการประกาศเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ปี 2010 ว่าดักลาสป่วยเป็นโรคมะเร็งลำคอ (ภายหลังเปิดเผยว่าเป็นมะเร็งที่ลิ้น) และ จะได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดและการฉายรังสี ต่อมาดักลาสยืนยันว่ามะเร็งอยู่ในระยะที่ 4 ซึ่งเป็นระยะลุกลาม

ดักลาสได้กล่าวชื่นชมและให้เครดิตการค้นพบมะเร็งของเขาต่อระบบสาธารณสุขของแคนาดาตั้งแต่แพทย์ในมอนทรีออล รัฐควิเบก ซึ่งแพทย์แคนาสามารถวินิจฉัยอาการป่วยของเขาได้หลังจากที่ผู้เชี่ยวชาญชาวอเมริกันจำนวนมากล้มเหลวในการทำเช่นนั้น[13] ดักลาสได้เข้าร่วมในการระดมทุนสำหรับโรงพยาบาล Jewish General ของมอนทรีออล และ ศูนย์สุขภาพมหาวิทยาลัย McGill ซึ่งโรงพยาบาลที่รักษาเขาสังกัดอยู่[14] ดักลาสให้เหตุผลว่ามะเร็งของเขานั้นเกิดจาก ความเครียด การดื่มแอลกอฮอล์ และ การสูบบุหรี่จัดเป็นเวลานานหลายปี


อ้างอิง

[แก้]
  1. "Michael Douglas on Liberace, Cannes, cancer and cunnilingus". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2013-06-02.
  2. "Ancestors of Michael Kirk Douglas". archive.ph. 2012-06-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-29. สืบค้นเมื่อ 2022-04-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  3. Parker, John (2011-07-21). Michael Douglas: Acting on Instinct (ภาษาอังกฤษ). Headline. ISBN 978-0-7553-6286-8.
  4. Facebook; Twitter; options, Show more sharing; Facebook; Twitter; LinkedIn; Email; URLCopied!, Copy Link; Print (2009-07-02). "Oscar-winning actor Karl Malden dies at 97". Los Angeles Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). {{cite web}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  5. "One Flew Over the Cuckoo's Nest (1975)". www.filmsite.org.
  6. "Michael Douglas Wall Street 2 - Movie News | TVGuide.com". web.archive.org. 2009-05-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-02. สืบค้นเมื่อ 2021-06-08.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  7. https://www.bbfc.co.uk/releases/war-roses-1970-3
  8. "41. Mezinárodní filmový festival Karlovy Vary | Historie festivalu". web.archive.org. 2006-09-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-03. สืบค้นเมื่อ 2021-06-08.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  9. "By The Numbers: The 10 Most Expensive Celebrity Divorces". Forbes (ภาษาอังกฤษ).
  10. "Cheesy chat up line that snagged Catherine Zeta-Jones". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ). 2007-07-12.
  11. "Passages : People.com". web.archive.org. 2015-03-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-16. สืบค้นเมื่อ 2021-06-08.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  12. "Michael Douglas and Catherine Zeta-Jones Separate". PEOPLE.com (ภาษาอังกฤษ).
  13. "Michael Douglas reveals his cancer has spread". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2010-09-01.
  14. "Michael Douglas praises Canadian health care". สืบค้นเมื่อ 2021-06-08.