เค็นชิ โยเนซุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Kenshi Yonezu)
เค็นชิ โยเนซุ
รู้จักในชื่อฮาจิ (ハチ)
เกิด (1991-03-10) มีนาคม 10, 1991 (33 ปี)[1]
โทกูชิมะ, ประเทศญี่ปุ่น[1]
ที่เกิดประเทศญี่ปุ่น
แนวเพลง
อาชีพ
  • นักดนตรี
  • นักร้อง
  • นักแต่งเพลง
  • โปรดิวเซอร์เพลง
  • จิตรกรภาพประกอบ
เครื่องดนตรี
ช่วงปีพ.ศ. 2552–ปัจจุบัน
ค่ายเพลง
เว็บไซต์reissuerecords.net

เค็นชิ โยเนซุ (ญี่ปุ่น: よねけんโรมาจิYonezu Kenshi) เป็นนักดนตรี, นักร้อง, นักแต่งเพลง, โปรดิวเซอร์เพลง และจิตรกรภาพประกอบชาวญี่ปุ่น เขาเริ่มสร้างผลงานโดยใช้นามแฝงว่า ฮาจิ (ハチ) ตั้งแต่ พ.ศ. 2552 จนกระทั่งใน พ.ศ. 2555 เขาได้เปลี่ยนไปใช้ชื่อจริงแทนการใช้นามแฝง รวมถึงการใช้เสียงของตนเองในการสร้างสรรค์ผลงาน[2] เขามีในยอดขายแผ่นในประเทศญี่ปุ่นกว่า 4.2 ล้านแผ่นและแบบดิจิทัลกว่า 7 ล้านก๊อปปี้

ชีวประวัติ[แก้]

อาชีพนักดนตรีช่วงแรก[แก้]

เค็นชิ โยเนซุ เกิดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2534 ในเขตชนบทของจังหวัดโทกูชิมะ ประเทศญี่ปุ่น สมัยเด็กเขาเป็นผู้ที่มีความลำบากทางการสื่อสาร โดยเฉพาะกับพ่อของเขาเอง อีกทั้งกล่าวไว้ในการสัมภาษณ์ว่า "หากเทียบพ่อกับแม่ ทางแม่ดูเป็นกันเองกว่า" เมื่อเขาอายุได้ 20 ปี แพทย์ให้การวินิจฉัยว่าเขาเป็นออทิสติก[3][4] และยังมีกลุ่มอาการมาร์แฟนพ่วงอีกด้วย[5]

โยเนซุเข้าวงการดนตรีครั้งแรกในปี 2549 ขณะที่กำลังเรียนอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นปีที่ 2 เขากับเพื่อนชื่อ ฮิโรชิ นากาจิมะ ได้ก่อตั้งวงดนตรีชื่อ Late Rabbit Edda ขึ้นมา เพื่อเล่นในงานวันเทศกาลวัฒนธรรมของโรงเรียน[6][7][8][9] เขารับหน้าที่เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง และนักกีตาร์เป็นครั้งคราว ขณะที่นากาจิมะเป็นมือกีตาร์หลัก กระทั่งปลายปี 2550 เขาได้ตั้งเว็บไซต์สำหรับวงดนตรีของพวกเขาขึ้นมาเพื่อโพสต์เนื้อเพลงและนิยายสั้น[10] และระหว่างเดือนเมษายน พ.ศ. 2551 ถึงมีนาคม พ.ศ. 2552 เขาได้อัปโหลดเพลงต้นฉบับจำนวน 24 เพลงไปยังเว็บไซต์แบ่งปันวิดีโอชื่อ Nico Nico Douga โดยใช้นามแฝงว่า "ฮาจิ"[2] แต่กลับไม่มีเพลงใดเลยที่โด่งดัง เพลงที่มียอดคนดูมากที่สุด "Beelzebub" มียอดผู้เข้าชมเพียง 23,000 ครั้ง[11] ต่อมาเขายังได้สร้างบล็อกขึ้นมา มีชื่อว่า Tekitō Edda (適当EDDA)[12][13]

เขาย้ายไปที่โอซากะหลังเรียนจบมัธยมปลาย และเริ่มเข้าเรียนในโรงเรียนวิจิตรศิลป์[14] ขณะที่กำลังเรียนอยู่ เขาได้อัปโหลดเพลงจำนวนหนึ่ง โดยใช้โวคาลอยด์ชื่อ ฮัตสึเนะ มิกุ แทน โดยเพลงของเขาก็มีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก อาทิ มูซุนเดะฮิไรเตะราเซ็ตสึโทะมูกูโระ (結ンデ開イテ羅刹ト骸) ที่เขาอัปโหลดในปี 2552 เป็นเพลงที่มียอดผู้เข้าชมถึงหนึ่งล้านครั้งเป็นเพลงแรกบนเว็บไซต์[15]

แม้ว่าเขาจะอัปโหลดเพลงที่ใช้เสียงของตัวเองมาแล้วกว่า 30 เพลง แต่เมื่อเพลงที่ใช้โวคาลอยด์สร้างขึ้นมีความโด่งดังมากกว่า[6] เขาก็ได้ลบเพลงพวกนั้นออก และเปลี่ยนชื่อบล็อกของเขาเป็น "เด็นชิโจฮาจิบังไง" (電子帖八番, "หนังสืออิเล็กทรอนิกส์หมายเลข 8") โดยต่อมา บล็อกของเขาเป็นหนึ่งในห้าที่ได้รับรางวัลไดมอนอะวอร์ด ในงาน 2009 WebMoney Awards[16]

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 เพลง "Clock Lock Works" ได้ปรากฏอยู่ในอัลบั้มรวมของบริษัทตัวแทนนักแต่งเพลง Exit Tunes ชื่อ Supernova นับเป็นครั้งแรกที่เพลงของเขาปรากฏในอัลบั้ม ต่อมาในเดือนมกราคม เพลงมูซุนเดะฮิไรเตะราเซ็ตสึโทะมูกูโระ ได้ปรากฏอยู่ในอัลบั้มรวม Vocalolegend feat. Hatsune Miku และติดสิบอันดับแรกบนออริคอน ซึ่งเป็นครั้งที่สองของบริษัท[17] ต่อมาในปี 2553 เขาออกอัลบั้มเป็นของตัวเองจำนวน 2 อัลบั้ม คือ "ฮานาตาบะโทะซุยโซ" ในเดือนกุมภาพันธ์ และ "ออฟฟิเชียลออเรนจ์" ในเดือนพฤศจิกายน ทั้งในปี 2553 และปี 2554 เพลงของเขาได้ปรากฏในอัลบั้มของ Exit Tunes เป็นจำนวนมาก รวมถึง Vocalonexus feat. Hatsune Miku ซึ่งเป็นอัลบั้มโวคาลอยด์ลำดับที่สองของบริษัทที่ขึ้นเป็นอันดับหนึ่งบนออริคอน[18] เพลงของเขายังปรากฏในเกม ฮัตสึเนะมิกุ: โปรเจกต์ดีวาเอ็กซ์เทนด์ (2554) และ ฮัตสึเนะมิกุ: โปรเจกต์ดีวาเอฟ (2555) และในคอนเสิร์ตฮัตสึเนะมิกุ มิกุโนะฮิดังกันชาไซ (2012) ซึ่งกลายเป็นแผ่นดีวีดีหรือบลูเรย์อันดับหนึ่งในกลุ่มนักร้องเสมือน[19] ส่วนทางบัญชี Nico Nico ของ Hachi เพลงของเขาทั้ง 7 เพลงมียอดวิวมากกว่า 1,000,000 ครั้ง[20] รวมถึงเพลง "Matryoshka" ซึ่งมียอดวิวสูงถึง 5,000,000 ครั้งใน พ.ศ. 2555[21]

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 โยเนซุได้เข้าร่วมกลุ่มแอนิเมชัน "มินากาตะเค็งกีวโจ" (南方研究所, "ห้องทดลองมินากาตะ") ซึ่งเป็นกลุ่มที่เขาได้ร่วมงานตั้งแต่วิดีโอ "Clock Lock Works" ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552[22] จนเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554 โยเนซุได้อัปโหลดวิดีโอโวคาลอยด์สุดท้ายของเขา หลังจากผลิตเพลงโวคาลอยด์มาเป็นเวลาประมาณ 3 ปี[20]

ทางด้าน Late Rabbit Edda ยังคงมีความเคลื่อนไหวอยู่จนถึงปี พ.ศ. 2553 วงได้เปลี่ยนชื่อเป็น Ernst Eckman และได้ ซูมิโมโตะ เป็นมือกลองคนใหม่ โดยพวกเขาได้ออกเพลงใหม่ในฐานะ Ernst Eckman บน MySpace ชื่อ "โอโบโรซูกิโทะโซโนะโคอัง" (オボロヅキとその考案, "พระจันทร์เสี้ยวกับแผนนั้น")[23] โดยที่โยเนซุออกจากวงเนื่องจากความรู้สึกของเขาเองที่รู้สึกว่าเขาไม่สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้ จึงออกมาสร้างสรรค์ผลงานกับเพลงโวคาลอยด์[24]

การเปิดตัวกับค่ายใหญ่[แก้]

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 โยเนซุและนักดนตรีอีก 7 คน ได้ก่อตั้งค่ายเพลงอิสระชื่อ Ballom ขึ้นมา เพื่อขยายโอกาสทางการดนตรีของนักดนตรีบนอินเทอร์เน็ต[25] เขาเปิดตัวอัลบั้มแรกของเขาในชื่อ Diorama ในปี พ.ศ. 2555 เปิดตัวได้อันดับที่ 6 ขายได้กว่า 45,000 ก๊อปปี้[1][26] กลายเป็นการออกอัลบั้มที่ใหญ่ที่สุดของค่าย และเป็นหนึ่งในผู้ชนะรางวัล CD Shop Awards ครั้งที่ 5 ซึ่งเป็นรางวัลที่โหวตโดยพนักงานจากร้านเพลง[27] ต่อมาเขาได้รับเลือกให้เป็นศิลปินภายใต้สังกัด Universal Sigma และเดบิวต์ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 ด้วยซิงเกิล "Santa Maria"[28] รวมถึงเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับนักดนตรีคนอื่น ๆ ได้[29]

ในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556 โยเนซุได้เผยแพร่เพลงโวคาลอยด์เพลงใหม่ชื่อ "Donut Hole" (ドーナツホール) นับเป็นเวลา 2 ปีครึ่งตั้งแต่ที่เขาเผยแพร่เพลงโวคาลอยด์ครั้งล่าสุด โดยครั้งนี้ใช้วงดนตรีสดและเสียงร้องของกูมิ[30] ต่อมาในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2557 โยเนซุออกอัลบั้มที่สอง มีชื่อว่า Yankee[31] ตามด้วยคอนเสิร์ตครั้งแรกของเขาในวันที่ 27 มิถุนายน ปีเดียวกัน[32] ต่อมาเพลง "Eine Kleine" ที่เขาเขียนขึ้น ถูกนำไปใช้ในแคมเปญเชิงพาณิชย์ของโตเกียวเมโทรในปี 2557[33]

เขามีชื่อเสียงมากขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับการเปิดตัวอัลบั้ม Bremen ในปี 2558 และ Bootleg ในปี 2560 โดยมีเพลงซิงเกิลฮิต อย่าง "อูจิอาเงะฮานาบิ", "Loser", "Orion" และ "Peace Sign" เป็นต้น ต่อมาอัลบั้ม Bootleg ได้รับรางวัลอัลบั้มแห่งปีในงานเจแปนเรคคอร์ดอะวอร์ดครั้งที่ 60 และทำให้โยเนซุกลายเป็นดาราดังระดับชาติ[34]

ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 โยเนซุได้เปิดตัวทางโทรทัศน์ในรายการ เอ็นเอชเค โคฮากุอูตะกัซเซ็ง ครั้งที่ 69 ซึ่งเป็นงานมหกรรมส่งท้ายปีและเป็นหนึ่งในรายการเพลงที่มีชื่อเสียงที่สุดของญี่ปุ่น เขาแสดงเพลง Lemon ซึ่งเป็นหนึ่งในเพลงของเขาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดใน พ.ศ. 2561 แบบสดจากเมืองโทกูชิมะซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขา[35] นับเป็นครั้งแรกที่รายการ โคฮากุอูตะกัซเซ็ง ออกอากาศจากจังหวัดโทกูชิมะ นอกจากนี้ เพลง อูจิอาเงะฮานาบิ และ Paprika ที่โปรดิวซ์โดยโยเนซุก็ถูกนำมาแสดงในงานอีกด้วย[36]

ในปี พ.ศ. 2562 โยเนซุได้เขียนเพลง "มาจิไงซางาชิ" ขึ้นมาสำหรับนักร้องชื่อ มาซากิ ซูดะ และได้รับรางวัล Best Pop Video ในงาน 2019 MTV Video Music Awards Japan ต่อมาเมื่อทาง Billboard Japan เผยแพร่แผนภูมิประจำปี เพลง Uma to Shika และ Machigai Sagashi อยู่ที่ 5 และ 6 ตามลำดับ[37] เขายังได้รับรางวัล Special Award จากงานเจแปนเรคคอร์ดอะวอร์ดครั้งที่ 61 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม และเพลง "Paprika" ก็ได้รับรางวัล Grand Prix อีกด้วย การที่อิทธิผลของเขาได้แผ่ขยายไปสู่ประเทศจีน ทำให้ในปีเดียวกันมีการจัดคอนเสิร์ตในต่างประเทศขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศจีนและประเทศไต้หวัน[38]

เพลงที่เขาร่วมเขียนกับวงบอยแบนด์อาราชิ อย่าง "ไคท์" ถูกใช้เป็นเพลงประกอบการรายงานข่าวโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ของเอ็นเอชเค ในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เขาได้เข้าแสดงเพลงในบัลบั้ม Stray Sheep (2563) ใน Fortnite's Party Royale ซึ่งได้ปล่อยบัลบั้มไปเมื่อ 2 วันก่อน[39] ต่อมาในเดือนธันวาคม เขาเป็นหนึ่งในห้าผู้รับรางวัล Special Achievement Award ในงาน Japan Record Awards ครั้งที่ 62[40] ในปี 2565 โยเนซุได้ปล่อยเพลง "Kick Back" ซึ่งถูกใช้เป็นเพลงเปิดของอนิเมะเรื่องเชนซอว์แมน[41]

ความสามารถทางศิลปะ[แก้]

โยเนซุได้เขียนและแต่งเพลงของเขาเองทั้งหมด รวมถึงเพลงโวคาลอยด์และอัลบั้มอิสระ Diorama เขายังทำการเรียบเรียง ตั้งโปรแกรม มิกซ์ และเล่นเครื่องดนตรี ด้วยตัวเขาเองทั้งหมด[1][21] เมื่อเขาย้ายไปสังกัดยูนิเวอร์แซล โยเนซุเริ่มทำงานกับวงดนตรีในการแสดงดนตรี[29] เขาคิดว่าวงดนตรีญี่ปุ่นอย่าง Bump of Chicken, Asian Kung-Fu Generation Spitz และ Radwimps ส่งอิทธิผลต่องานของเขาเป็นอย่างมาก และนักเขียนชาวญี่ปุ่นอย่าง เค็นจิ มิยาซาวะ และ มิชิมะ ยูกิโอะ ได้ส่งอิทธิผลต่อเนื้อเพลงในผลงานของเขา[7][14] ในฐานะที่เป็นนักวาดภาพประกอบ เขารู้สึกว่าได้รับแรงบันดาลใจจากภาพประกอบของ เอ็ดเวิร์ด กอรีย์[7] โดยปกติแล้ว เขามักจะแต่งเพลงโดยใช้กีตาร์ แต่บางครั้งก็ใช้กลองในการสร้างทำนอง[42]

เขาแบ่งอาชีพของเขาเป็นสองส่วน ส่วนที่สร้างผลงานเพลงโวคาลอยด์จะใช้ชื่อ "ฮาจิ" และส่วนที่สร้างผลงานโดยใช้เสียงตนเองจะใช้ชื่อจริงของเขา "เค็นชิ โยเนซุ"[2] เขามีความรู้สึกว่า เพลงที่สร้างโดย "ฮาจิ" นั้น ถูกสร้างเพื่อชาว Nico Nico Douga ขณะที่เพลงในนามของเขาเองกลับไม่ได้มีอะไรเชื่อมโยงแบบนั้น[43] ในขณะที่เขาไม่ต้องการที่จะโคเวอร์เพลงโวคาลอยด์ของเขาเองในอัลบั้ม Diorama (2555) เขากลับรู้สึกว่าระยะห่างระหว่างเพลงของเขาและเพลงของ "ฮาจิ" นั้นขุ่นมัวขึ้นระหว่างการทำอัลบั้ม Yankee (2557) และทำให้เขาได้โคเวอร์เพลง "Donut Hole" ของตัวเองลงในอัลบั้มนี้[43][44]

"ซูนะโนะวากูเซ" (砂の惑星; ชื่อภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการ "DUNE") เป็นเพลงที่แต่งและเรียบเรียงโดย "ฮาจิ" หลังจากที่ห่างหายไปจากวงการเพลง VOCALOID เป็นเวลานาน นับตั้งแต่ผลงานก่อนหน้าอย่าง "Donut Hole"[45] เพลงนี้ถูกใช้เป็นเพลงประกอบในงาน ฮัตสึเนะมิกุแมจิเคิลมิไร 2017 และยังปรากฏใน "แมจิเคิลมิไร 2017 ออฟฟิเชียลอัลบั้ม"[46] ซึ่งเพลงนี้ยังถูกบรรจุเข้า Hall of Legend บนนิโกะนิโกะ และมียอดผู้เข้าชมกว่า 1 ล้านครั้งบนยูทูบหลังจากการอัปโหลดเพียงไม่นาน[47]

โยเนซุยังทำงานเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับนักดนตรีคนอื่น ๆ มาเป็นจำนวนหลายครั้งแล้ว โดยเพลงแรกที่เขาแต่งและเรียบเรียงให้คือ เพลงชื่อ "นิรูงิริ" (ニルギリ, 2553) ของนักร้องอินเทอร์เน็ตชื่อ Lasah[48] ต่อมาเขาได้แต่งและเรียบเรียงเพลง "Escape Game" (エスケープゲーム) สำหรับนักร้องอนิเมะ ลิซา ในอัลบั้ม Letters to U (2554) ของเธอ[49] โยเนซุยังได้รีมิกซ์เพลงปิดของอนิเมะเรื่อง ดอกไม้ มิตรภาพ และความทรงจำ มีชื่อเพลงว่า "Secret Base (คิมิงะคูเรตะโมโนะ) (Those Dizzy Days Ver.)" ซึ่งถูกปล่อยในปี 2556[50]

แม้ว่าจะมีการแสดงสดแบบออนไลน์บน Ustream ทุกเดือน แต่เขาก็ไม่ได้แสดงสดบ่อยนัก วงดนตรีสมัยมัธยมปลายของเขาอย่าง Late Rabbit Edda ก็มีการแสดงสดเพียงครั้งเดียวในวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2551[51] และไปสมัครเพื่อแสดงในงาน Senkō Riot ซึ่งเป็นงานการประกวดดนตรีสำหรับวัยรุ่น โดยวงผ่านรอบเทปการสาธิต แต่พลาดในการแสดงกับสตูดิโอแบบสดเพื่อเข้าสู่รอบสุดท้ายซึ่งเป็นการแสดงสด[14] โยเนซุยังได้แสดงเป็น "ฮาจิ" ในงานโวคาลอยด์หลายงาน แม้เขาจะเปิดตัวในสายอาชีพมาตั้งแต่ปี 2555 แต่ก็ไม่ได้มีการแสดงสดเลยมาเกือบ 2 ปี[52] คอนเสิร์ตครั้งแรกของเขาถูกวางไว้ในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557 สองเดือนหลังจากการเปิดตัวอัลบั้ม Yankee[32]

โยเนซุวาดภาพประกอบวิดีโอในช่วงแรก ๆ บนนิโกะนิโกะเองทั้งหมด โดยใช้เครื่องสแกนหรือปากกาแท็บเล็ตเพื่อวาดภาพ[15] ในสมัยที่เขาอายุได้ 10 ขวบ พ่อแม่ของเขาซื้อคอมพิวเตอร์มาเครื่องหนึ่ง เขาจึงใช้มันวาดแอนิเมชันแฟลชสำหรับเพลงของวง Bump of Chicken ลงบนอินเทอร์เน็ต[7] รวมถึงในอัลบั้ม Diorama เขาก็ยังคงวาดภาพประกอบเอง นั่นแสดงว่าเขาทั้งแต่งเพลงและวาดปกอัลบั้มด้วยตัวของเขาเอง พร้อมกับรับความช่วยเหลือจากสมาชิกของกลุ่ม "มินากาตะเค็งกีวโจ"[1] แม้ต่อมา เขาจะย้ายมาสังกัดยูนิเวอร์แซลแล้ว ผลงานของเขาก็ยังคงปรากฏงานวาดของเขาเองอยู่ ส่วนมากเขาจะใช้โปรแกรมอย่าง Adobe Photoshop Elements, Adobe After Effects และ Corel Painter Essentials สำหรับการสร้างแอนิเมชัน[22] ภาพประกอบของโยเนซุยังปรากฏในนิตยสารดนตรีอย่าง Rockin' On Japan เริ่มจากฉบับเดือนสิงหาคม 2556 และผลงานของเขาชื่อ ไคจูซูกัง (かいじゅうずかん, "Monster Picture Index") ที่นำเสนอสิ่งมีชีวิตในจินตนาการ ก็เป็นผลงานวาดของเขาเช่นกัน[53]

เขาใช้โปรแกรม Cakewalk Sonar สำหรับสร้างสรรค์ผลงานเพลง[22] หากจะสร้างเพลงโวคาลอยด์ เขาจะใช้โปรแกรม Vocaloid 2 และเสียงของฮัตสึเนะ มิกุ[6][20][22] อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2553 โยเนซุเริ่มใช้เสียงร้องของ เมงูริเนะ รูกะ (巡音ルカ) และกูมิ ในเพลงของเขา[20] อัลบั้ม ฮานาตาบะโทะซุยโซ จะพบเพียงเสียงร้องของ ฮัตสึเนะ มิกุ เท่านั้น แต่ในอัลบั้ม ออฟิเชียลออเรนจ์ มีทั้งเสียงร้องของ ฮัตสึเนะ มิกุ, เมกูริเนะ รูกะ, กูมิ และรวมถึงเสียงของเขาเองในเพลงยูเอ็งชิไง (遊園市街, "เมืองแห่งความสนุก")[7]

โยเนซุได้ตอบไว้ในรายการวิทยุว่า เพลง "MOTHER" ของ ซูซูมุ ฮิราซาวะ ที่เขาได้ฟังเมื่อเขาอายุ 18 ปี ขณะกำลังเริ่มอาชีพสายดนตรีนั้น "เป็นเพลงที่เปลี่ยนชีวิตของผม" และยังกล่าวไว้ว่า "เพลงทุกเพลงของ ซูซูมุ ฮิราซาวะ นั้นแฝงด้วยฝีมือที่ผมไม่เคยได้ยินมาก่อน และเพลงนั้นก็ได้ส่งอิทธิผลต่อผมมาก ๆ"[54] โยเนซุกล่าวว่าเขารู้จักซูซูมุ ฮิราซาวะ จากนิโกะนิโกะ และยังบอกว่า "เพลง MOTHER เป็นเพลงใหม่ที่ผมไม่เคยได้ยินมาก่อนเลย มันทำให้ผมรู้สึกหวนระลึกถึงความทรงจำในอดีต ผมรู้สึกว่ามันมีบางอย่างที่เป็นสากลในเพลงนี้" และ "ผมรู้สึกว่ามันเป็นเพลงที่มีความสมดุลอย่างน่าเหลือเชื่อ และเป็นครั้งแรกที่ผมอยากจะเอาความสมดุลนั้นมาใส่ในเพลงของผม Christ Peppler พิธีกรรายการวิทยุและนักแสดงนำจาก 'Kamen Rider Drive' เคยถามผมว่า "อยากเจอเขามั้ยล่ะ" ผมตอบกลับไปว่า "ตรงกันข้ามเลยล่ะ ผมไม่ต้องการพบกับคนที่ผมเคารพหรอก""[54]

ผลงานเพลง[แก้]

  • Diorama (2555)
  • Yankee (2557)
  • Bremen (2558)
  • Bootleg (2560)
  • Stray Sheep (2563)

รางวัลและการได้รับเสนอชื่อเข้ารับรางวัล[แก้]

ปี รางวัล หมวดหมู่ ผลงานที่ได้รับการเสนอชื่อ/ผลงาน ผลลัพธ์ อ้างอิง
2013 CD Shop Awards ครั้งที่ 5 รางวัลผู้เข้ารอบสุดท้าย
Finalist Award
Diorama ชนะ [55]
2015 CD Shop Awards ครั้งที่ 7 รางวัลผู้เข้ารอบสุดท้าย
Finalist Award
Yankee ชนะ [56]
Japan Record Awards ครั้งที่ 57 รางวัลอัลบั้มยอดเยี่ยม
Excellent Album Award
Bremen ชนะ [57]
2016 Space Shower Music Awards ศิลปินชายยอดเยี่ยม
Best Male Artist
เสนอชื่อเข้าชิง [58]
CD Shop Awards ครั้งที่ 8 รางวัลผู้เข้ารอบสุดท้าย
Finalist Award
Bremen ชนะ [59]
2017 Space Shower Music Awards ศิลปินชายยอดเยี่ยม
Best Male Artist
เสนอชื่อเข้าชิง [60]
Crunchyroll Anime Awards เพลงเปิดยอดเยี่ยม
Best Opening
"Peace Sign"
(จากอนิเมะเรื่อง มายฮีโร่ อคาเดเมีย ซีซัน 2)
ชนะ [61]
2018 Japan Record Awards รางวัลพิเศษ
Special Award
ชนะ [62]
อัลบั้มแห่งปี
Album of the Year
Bootleg ชนะ
Billboard Japan Music Award ศิลปินแห่งปี
Artist of the year
ชนะ [63]
32nd Japan Gold Disc Award เพลงแห่งปีโดยยอดดาวน์โหลด
Song of the Year by Download
"อูจิกาเงะฮานาบิ" (ร่วมกับ ดาโอโกะ) ชนะ [64]
Space Shower Music Awards เพลงแห่งปี
Song of the Year
ชนะ [65]
ศิลปินชายยอดเยี่ยม
Best Male Artist
ชนะ
ความร่วมมือยอดเยี่ยม
Best Collaboration
"ฮาอิโระโทะอาโอะ" (ร่วมกับ มาซากิ ซูดะ) ชนะ
CD Shop Awards ครั้งที่ 10 รางวัลชนะเลิศ
Grand Prize
Bootleg ชนะ [66]
MTV VMAJ วิดีโอยอดเยี่ยมแห่งปี
Best Video of the Year
"Lemon" ชนะ [67]
วิดีโอจากศิลปินชายยอดเยี่ยม
Best male video
ชนะ
Television Drama Academy Awards ครั้งที่ 96 เพลงประกอบยอดเยี่ยม
Best Theme Song
ชนะ [68]
International Drama Festival in Tokyo รางวัลเพลงประกอบ
Theme Song Award
ชนะ [69]
2019 Space Shower Music Awards เพลงแห่งปี
Song of the Year
ชนะ [70]
ศิลปินชายยอดเยี่ยม
Best Male Artist
ชนะ
Television Drama Academy Awards ครั้งที่ 102 เพลงประกอบยอดเยี่ยม
Best Theme Song
"อูมะโทะชิกะ" ชนะ [71]
Japan Record Awards รางวัลพิเศษ
Special Award
ชนะ [72]
2020 Japan Gold Disc Award ครั้งที่ 34 รางวัลพิเศษ
Special Awards
ชนะ [73]
Space Shower Music Awards ศิลปินชายยอดเยี่ยม
BEST MALE ARTIST
ชนะ [74]
MTV VMAJ วิดีโอจากศิลปินชายยอดเยี่ยม
Best Male Video
"คันเด็ง" ชนะ [75]
ACC TOKYO CREATIVITY AWARDS ส่วนสร้างสรรค์สื่อ - Grand Prix
Media Creative Section - Grand Prix
ชนะ [76]
Japan Record Awards ครั้งที่ 62 รางวัลพิเศษ
Special Award
ชนะ [77]
Billboard Japan Music Awards อัลบั้มยอดเยี่ยมแห่งปี
Top album of the Year
Stray Sheep ชนะ [78]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Profile" (ภาษาญี่ปุ่น). Universal Music Japan. 2013. สืบค้นเมื่อ September 25, 2013.
  2. 2.0 2.1 2.2 "How Kenshi Yonezu rose from online prodigy to hitmaker in Japan". Billboard. August 7, 2017. สืบค้นเมื่อ May 2, 2018.
  3. "怪獣として育った少年が、神様に選ばれるまで。". cakes.mu (ภาษาญี่ปุ่น). 30 December 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-18. สืบค้นเมื่อ 18 April 2021.
  4. "Until the Boy Raised As A Monster Is Chosen By God". vgperson.com. 30 December 2015. สืบค้นเมื่อ 18 April 2021. But I was confirmed to have [autism] after the age of 20. I was in a strange mental state, went to the hospital, and that's what they diagnosed.
  5. "「Lemon」がミリオンDL突破 米津玄師がオルタナティブを語る". Highsnobiety Japan (ภาษาญี่ปุ่น). October 23, 2018. สืบค้นเมื่อ 19 April 2021.
  6. 6.0 6.1 6.2 "若手ボカロP・ハチさんのインタビューを掲載! プレゼントも" [Here's an interview with young Vocaloid creator Hachi! Presents included] (ภาษาญี่ปุ่น). Dengeki Online. January 21, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 22, 2013. สืบค้นเมื่อ September 22, 2013.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 "米津玄師1stアルバム「diorama」インタビュー" [Kenshi Yonezu 1st album Diorama interview]. Ryu Fuku (ภาษาญี่ปุ่น). Natalie. May 16, 2012. สืบค้นเมื่อ September 25, 2013.
  8. "アーティスト late rabbit edda" (ภาษาญี่ปุ่น). Kenshi Yonezu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 9, 2009. สืบค้นเมื่อ November 9, 2013.
  9. "Late Rabbit Edda" (ภาษาญี่ปุ่น). MySpace. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 10, 2009. สืบค้นเมื่อ November 9, 2013.
  10. "Late Rabbit Edda" (ภาษาญี่ปุ่น). Kenshi Yonezu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 7, 2009. สืบค้นเมื่อ November 9, 2013.
  11. "ゆん's Public My Lists. よねづけんし" (ภาษาญี่ปุ่น). Yun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 8, 2013. สืบค้นเมื่อ November 9, 2013.
  12. よね (ภาษาญี่ปุ่น). Kenshi Yonezu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 8, 2009. สืบค้นเมื่อ November 9, 2013.
  13. カメラ [Camera] (ภาษาญี่ปุ่น). Kenshi Yonezu. July 9, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 12, 2009. สืบค้นเมื่อ November 9, 2013.
  14. 14.0 14.1 14.2 "『 夢の職業★3DAYS 』ーDAY2ー 米津玄師先生、初来校!!!" [Dream jobs 3 Days - Day 2: Mr. Kenshi Yonezu, first time at school] (ภาษาญี่ปุ่น). School of Lock!. June 13, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 27, 2013. สืบค้นเมื่อ September 27, 2013.
  15. 15.0 15.1 "若手ボカロP・ハチさんのインタビューを掲載! プレゼントも" [Here's an interview with young Vocaloid creator Hachi! Presents included] (ภาษาญี่ปุ่น). Dengeki Online. January 21, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 22, 2013. สืบค้นเมื่อ September 22, 2013.
  16. "enjoy.Award 2009" (ภาษาญี่ปุ่น). WebMoney. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 9, 2013. สืบค้นเมื่อ November 9, 2013.
  17. EXIT TUNES PRESENTS Vocalolegend feat.初音ミク (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ September 25, 2013.
  18. 初音ミク"ボーカロイド"アルバムが史上2作目首位 [Hatsune Miku "Vocaloid" album second number one album in history] (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. January 25, 2011. สืบค้นเมื่อ September 25, 2013.
  19. "初音ミク、バーチャルシンガー初のBD総合首位" [Hatsune Miku, first Blu-ray/DVD combined number one for a virtual singer] (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. September 5, 2012. สืบค้นเมื่อ September 25, 2013.
  20. 20.0 20.1 20.2 20.3 "ハチ's Public My Lists. ボーカロイド作品" [Hachi's Public Lists. Vocaloid Works] (ภาษาญี่ปุ่น). Nico Nico Douga. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 22, 2013. สืบค้นเมื่อ September 25, 2013.
  21. 21.0 21.1 "ハチ=米津玄師、1stアルバム「diorama」発表" [Hachi=Kenshi Yonezu, releasing 1st album Diorama]. Natalie.mu. April 27, 2012. สืบค้นเมื่อ September 22, 2013.
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 "About"南方研究所"" (ภาษาญี่ปุ่น). Minakata Kenkyūjo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 28, 2012. สืบค้นเมื่อ September 25, 2013.
  23. "Ernst Eckman" (ภาษาญี่ปุ่น). MySpace. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 26, 2013. สืบค้นเมื่อ November 9, 2013.
  24. "米津玄師さん登場!来週は『AKB48スペシャル』" [Kenshi Yonezu makes an appearance! Next week, AKB48 special] (ภาษาญี่ปุ่น). All Night Nippon. June 3, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 7, 2013. สืบค้นเมื่อ November 9, 2013.
  25. 人気クリエイター8組が音楽レーベル設立! [8 popular creators form a music label!] (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. March 4, 2011. สืบค้นเมื่อ September 25, 2013.
  26. オリコンランキング情報サービス「you大樹」 [Oricon Ranking Information Service 'You Big Tree']. Oricon. สืบค้นเมื่อ September 13, 2015.
  27. "CDショップ大賞入賞7作品決定、過去受賞者登場ライブも" [CD Shop Awards announces seven winners, past winners' live at event] (ภาษาญี่ปุ่น). Natalie. February 4, 2013. สืบค้นเมื่อ September 25, 2013.
  28. 米津玄師、ユニバーサルシグマより5月にメジャーデビュー [Kenshi Yonezu, major debut in May under Universal Sigma] (ภาษาญี่ปุ่น). Natalie. April 3, 2013. สืบค้นเมื่อ September 25, 2013.
  29. 29.0 29.1 米津玄師「サンタマリア」インタビュー [Kenshi Yonezu 1st Santa Maria interview]. Minako Ito (ภาษาญี่ปุ่น). Natalie. May 24, 2013. สืบค้นเมื่อ September 25, 2013.
  30. 米津玄師、2年9カ月ぶり「ハチ」名義でボカロ楽曲公開 [Kenshi Yonezu unveils first Vocaloid song as Hachi in two years and nine months] (ภาษาญี่ปุ่น). Natalie. October 28, 2013. สืบค้นเมื่อ October 30, 2013.
  31. 米津玄師、新作アルバムに"ハチ"曲「ドーナツホール」も [Kenshi Yonezu, new album features "Hachi" song Donut Hole too.] (ภาษาญี่ปุ่น). Natalie. February 27, 2014. สืบค้นเมื่อ February 27, 2014.
  32. 32.0 32.1 "米津玄師アルバムより新曲PV公開、初ワンマンはUNITで" [Kenshi Yonezu, new song from album's music video unveiled, first one man live at Unit.] (ภาษาญี่ปุ่น). Natalie. March 15, 2014. สืบค้นเมื่อ March 16, 2014.
  33. "米津玄師 東京メトロの新CMソング書き下ろし" [Kenshi Yonezu wrote new Tokyo Metro CM song] (ภาษาญี่ปุ่น). Billboard Japan. March 27, 2014. สืบค้นเมื่อ March 27, 2014.
  34. "「日本レコード大賞」候補にTWICEやDA PUMP、最優秀アルバム賞は米津玄師" ["Japan Record Awards" Nominees TWICE and DA PUMP, Best Album Award Goes to Kenshi Yonezu] (ภาษาญี่ปุ่น). natalie. November 16, 2018. สืบค้นเมื่อ August 30, 2019.
  35. "Kenshi Yonezu Will Make TV Debut on Prestigious New Year's Eve Music Program". Billboard. 27 December 2018. สืบค้นเมื่อ 7 January 2019.
  36. "「紅白」で米津玄師プロデュース「パプリカ」をFoorinが歌唱、DJ KOOはけん玉再挑戦" [Foordin to Sing Kenshi Yonezu-Produced "Paprika" at "Kohaku", DJ KOO to Rechallenge Kendama] (ภาษาญี่ปุ่น). natalie. December 27, 2018. สืบค้นเมื่อ August 30, 2019.
  37. "Billboard Japan Year End Charts for 2019".
  38. "Yonezu Kenshi to hold first overseas concerts in China and Taiwan".
  39. "KENSHI YONEZU AT PARTY ROYALE". 31 July 2020.
  40. Ryusenkai (19 November 2020). "Winners and Nominees for the 62nd Japan Record Awards Announced". Arama! Japan. สืบค้นเมื่อ 2021-05-13.
  41. Leung, Hilary (October 13, 2022). "'Chainsaw Man': Get To Know Every Artist Singing the Opening & Ending Themes". CBR. สืบค้นเมื่อ October 13, 2022.
  42. Tomoko Imai (April 22, 2014). "米津玄師、居場所をなくした全ての人に贈る2ndアルバム『YANKEE』インタビュー" [Kenshi Yonezu 2nd album Yankee interview, dedicated to everyone who has lost their way.] (ภาษาญี่ปุ่น). EMTG. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 24, 2014. สืบค้นเมื่อ April 24, 2014.
  43. 43.0 43.1 Koichi Kamiya (April 23, 2014). 「最近はネットコミュニティを俯瞰で見ている」米津玄師が振り返る、ネットと作り手の関わり方 ["I lurk a lot on net communities recently" says Kenshi Yonezu, explaining the link between the Internet and creation.] (ภาษาญี่ปุ่น). RealSound. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 24, 2014. สืบค้นเมื่อ April 24, 2014.
  44. Tomonori Shiba (April 23, 2014). "゛呪い゛を解く鍵「YANKEE」に込めた思い" [Thoughts put into Yankee, the key to removing a curse.] (ภาษาญี่ปุ่น). Natalie. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 24, 2014. สืบค้นเมื่อ April 24, 2014.
  45. "Hatsune Miku Magical Mirai 2017".
  46. "Hatsune Miku: Magical Mirai 2017 Official Album Announced, Preorders Now Open!". 26 May 2017.
  47. "Hachi MV「Sand Planet feat. Hatsune Miku」". 21 July 2017.
  48. 「ニルギリ」 [Nilgiri] (ภาษาญี่ปุ่น). Lasah. June 29, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 3, 2010. สืบค้นเมื่อ November 9, 2013.
  49. "Letters to U" (ภาษาญี่ปุ่น). Tower Records. สืบค้นเมื่อ November 9, 2013.
  50. "劇場版「あの花」公開記念、「secret base」がLPサイズで" [Secret Base released in LP size to commemorate the film version of Anohana's release] (ภาษาญี่ปุ่น). Natalie. August 2, 2008. สืบค้นเมื่อ November 9, 2013.
  51. ライブ決定 [Live Decided] (ภาษาญี่ปุ่น). Kenshi Yonezu. August 2, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 9, 2009. สืบค้นเมื่อ November 9, 2013.
  52. "自分勝手な愛。米津玄師が語る2ndシングル「MAD HEAD LOVE / ポッピンアパシー」" [Selfish love. Kenshi Yonezu talks about his second single "Mad Head Love / Poppin' Apathy"]. Mucomi+Plus, Hisanori Yoshida (ภาษาญี่ปุ่น). Barks. October 16, 2013. สืบค้นเมื่อ November 7, 2013.
  53. "米津玄師、「ROCKIN'ON JAPAN」にて新連載スタート! 架空の生物を紹介する「かいじゅうずかん」" [Kenshi Yonezu, new column in Rockin' On Japan starting! Kaijū Zukan, introducing fictional creatures]. Rockin' On Japan (ภาษาญี่ปุ่น). June 26, 2013. สืบค้นเมื่อ November 8, 2013.
  54. 54.0 54.1 "ARCHIVE". SAPPORO BEER OTOAJITO | J-WAVE 81.3 FM RADIO (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2021-08-16.
  55. "5th CD Shop Awards 2013" (ภาษาญี่ปุ่น). All-Japan CD Shop Clerks Union. สืบค้นเมื่อ March 15, 2018.
  56. "7th CD Shop Awards 2013" (ภาษาญี่ปุ่น). All-Japan CD Shop Clerks Union. สืบค้นเมื่อ March 15, 2018.
  57. "57th Japan Record Awards nominations" (ภาษาญี่ปุ่น). modelpress. สืบค้นเมื่อ March 15, 2018.
  58. "NOMINEES SPACE SHOWER MUSIC AWARDS 2016" (ภาษาญี่ปุ่น). Space Shower Networks inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2021. สืบค้นเมื่อ March 15, 2018.
  59. "8th CD Shop Awards 2013" (ภาษาญี่ปุ่น). All-Japan CD Shop Clerks Union. สืบค้นเมื่อ March 15, 2018.
  60. "NOMINEES SPACE SHOWER MUSIC AWARDS 2017" (ภาษาญี่ปุ่น). Space Shower Networks inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-01. สืบค้นเมื่อ March 15, 2018.
  61. Trumbore, Dave (February 26, 2018). "Crunchyroll Anime Awards winners revealed: Who took home the Big Prize?". Collider. สืบค้นเมื่อ May 2, 2018.
  62. "60th Japan Record Awards winners and nominees announced". SBS PopAsia (ภาษาอังกฤษ). 19 November 2018. สืบค้นเมื่อ 2019-02-27.
  63. "Billboard Japan announce top 20 artists of 2018". SBS PopAsia (ภาษาอังกฤษ). 7 December 2018. สืบค้นเมื่อ 2019-02-27.
  64. "32nd Japan Gold Disc Award" (ภาษาญี่ปุ่น). Recording Industry Association of Japan. สืบค้นเมื่อ March 15, 2018.
  65. "WINNERS SPACE SHOWER MUSIC AWARDS 2018" (ภาษาญี่ปุ่น). Space Shower Networks. สืบค้นเมื่อ March 15, 2018.
  66. 第10回CDショップ大賞2018 米津玄師が大賞を獲得 [10th CD Shop Awards 2018, Kenshi Yonezu wins the Grand Prize] (ภาษาญี่ปุ่น). Lawson HMV Entertainment. March 8, 2018. สืบค้นเมื่อ March 15, 2018.
  67. "<MTV VMAJ 2018>最優秀ビデオ賞は米津玄師「Lemon」。ライブイベントで受賞者ら豪華競演". BARKS (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2019-05-27.
  68. 米津玄師初のドラマ主題歌でドラマソング賞に輝く!「皆さんの熱意に連れてきてもらえた」. The Television (ภาษาญี่ปุ่น). Kadokawa Corporation. May 6, 2018. สืบค้นเมื่อ May 19, 2018.
  69. "東京ドラマアウォード2018:「おっさんずラブ」がグランプリなど3冠 田中圭が主演男優賞 吉田鋼太郎が助演男優賞". MANTANWEB(まんたんウェブ) (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2019-05-27.
  70. "WINNERS". SPACE SHOWER MUSIC AWARDS 2019 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2019-05-27.
  71. "米津玄師「馬と鹿」ドラマアカデミー賞で最優秀ドラマソング賞に".
  72. "『第61回輝く!日本レコード大賞』各賞受賞者&曲が決定".
  73. "The 34th Japan Gold Disc Award".
  74. "SS MVA 2020".
  75. "mtv vmaj 2020".
  76. "ACC TOKYO CREATIVITY AWARDS 2020".
  77. "62nd Japan Record Awards".
  78. "YOASOBI Tops Billboard Japan's 2020 Year-End Charts With Song Not Released on CD". Billboard. 3 December 2020.