ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Hans Christian Andersen)
ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน
ภาพถ่ายโดยThora Hallager, ค.ศ.1869
ภาพถ่ายโดยThora Hallager, ค.ศ.1869
เกิด2 เมษายน ค.ศ. 1805(1805-04-02)
โอเดนเซ, ฟึน, เดนมาร์ก–นอร์เวย์
เสียชีวิต4 สิงหาคม ค.ศ. 1875(1875-08-04) (70 ปี)
Østerbro, โคเปนเฮเกน, เดนมาร์ก
ที่ฝังศพAssistens Cemetery, โคเปนเฮเกน
อาชีพนักเขียน
ภาษาเดนมาร์ก
ช่วงเวลายุคทองของเดนมาร์ก
แนวsChildren's literature, travelogue
ผลงานที่สำคัญThe Little Mermaid
The Ugly Duckling
The Emperor's New Clothes
The Little Match Girl

ลายมือชื่อ
เว็บไซต์
Hans Christian Andersen Centre
แฮนส์ คริสตีแยน อานาเซิน

ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน (เดนมาร์ก: Hans Christian Andersen; ค.ศ. 1805-1875) แอนเดอร์เซนเป็นนักเขียนชาวเดนมาร์ก ที่เกิดในสลัม ตามคำบอกเล่าของผู้คนที่มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับเขา ในสายตาของคนอื่นเขาเป็นเพียงตัวตลกน่าสมเพชให้คนหัวเราะมาโดยตลอด แต่แล้วเขาก็ใช้ผลงานพิสูจน์ความสามารถ ด้วยบรรดางานเขียนที่เขาเรียกมันว่า "เรื่องเล่น ๆ" ที่เป็นนิทานสำหรับเด็ก ซึ่งทำให้ผู้ใหญ่ทั่วโลกนิ่งฟังด้วยตาโต แม้ว่าเขาจะเป็นนักเขียนบทละครพื้น ๆ กวีฝีมือธรรมดา นักเขียนนวนิยายชั้นดี และนักเขียนเรื่องท่องเที่ยวชั้นเลิศ หากในด้านนิทานแล้ว เขาก้าวไปถึงขั้นเยี่ยมยอดไร้ที่ติ กล่าวกันว่านิทานของเขาเป็นบรรณาการยิ่งใหญ่จากเดนมาร์กแก่โลกวรรณกรรม ฐานะเทียมเท่าโฮเมอร์, ดันเต, เชกสเปียร์, เซร์บันเตส และเกอเทอ

จากการนำนิทานพื้นบ้านมาเล่าใหม่ เขาก็เริ่มแต่งนิทานเอง แล้วก็เติมความเศร้าหรือน่ากลัวเข้าไป เสริมด้วยจินตนาการเพ้อฝันและลีลาภาษาพูดเรียบง่ายเพื่อย้อมความหวานซึ้งให้กับคติของเรื่อง ต้นสน (1845) เป็นเรื่องที่ผู้คนชื่นชอบกันมากที่สุด เช่นเดียวกับ เด็กหญิงไม้ขีดไฟ, เงือกน้อย, ราชินีหิมะ, ไนติงเกล, กล่องชุดจุดไฟ, ลูกเป็ดขี้เหร่ และ ชุดใหม่ของพระราชา

ผลงานนิทาน[แก้]

ภาพประกอบนิทานของแฮนส์ คริสตีแยน อานาเซิน
ภาพประกอบนิทานของแฮนส์ คริสตีแยน อานาเซิน

ผลงานที่แปลเป็นภาษาไทย[แก้]

  • อนาคตของกุหลาบอาจไม่ได้โรยไว้ด้วยกลีบกุหลาบ เรื่องสำหรับเด็ก (และผู้ใหญ่) [1]

อ้างอิง[แก้]

บทความนี้ นำข้อความบางส่วนหรือทั้งหมด มาจากเว็บไซต์ วรรณกรรมดอตคอม เก็บถาวร 2005-09-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ซึ่งเจ้าของเว็บไซต์ดังกล่าว อนุญาตให้เผยแพร่ต่อได้ โดยไม่สงวนลิขสิทธิ์

  1. "ต้นสน (The fir tree)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-02-09. สืบค้นเมื่อ 2005-08-15.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]