ไดอะไนซัส
ไดโอนีซัส | |
---|---|
เทพเจ้าแห่งไวน์ เทศกาลรื่นเริง การละครและปีติสานติ์ | |
รูปปั้นไดอะไนซัสแบบโรมันสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 2 ตามแบบเฮลเลนนิสติก (ex-coll. Cardinal Richelieu, Louvre) | |
ที่ประทับ | ยอดเขาโอลิมปัส |
สัญลักษณ์ | ช่อกระจุกแยกแขนง เถาองุ่น หนังเสือดาว เสือดำ แพนเธอร์ เสือ เสือดาว |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
คู่ครอง | แอรีแอดนี |
บิดา-มารดา | ซูสและซีมีลี |
พี่น้อง | แอรีส, อธีนา, อพอลโล, อาร์ทิมิส, แอโฟรไดที, ฮีบี, เฮอร์มีส, เฮราคลีส, เฮเลนแห่งทรอย, ฮิฟีสตัส, เพอร์ซิอัส, ไมนอส, มิวส์, ชาริทีส |
เทพที่เทียบเท่าในความเชื่ออื่น | |
เทียบเท่าในโรมัน | แบคัส, ลิเบอร์ |
ไดอะไนซัส (อังกฤษ: Dionysus, /daɪ.əˈnaɪsəs/; กรีกโบราณ: Διόνυσος, Dionysos) เป็นเทพเจ้าแห่งการเก็บเกี่ยวองุ่น การทำไวน์และไวน์ ความบ้าคลั่งทางพิธีกรรมและปีติศานติ์ในเทพปกรณัมกรีก พระนามของพระองค์ในแผ่นจารึกอักษรไลเนียร์บี[1] แสดงว่าชาวกรีกไมซีเนียนอาจมีการบูชาพระองค์ตั้งแต่ประมาณ 1,500–1,100 ปีก่อน ค.ศ. ร่องรอยลัทธิประเภทไดอะไนเซียพบได้ในอารยธรรมไมนวนบนเกาะครีต[2] จุดกำเนิดของพระองค์นั้นไม่แน่ชัด และลัทธิของพระองค์มีหลายรูปแบบ แหล่งข้อมูลโบราณบางแหล่งอธิบายว่าเป็นของชาวเทรซ บางแหล่งก็อธิบายว่าเป็นของชาวกรีก[3][4][5] ในบางลัทธิ พระองค์มาจากทางตะวันออก โดยเป็นพระเจ้าเอเชีย ในลัทธิอื่น พระองค์มาจากเอธิโอเปียทางใต้ พระองค์เป็นเทพเจ้าแห่งการสำแดงอย่างเทพเจ้า (epiphany) และ "ความเป็นต่างประเทศ" ของพระองค์ที่เป็นพระเจ้าที่มาจากต่างแดนอาจสืบทอดและสำคัญต่อลัทธิของพระองค์ พระองค์เป็นพระเจ้าหลักและได้รับความนิยมในเทพปกรณัมและศาสนากรีก และรวมอยู่ในรายพระนามเทวสภาโอลิมปัสบ้าง ไดอะไนซัสเป็นพระเจ้าพระองค์สุดท้ายที่ได้รับการยอมรับเข้าสู่ยอดเขาโอลิมปัส พระองค์เป็นพระเจ้าองค์ที่มีพระชนมายุน้อยที่สุดและเป็นพระองค์เดียวที่ประสูติแก่มารดาที่เป็นมนุษย์[6] เทศกาลของพระองค์เป็นแรงผลักดันเบื้องหลังการพัฒนาการละครกรีก พระองค์เป็นตัวอย่างของพระเจ้าที่กำลังสวรรคต (dying god)[7][8]
พระองค์มีอีกพระนามหนึ่งว่า แบคัส (อังกฤษ: Bacchus, /ˈbækəs/ หรือ /ˈbɑːkəs/; กรีก: Βάκχος, Bakkhos) ซึ่งเป็นพระนามที่ชาวโรมันรับไป[9] ช่อกระจุกแยกแขนง (thyrsus) ของพระองค์บางครั้งมีเถาไม้เลื้อยพันและมีน้ำผึ้งไหลเป็นหยด ซึ่งเป็นไม้ถือที่มีประโยชน์ แต่ยังเป็นอาวุธได้ด้วย และสามารถใช้ทำลายผู้ที่ต่อต้านลัทธิของพระองค์และเสรีภาพซึ่งพระองค์เป็นตัวแทน พระองค์ยังทรงถูกเรียกว่า ผู้ปลดปล่อย (Liberator) ที่ปลดปล่อยส่วนลึกของตนเองโดยทำให้คลั่ง หรือให้มีความสุขอย่างล้นเหลือ หรือด้วยเหล้าองุ่น[10] หน้าที่ของไดอะไนซัสคือเป็นผู้สร้างดนตรีออโลส (aulos) และยุติความกังวล[11] นักวิชาการถกกันเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไดอะไนซัสกับ “คตินิยมเกี่ยวกับวิญญาณ” และความสามารถในการติดต่อระหว่างผู้ยังมีชีวิตอยู่และผู้ที่ตายไปแล้ว[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Raymoure, K.A. (November 2, 2012). "Khania Linear B Transliterations". Minoan Linear A & Mycenaean Linear B. Deaditerranean. "Possible evidence of human sacrifice at Minoan Chania". Archaeology News Network. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-17. สืบค้นเมื่อ 2014-03-20. Raymoure, K.A. "Khania KH Gq Linear B Series". Minoan Linear A & Mycenaean Linear B. Deaditerranean. "KH 5 Gq (1)". DĀMOS: Database of Mycenaean at Oslo. University of Oslo.
- ↑ Kerenyi 1976.
- ↑ Thomas McEvilley, The Shape of Ancient Thought, Allsworth press, 2002, pp. 118–121. Google Books preview
- ↑ Reginald Pepys Winnington-Ingram, Sophocles: an interpretation, Cambridge University Press, 1980, p.109 Google Books preview
- ↑ Zofia H. Archibald, in Gocha R. Tsetskhladze (Ed.) Ancient Greeks west and east, Brill, 1999, p.429 ff.Google Books preview
- ↑ Sacks, David; Murray, Oswyn; Brody, Lisa R. (2009-01-01). Encyclopedia of the Ancient Greek World. Infobase Publishing. ISBN 9781438110202. สืบค้นเมื่อ 20 April 2013.
- ↑ Dionysus, greekmythology.com
- ↑ Burkert, Walter, Greek Religion, 1985 pp. 64, 132
- ↑ In Greek "both votary and god are called Bacchus". Burkert, Greek Religion 1985:162. For the initiate as Bacchus, see Euripides, Bacchantes 491. For the god, who alone is Dionysus, see Sophocles, Oedipus the King 211 and Euripides, Hippolytus 560.
- ↑ Sutton, p.2, mentions Dionysus as The Liberator in relation to the City Dionysia festivals.
- ↑ Fox, p.221, "The divine mission of Dionysus was to mingle the music of the flute and to bring surcease to care"; Fox then cites Euripides as a direct source for this statement. Euripides, Bacchae, Choral II, lines 379-381: "[370] Holiness, queen of the gods, Holiness, who bear your golden wings along the earth, do you hear these words from Pentheus? Do you hear his unholy [375] insolence against Bromius, the child of Semele, the first deity of the gods at the banquets where guests wear beautiful garlands? He holds this office, to join in dances, [380] to laugh with the flute, and to bring an end to cares, whenever the delight of the grape comes at the feasts of the gods, and in ivy-bearing banquets [385] the goblet sheds sleep over men." [1]
- ↑ Riu, Xavier, Dionysism and Comedy, Chapter 4, Happiness and the Dead, p.105, "Dionysus presides over communications with the Dead".
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ไดอะไนซัส