ใยเชื่อมปลาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รูป G ถึง N แสดงใยเชื่อมปลาย stereocilia ของเซลล์ขน
รูป G ถึง N แสดงใยเชื่อมปลาย stereocilia ของเซลล์ขน

ใยเชื่อมปลาย (อังกฤษ: Tip link) เป็นใย (filament) ที่เชื่อมปลายขนของเซลล์ขนในหูชั้นในที่เรียกว่า stereocilia หรือ kinocilium เข้าด้วยกัน[1] การถ่ายโอนแรงกลเป็นไฟฟ้า (mechanotransduction) เชื่อว่าเกิดใกล้ ๆ กับใยเชื่อมปลายที่ยึดกับช่องไอออนเปิดปิดโดยสปริง (spring-gated ion channel)[2] ซึ่งเป็นช่องที่เปิดต่อแคตไอออนโดยเฉพาะ คือ ไอออนโพแทสเซียมและแคลเซียม ให้เข้ามาในเซลล์ขนจาก endolymph ซึ่งเป็นน้ำนอกเซลล์ที่อาบส่วนยอด (apical) ของเซลล์ทั้งหมด เมื่อขนงอไปทาง kinocilium การลดขั้ว (depolarization) ก็จะเกิดขึ้น เมื่องอไปทางตรงข้าม การเพิ่มขั้ว (hyperpolarization) ก็จะเกิดขึ้น ใยเชื่อมปลายทำมาจากโมเลกุลของโปรตีน cadherin 2 อย่าง คือ protocadherin 15 และ cadherin 23 (CDH23)[3] แต่ก็พบว่า ใยค่อนข้างแข็ง ดังนั้น จึงเชื่อว่า มีอะไรอย่างอื่นในเซลล์ขนที่ยืดหยุ่นได้และทำให้ stereocilia เคลื่อนไปมาได้[4] มีสมมติฐานว่าใยยึดอยู่กับโปรตีนมอเตอร์ myosin ที่สามารถเคลื่อนไปตามใย actin ได้[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Brady, Scott T; Siegel, George J; Albers, Robert Wayne; Price, Donald Lowell (2012). Basic Neurochemistry: Principles of Molecular, Cellular and Medical Neurobiology. Academic Press. p. 920. ISBN 978-0-12-374947-5.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  2. Aidley, David J (1998-09-03). The Physiology of Excitable Cells. Cambridge University Press. p. 248. ISBN 978-0-521-57421-1.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  3. Lewin, GR; Moshourab, R (2004). "Mechanosensation and pain". Journal of Neurobiology. 61: 30–44.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  4. Corey, D. Harvard University. Phone Interview. 19 November 2008.
  5. Howard, J; Hudspeth, A. J. (1987). "Mechanical relaxation of the hair bundle mediates adaptation in mechanoelectrical transduction by the bullfrog's saccular hair cell". Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 84 (9): 3064–3068. doi:10.1073/pnas.84.9.3064. PMC 3495007. PMID 3495007.