โอเปิล เวคตร้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โอเปิล เวคตร้า
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตโอเปิล
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2531 - 2552
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถยนต์นั่งขนาดกลาง (Mid-Size Car)
รูปแบบตัวถังซีดาน 4 ประตู
แฮทช์แบค 5 ประตู
สเตชันวากอน 5 ประตู
รุ่นที่คล้ายกันโตโยต้า โคโรน่า/คัมรี่
ฮอนด้า แอคคอร์ด
นิสสัน เซฟิโร่/เทียน่า
มาสด้า 626/6
มิตซูบิชิ กาแลนต์
ซูบารุ เลกาซี
ซูซูกิ คิซาชิ
อีซูซุ อาสก้า
เชฟโรเลต มาลีบู
ฟอร์ด ทอรัส/มอนดิโอ
ฮุนได โซนาต้า/ไอ40
เกีย ออพติมา
แดวู เอสเปอโร/เลกันซา/แม็กนัส/ทอสก้า
โฟล์กสวาเกน พัสสาท
สโกด้า ซูเพิร์บ
เปอโยต์ 405/406/407/508
ซีตรอง BX/ซองเทีย/C5/DS5
โฮลเดน คอมมอเดอร์
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้าโอเปิล แอสโคนา
รุ่นต่อไปโอเปิล อินซิกเนีย

โอเปิล เวคตร้า (อังกฤษ: Opel Vectra) เป็นรถยนต์นั่งขนาดกลาง (Mid-Size Car) ผลิตโดยโอเปิล ผู้ผลิตรถยนต์จากเยอรมนีซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ General Motors เริ่มผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2531 โดยมาทดแทนรุ่นเก่าอย่างโอเปิล แอสโคนา (อังกฤษ: Opel Ascona) และเลิกผลิตในปี พ.ศ. 2552 โดยมีรุ่นใหม่มาแทน คือ โอเปิล อินซิกเนีย (อังกฤษ: Opel Insignia) โอเปิล เวคตร้า มีวิวัฒนาการตามช่วงเวลาได้ 3 รุ่น ดังนี้

รุ่นที่ 1 (พ.ศ. 2531-2538)[แก้]

โอเปิล เวคตร้า รุ่นที่ 1

โอเปิล เวคตร้า รุ่นที่ 1 เริ่มผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2531 ใช้ชื่อว่า Vectra A และมีการส่งออกรถรุ่นนี้ภายใต้ยี่ห้อ เชฟโรเลต และ วอกซ์ฮอลล์ มีตัวถังซีดาน 4 ประตูและแฮทช์แบค 5 ประตู ใช้เครื่องยนต์เบนซิน 1.4 ,1.6 ,1.8 ,2.0 และ 2.5 ลิตร มีทั้งแบบ SOHC และ DOHC รวมทั้งมีเครื่องยนต์ Turbo และเครื่องยนต์ดีเซล 1.7 ลิตร ซึ่งผลิตโดยอีซูซุ ระบบเกียร์มีทั้งเกียร์ธรรมดา 5 และ 6 สปีด และเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด มีฐานการประกอบที่ประเทศอังกฤษ ,เยอรมนี ,บราซิล ,เวเนซุเอลาและอียิปต์

ในประเทศไทย โอเปิล เวคตร้า รุ่นที่ 1 บริษัท พระนครยนตรการ จำกัด เคยสั่งนำเข้ามาขายในประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2536-2539

รุ่นที่ 2 (พ.ศ. 2538-2545)[แก้]

โอเปิล เวคตร้า รุ่นที่ 2

โอเปิล เวคตร้า รุ่นที่ 2 เริ่มผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2538 ใช้ชื่อว่า Vectra B มีการส่งออกภายใต้แบรนด์เชฟโรเลต โฮลเดนและวอกซ์ฮอลล์ มีตัวถังซีดาน 4 ประตู แฮทช์แบค 5 ประตูและสเตชันวากอน 5 ประตู เครื่องยนต์เป็นเครื่องยนต์เบนซิน 1.6 ,1.8 ,2.0 ,2.2 และ 2.5 ลิตร โดยมี V6 ในรุ่น 2.5 ลิตร และเครื่องยนต์ดีเซล 1.7 ,2.0 และ 2.2 ลิตร ระบบเกียร์เป็นเกียร์ธรรมดา 5 สปีดและเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด มีฐานการประกอบที่ประเทศอังกฤษ ,เยอรมนี ,เบลเยียม ,อียิปต์ ,ออสเตรเลีย ,บราซิลและตุรกี

ในประเทศไทย โอเปิล เวคตร้า รุ่นที่ 2 เปิดตัวในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2539 โดยบริษัท พระนครยนตรการ จำกัด ก่อนจะค่อยๆเงียบหายไปจากตลาดเมื่อช่วงปี พ.ศ. 2542 เนื่องจากหมดสัญญาการทำตลาดกับเจเนรัลมอเตอร์ (GM) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของโอเปิลในขณะนั้น ก่อนที่จะหมดสัญญาการทำตลาดรถยนต์ฮุนได กับ Hyundai Motors เมื่อปี พ.ศ. 2545 ก่อนหน้านี้ พระนครยนตรการเคยหมดสัญญาการทำตลาดรถยนต์ไดฮัทสุ กับ Daihatsu Motor เมื่อปี พ.ศ. 2540 มาแล้ว

รุ่นที่ 3 (พ.ศ. 2545-2552)[แก้]

โอเปิล เวคตร้า รุ่นที่ 3

โอเปิล เวคตร้า รุ่นที่ 3 เริ่มผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2545 ใช้ชื่อว่า Vectra C มีการส่งออกภายใต้แบรนด์เชฟโรเลต โฮลเดนและวอกซ์ฮอลล์ มีตัวถังซีดาน 4 ประตู แฮทช์แบค 5 ประตูและสเตชันวากอน 5 ประตู มีเครื่องยนต์ 1.8 ,1.9 ,2.0 ,2.2 ,2.8 ,3.0 และ 3.2 ลิตร ระบบเกียร์เป็นเกียร์ธรรมดา 5 และ 6 สปีด และเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด นอกจากนี้ ยังมีเกียร์แบบ Easytronic และ CVTronic มีฐานการประกอบที่ประเทศอังกฤษ ,เยอรมนีและอียิปต์ ใช้แพลตฟอร์มร่วมกับโอเปิล ซิกนัม รถแฮทช์แบคขนาดกลางอีกรุ่นหนึ่งของโอเปิล จนเลิกผลิตในปี พ.ศ. 2552 โดยมีโอเปิล อินซิกเนียมาทดแทน ถือเป็นการยุบรถรุ่นเวคตร้าและซิกนัม ซึ่งเป็นรถขนาดกลาง และโอเมก้า ซึ่งเป็นรถขนาดใหญ่เข้าด้วยกัน