ข้ามไปเนื้อหา

แดวู เอสเปอโร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แดวู เอสเปอโร
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตแดวู
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2533 - 2540
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถยนต์นั่งขนาดกลาง (Mid-Size Car)
รูปแบบตัวถังซีดาน 4 ประตู
รุ่นที่คล้ายกันโตโยต้า โคโรน่า/คัมรี่
ฮอนด้า แอคคอร์ด
นิสสัน เซฟิโร่/เทียน่า
มิตซูบิชิ กาแลนต์
มาสด้า 626/6
ซูบารุ เลกาซี
ซูซูกิ คิซาชิ
อีซูซุ อาสก้า
เชฟโรเลต มาลีบู
ฟอร์ด มอนดิโอ/ทอรัส
ฮุนได โซนาต้า
เกีย ออพติมา
เปอโยต์ 508
ซีตรอง C5/DS5
โฟล์กสวาเกน พัสสาท
สโกด้า ซูเพิร์บ
โอเปิล เวคตร้า/อินซิกเนีย
โฮลเดน คอมมอเดอร์
วอลโว่ S60
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้าไม่มี
รุ่นต่อไปแดวู เลกันซา

แดวู เอสเปอโร (อังกฤษ: Daewoo Espero) เป็นรถยนต์นั่งขนาดกลาง (Mid-Size Car) ผลิตโดย แดวู เริ่มผลิตในปี พ.ศ. 2533 และเลิกผลิตในปี พ.ศ. 2540 โดยเป็นรถยนต์นั่งขนาดกลางรุ่นแรกของแดวู มอเตอร์ส ออกแบบโดย Gruppo Bertone ใช้แพลตฟอร์มของ GM ตระกูล GM J platform มีตัวถัง 1 แบบคือซีดาน 4 ประตู ใช้เครื่องยนต์ 1.5 ,1.8 และ 2.0 ลิตร ระบบเกียร์เป็นเกียร์ธรรมดา 5 สปีดและเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด ระยะฐานล้อ 2,620 มม. ความยาว 4,615 มม. ความกว้าง 1,718 มม. ความสูง 1,388 มม. น้ำหนัก 1,108 กก. มีฐานการประกอบอยู่ที่ประเทศเกาหลีใต้ ,อิหร่าน ,โปแลนด์และโรมาเนีย

ในประเทศที่พูดภาษาสเปนยกเว้นชิลี แดวู เอสเปอโรจะถูกเปลี่ยนชื่อไปเป็น แดวู อราโนส เนื่องจากคำว่า Espero แปลว่า ฉันรอ ซึ่งเป็นความหมายที่ไม่ดี หากใช้ชื่อนี้ก็อาจจะทำให้ยอดขายตกต่ำได้

ในประเทศไทย แดวู เอสเปอโร เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2537 เป็นรถนำเข้าทั้งคัน พร้อมกับการเปิดตัวและสื่อสารแบรนด์ Daewoo ในประเทศไทย โดยบริษัท ไทยแดวูมอเตอร์เซลส์ จำกัด (เดิมคือบริษัท เรโนลต์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิต นำเข้าและจัดจำหน่ายรถยนต์เรโนลต์ในประเทศไทยที่ได้ถอนการลงทุนในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2538) เมื่อปี พ.ศ. 2537 โดยนำมาเปิดตัวพร้อมกับรถยนต์ขนาดเล็กรุ่น Fantasy เอสเปอโรเปิดตัวเพื่อแข่งกับรถขนาดกลางจากเกาหลีใต้อีกรุ่นหนึ่ง คือ Hyundai Sonata ในยุคที่รถเกาหลีเริ่มได้รับความนิยมในประเทศไทย ก่อนจะค่อยๆ เลิกนำเข้าและจำหน่ายไปในปี พ.ศ. 2542 เป็นปีเดียวกับที่แดวูตัดสินใจถอนการลงทุนจากประเทศไทยโดยสิ้นเชิง