โอดิสเซียส
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โอดิสเซียส Ὀδυσσεὺς | |
---|---|
รูปปั้นหินอ่อนส่วนศีรษะของโอดิสเซียส จากยุคเฮลเลนิสติก เป็นของโรมันทำขึ้น พบที่วิลล่าของไทบีเรียสในอิตาลี | |
ที่ประทับ | อิธาคา, กรีซ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
คู่ครอง | เพเนโลพี |
บุตร - ธิดา | เทเลมาคัส |
บิดา-มารดา | ลาเออร์ทีส แอนติคลีอา |
เทพที่เทียบเท่าในความเชื่ออื่น | |
เทียบเท่าในโรมัน | ยูลิซีส |
โอดิสเซียส หรือ โอดิสซูส (กรีก: Ὀδυσσεὺς, โอ-ดุส-เซวส์ [odysse͜ús]) นอกจากนี้ยังรู้จักกันในชื่อภาษาละตินว่า ยูลิสซิส (ละติน: Ulysses) เป็นตัวเอกในมหากาพย์เรื่องโอดิสซีย์ของโฮเมอร์ และยังมีบทบาทสำคัญในการสู้รบที่กรุงทรอย ซึ่งถ่ายทอดผ่านมหากาพย์อีเลียดของกวีคนเดียวกันอีกด้วย
โอดิสเซียสเป็นบุตรของลาเออร์ทีส (Laërtes) กับแอนติคลีอา ต่อมาได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ของเมืองอิธาคาสืบต่อจากบิดา โดยมีภรรยาคือเพเนโลพี (Penelope) และมีบุตรคือเทเลมาคัส (Telemachus) โอดิสเซียสมีชื่อเสียงเลื่องลือในด้านสติปัญญา และไหวพริบที่ว่องไว ปรับตัวได้ทุกสถานการณ์ จึงได้รับฉายาเช่น polytropos- "many turns", "ผู้มีรอบมาก" หรือ polymētis - "ผู้มีแผนมาก", ผู้มีปัญญามาก[1] แม้โอดิสเซียสจะมีบทบาทในมหากาพย์หลายเรื่อง โดยเฉพาะวัฏมหากาพย์ที่เกี่ยวกับกรุงทรอย แต่เขาเป็นที่รู้จักมากที่สุดใน nostos หรือ การเดินทางกลับบ้านของตน ที่กินเวลาถึงสิบปีหลังเสร็จสิ้นสงครามเมืองทรอย
พงศาวลี
[แก้]จากงานเขียนของอพอลโลดอรัส (ตัวปลอม) โอดิสเซียสมีปู่ทางสายพ่อเป็น อาร์ซีเซียส (Arcesius) บุตรของเซฟาลัส (Cephalus) และเป็นหลานชายของอีโอลัส (Aeolus) ในขณะที่ตาทางสายแม่ คือ ออโตไลคัส (Autolycus) (wolf-itself หรือ werewolf) ขโมยที่มีชื่อเสียง และเป็นบุตรของเฮอร์มีส[2]เทพแห่งการโจรกรรม กับนางคิโอเน (Chione)
ในเรื่องแต่งสมัยหลังโฮเมอร์บางเรื่อง เช่น ในบทละครของซอโฟคลีส (อะแจ็กซ์ และ ฟิล็อกเตตีส อ้างว่าพ่อที่แท้จริงของโอดิสเซียสคือ ซิซิฟัส กษัตริย์เจ้าอุบายแห่งโครินธ์ แต่ลาเออร์ทีสไปซื้อตัวมาเลี้ยงเป็นบุตร
ก่อนสงครามกรุงทรอย
[แก้]- ↑ "μῆτις - Liddell and Scott's Greek-English Lexicon". Perseus Project. สืบค้นเมื่อ April 18, 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Apollodorus, Bibliotheca Library 1.9.16