แผ่นโอค็อตสค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผ่นโอค็อตสค์
แผ่นโอค็อตสค์
ประเภทแผ่นรอง
การเคลื่อนตัว1ทิศตะวันตก-ทิศใต้
อัตราเร็ว113-14 มม./ปี
ลักษณะภูมิศาสตร์คาบสมุทรคัมชัตคา, เกาะซาฮาลิน, ทะเลโอค็อตสค์, เกาะฮกไกโด และบางส่วนของเกาะฮนชู
1โดยเทียบกับแผ่นแอฟริกา

แผ่นโอค็อตสค์ (อังกฤษ: Okhotsk Plate) เป็นแผ่นธรณีแปรสัณฐานขนาดเล็ก ครอบคลุมทะเลโอค็อตสค์ คาบสมุทรคัมชัตคา เกาะซาฮาลิน โทโฮกุ และฮกไกโดในประเทศญี่ปุ่น แต่เดิมถูกพิจารณาเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นอเมริกาเหนือ แต่จากการศึกษาในปัจจุบันชี้ให้เห็นว่าแผ่นโอค็อตสค์เป็นอิสระจากแผ่นอเมริกาเหนือ โดยถูกล้อมรอบทางเหนือด้วยแผ่นอเมริกาเหนือ[1][2] โดยขอบเขตเป็นการเคลื่อนตัวไปทางซ้ายข้างของรอยเลื่อนแปรสภาพขนาดใหญ่ คือ รอยเลื่อนอูลาคัน[3] ทางตะวันออกติดกับแผ่นแปซิฟิกที่ร่องลึกก้นสมุทรคูริล–คัมชัตคาและร่องลึกบาดาลญี่ปุ่น ทางใต้ติดกับแผ่นทะเลฟิลิปปินที่ร่องลึกนันไก ทางตะวันตกติดกับแผ่นยูเรเซีย และเป็นไปได้ว่าทางตะวันตกเฉียงใต้จะติดกับแผ่นอามูร์ด้วย[4]

ธรณีวิทยา[แก้]

ขอบเขตระหว่างแผ่นโอค็อตสต์กับแผ่นอามูร์นั้นอาจมึส่วนรับผิดชอบต่อแผ่นดินไหวรุนแรงหลายครั้งที่เกิดขึ้นในทะเลญี่ปุ่น รวมไปถึงที่เกาะซาฮาลินด้วย เช่น แผ่นดินไหวขนาด 7.1 MW (7.5 MS ตามข้อมูลจากแหล่งอื่น) ในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ทางตอนเหนือของเกาะซาฮาลิน[5][6][7] และยังมีแผ่นดินไหวภายในแผ่นเปลือกโลกที่เป็นที่รู้จักอีกหลายครั้ง เช่น แผ่นดินไหวในทะเลญี่ปุ่น พ.ศ. 2526 และแผ่นดินไหวที่ฮกไกโด พ.ศ. 2536 ซึ่งกระตุ้นให้เกิดสึนามิในทะเลญี่ปุ่น

ขอบเขตระหว่างแผ่นโอค็อตสค์กับแผ่นแปซิฟิกนั้นคือเขตมุดตัว ซึ่งแผ่นแปซิฟิกนั้นมุดตัวลงใต้แผ่นโอค็อตสค์ แผ่นดินไหวเมกะทรัสต์รุนแรงหลายครั้งเกิดขึ้นที่นี่ บางครั้งเป็นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วย แผ่นดินไหวที่คัมชัตคา พ.ศ. 2280 (ประมาณขนาด 9.0-9.3) และ พ.ศ. 2495 (ขนาด 9.0) บางแผ่นดินไหวเมกะทรัสต์ยังเกิดขึ้นใกล้กับหมู่เกาะคูริลด้วย[8][9] ที่ฮกไกโดแผ่นดินไหวขนาด 8.3 ในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2546[10][11] และแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554 ขนาด 9.0 บริเวณชายฝั่งเกาะฮนชู[12]

การวัดด้วยจีพีเอสและการศึกษาอื่นแสดงให้เห็นว่า แผ่นโอค็อสตค์นั้นหมุนตามเข็มนาฬิกาอย่างช้า ๆ แบบจำลองชี้ว่าการหมุนนั้นมีอัตรา 0.2 องศา/ล้านปี[13]

อ้างอิง[แก้]

  1. Seno et al., 1996 Journal of Geophysical Research; https://agupubs.onlinelibrary.wiley.com/doi/full/10.1029/96JB00532[ลิงก์เสีย]
  2. Apel et al., 2006 Geophysical Research Letters; http://onlinelibrary.wiley.com/wol1/doi/10.1029/2006GL026077/full
  3. Mackey, Kevin; Lindauer, Susanne; Sedov, Boris; Hindle, David (2019-04-25). "The Ulakhan fault surface rupture and the seismicity of the Okhotsk–North America plate boundary". Solid Earth (ภาษาอังกฤษ). 10 (2): 561–580. doi:10.5194/se-10-561-2019. ISSN 1869-9510.
  4. http://www.stephan-mueller-spec-publ-ser.net/4/147/2009/smsps-4-147-2009.pdf
  5. Tamura, Makoto; และคณะ (2002). "The ShalIow Seismicity in the Southern Part of Sakhalin" (PDF). Geophysical Bulletin of Hokkaido University. 65: 127–142.
  6. "Earthquake Information for 1995". USGS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-18. สืบค้นเมื่อ 2019-09-17.
  7. Arefiev, S. S.; และคณะ (2006). "Deep structure and tomographic imaging of strong earthquake source zones". Izvestiya Physics of the Solid Earth. 42 (10): 850–863. Bibcode:2006IzPSE..42..850A. doi:10.1134/S1069351306100090.
  8. Matsumoto, Hiroyuki; Kawaguchi, Katsuyoshi; Asakawa, Kenichi (2007). "Offshore Tsunami Observation by the Kuril Islands Earthquake of 15 November 2006". IEEE Xplore Abstract – Offshore Tsunami Observation by the Kuril Islands Earthquake of 15 November 2006. Ieeexplore.ieee.org. pp. 482–487. doi:10.1109/UT.2007.370767. ISBN 978-1-4244-1207-5. สืบค้นเมื่อ 2016-01-01.
  9. "Magnitude 8.3 – KURIL ISLANDS". Earthquake.usgs.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-13. สืบค้นเมื่อ 2016-01-01.
  10. Watanabe, Tomoki; และคณะ (2006). "Seismological monitoring on the 2003 Tokachi-oki earthquake, derived from off Kushiro permanent cabled OBSs and land-based observations". Tectonophysics. 426 (1–2): 107–118. Bibcode:2006Tectp.426..107W. doi:10.1016/j.tecto.2006.02.016.
  11. "Magnitude 8.3 – HOKKAIDO, JAPAN REGION". Earthquake.usgs.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-16. สืบค้นเมื่อ 2016-01-01.
  12. Zhao, Dapeng; Liu, Xin (2018-06-01). "Upper and lower plate controls on the great 2011 Tohoku-oki earthquake". Science Advances (ภาษาอังกฤษ). 4 (6): eaat4396. doi:10.1126/sciadv.aat4396. ISSN 2375-2548.
  13. Apel et al., 2006; http://onlinelibrary.wiley.com/wol1/doi/10.1029/2006GL026077/full

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]