ข้ามไปเนื้อหา

ฟูกูชิมะ 50

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฟูกูชิมะ 50 เป็นชื่อที่สื่อตั้งให้แก่กลุ่มของลูกจ้างของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง ซึ่งยังคงทำงานต่อไปหลังจากเกิดเพลิงไหม้ขึ้นในเครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 4 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งส่งผลให้มีการอพยพพนักงาน 750 คน จากทั้งหมด 800 คน[1][2]

ต่อมา กลุ่มฟูกูชิมะ 50 ได้รับการสมทบโดยคนงานเพิ่มเติมในหลายวันต่อมา แต่ชื่อ "ฟูกูชิมะ 50" ยังคงถูกใช้โดยสื่อเพื่อหมายถึงกลุ่มคนงานที่ทำงานอยู่ที่ฟูกูชิมะ จำนวนคนงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มสูงขึ้นเป็น 580 คนในตอนเช้าของวันที่ 18 มีนาคม[1] โดยมีเจ้าหน้าที่จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์คาชิวาซากิ-คาริวะ และคนงานซึ่งติตตั้งสายไฟฟ้าเข้ามาร่วมด้วย เมื่อวันที่ 23 มีนาคม จำนวนของคนงาน พนักงานดับเพลิง และทหารที่ยังคงทำงานอยู่ที่โรงไฟฟ้าดังกล่าวเพิ่มคนเป็นมากกว่า 1,000 คน[3] [4] ฟูกูชิมะ 50 เป็นกลุ่มที่ถูกนำตัวมาจากโตชิบา ฮิตาชิ บริษัทท้องถิ่นขนาดเล็กถึงปานกลางในฟูกูชิมะ คาจิมะ คันเด็นโกะ[5] พนักงานดับเพลิงจากโตเกียว โอซากะ[6] โยโกฮามะ[7] คาวาซากิ และนาโงยะ ตลอดจนบริษัทผลิตไฟฟ้าโตเกียวและบริษัทลูก[2]

มีคนงานมากกว่า 20 คนได้รับบาดเจ็บจนถึงวันที่ 18 มีนาคม รวมไปถึงคนงานที่ได้รับกัมมันตภาพรังสีเมื่อคนงานพยายามที่จะระบายไอน้ำจากวาล์วของอาคารคลุมเตาปฏิกรณ์[1] ส่วนคนงานอีก 3 คนได้รับปริมาณรังสีสูงกว่า 100 มิลลิซีเวิร์ต 2 คนในจำนวนนี้ถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลเนื่องจากรังสีบีตาทำให้ผิวไหม้เมื่อวันที่ 24 มีนาคม[8]

คนงานและอาสาสมัครถูกจัดให้ทำภารกิจเพื่อรักษาเครื่องปฏิกรณ์ให้เสถียร กิจกรรมของพวกเขารวมไปถึงการประเมินความเสียหายและระดับกัมมันตรังสีซึ่งเกิดจากแรงระเบิด การทำให้เครื่องปฏิกรณ์ที่ติดขัดมีอุณหภูมิเย็นลงด้วยน้ำทะเลและป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดเพลิงไหม้ คนงานเหล่านี้ยังคงทำงานอยู่ในพื้นที่แม้ว่าจะมีความเสี่ยงจากการถูกพิษกัมมันตรังสี[9] ระดับของกัมมันตรังสีในพื้นที่สูงกว่าในพื้นที่กีดกัน 20 กิโลเมตร และสื่อได้รายงานว่าความร้ายแรงของเหตุการณ์นี้อาจเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพในอนาคตของพวกเขา รวมทั้งผลกระทบที่อาจถึงตายของคนงานเหล่านี้[10] เมื่อวันที่ 18 มีนาคม นายกรัฐมนตรี นาโอโตะ คัง กล่าวว่าคนงานเหล่านี้ "พร้อมที่จะตาย"[11]

สภาพกัมมันตรังสี

[แก้]

ขีดจำกัดของปริมาณรังสีของผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับนิวเคลียร์ระหว่างประเทศอยู่ที่ 20 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี โดยเฉลี่ยมากกว่าห้าปี โดยมีขีดจำกัดอยู่ที่ 50 มิลลิซีเวิร์ตในปีใดปีหนึ่ง อย่างไรก็ตาม สำหรับคนงานซึ่งกำลังปฏิบัติหน้าที่ฉุกเฉินตามแนวปฏิบัติของสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ (EPA) นั้นมีขีดจำกัดอยู่ที่ 100 มิลลิซีเวิร์ตเมื่อ "กำลังปกป้องทรัพย์สินที่มีค่า" และ 250 มิลลิซีเวิร์ตเมื่อกิจกรรมนั้นเกี่ยวข้องกับ "การช่วยชีวิตหรือการปกป้องประชากรขนาดใหญ่"[12]

ก่อนหน้าที่จะเกิดอุบัติเหตุ ปริมาณจำกัดที่ได้รับอนุญาตสำหรับคนงานนิวเคลียร์ญี่ปุ่นอยู่ที่ 100 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี แต่หลังจากวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554 กระทรวงสาธารณสุขและแรงงานญี่ปุ่นได้อนุญาตขีดจำกัดที่ 250 มิลลิซีเวิร์ต จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง[13][14]

ตามข้อมูลของเดอะการ์เดียน คนงานฟูกูชิมะจำเป็นจะต้องระมัดระวังเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นเฉียบพลันของกัมมันตรังสี ซึ่งไม่สามารถคาดการณ์ได้[15] อันตรายนี้ทำให้ต้องมีการอพยพคนงานเป็นการชั่วคราวเมื่อเช้าวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554 เมื่อปริมาณกัมมันตรังสีซึ่งตรวจวัดได้ที่ฟุกุชิมะเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 1000 มิลลิซีเวิร์ต/ชั่วโมง[16] ซึ่งเป็นกัมมันตรังสีระดับสูงสุดที่ตรวจวัดได้หลังจากที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น

คนงานสวมชุดและหน้ากากป้องกันสารเคมี ถือเครื่องวัดสารกัมมันตรังสีซึ่งจะเตือนที่ 80 มิลลิซีเวิร์ต คนงานแต่ละคนจะต้องหยุดทำงานเมื่อเครื่องวัดดังกล่าวเตือน[17] ตามข้อมูลของบริษัทผลิตไฟฟ้าโตเกียว มีคนงาน 7 คนที่ได้รับปริมาณรังสีเกินขีดจำกัด 100 มิลลิซีเวิร์ตในช่วงเช้าของวันที่ 20 มีนาคม ซึ่งทั้งหมดเป็นคนงานของบริษัทผลิตไฟฟ้าโตเกียว[18]

การระเบิด

[แก้]

กลุ่มคนงานฟูกูชิมะ 50 ปรากฏตัวขึ้นเมื่อเกิดระเบิดและเพลิงไหม้ที่เครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 4[19] มีข้อสงสัยเกิดขึ้นเกี่ยวกับขอบเขตกัมมันตรังสีที่ถูกปลดปล่อยออกมาในเหตุการณ์ดังกล่าว โดยที่รัฐบาลญี่ปุ่นค่อนข้างที่จะปิดปากเงียบเกี่ยวกับสถานการณ์ เนื่องจากเกรงว่าอาจจะก่อให้เกิดความตกใจกลัว ขณะที่บางคนเสนอว่ารัฐบาลอาจไม่เปิดเผยความจริงทั้งหมด[20]

จำนวนคนงานที่แท้จริง

[แก้]

แต่เดิมมีคนงานอย่างน้อย 800 คนเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งเป็นวันที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม คนงานที่ถูกมองว่าไม่สำคัญถูกอพยพออกจากพื้นที่โดยบริษัทผลิตไฟฟ้าโตเกียว รวม 750 คน เนื่องจากความเสี่ยงที่มีมากขึ้น และเหลือคนงานอยู่ประมาณ 50 คน ในวันนี้เอง สื่อได้เริ่มเรียกคนงานที่เหลือนี้ว่า "ฟูกูชิมะ 50"

อย่างไรก็ตาม เช้าของวันที่ 16 มีนาคม คนงานที่เหลือจำเป็นต้องอพยพชั่วคราวเนื่องจากการเพิ่มขึ้นเฉียบพลันของกัมมันตรังสีซึ่งสามารถตรวจวัดได้ว่าอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงาน มีการรายงานว่าเมื่อพวกเขากลับเข้าทำงานยังเครื่องปฏิกรณ์ มีคนงานอีก 130 คนเข้าร่วมด้วย รวมเป็น 180 คน เพื่อรักษาเครื่องปฏิกรณ์ให้เสถียร[21] จำนวนคนงานเพิ่มขึ้นเป็น 580 คนในช่วงเช้าของวันที่ 18 มีนาคม[1]

ในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554 โตชิบาได้ส่งเจ้าหน้าที่ 700 คนไปยังเครื่องปฏิกรณ์สองเครื่องเพื่อขจัดวิกฤตการณ์นิวเคลียร์ และฮิตาชิได้ส่งเจ้าหน้าที่ 120 คนมายังฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่งและก่อตั้งเป็นคณะทำงานเฉพาะกิจจำนวน 1000 คน[22]

นักวิจัยนิวเคลียร์ ดร.อีริก ฮอลล์ แสดงความคิดเห็นว่าคนงานเหล่านี้ดูเหมือนว่าจะเป็นคนงานสูงอายุ และคาดว่าไม่น่าจะมีบุตรอีกในอนาคต ดังนั้นผลกระทบระยะยาวของการได้รับกัมมันตภาพรังสีในระดับสูงจึงมีโอกาสที่จะปรากฏน้อยกว่าการเสียชีวิตตามธรรมชาติ[23][24] อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวหลายสำนักบ่งชี้ว่ามีคนงานอายุน้อยจำนวนมากยังทำงานอยู่ในพื้นที่ อย่างเช่น คนงานที่ได้รับบาดเจ็บซึ่งมีอายุอยู่ในวัย 20-30[5] และพนักงานดับเพลิงที่เข้าไปในหน่วยผลิตกระแสไฟฟ้าก็มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับลูกของหัวหน้าของพวกเขา[6]

การบาดเจ็บ

[แก้]

มีคนงานมากกว่า 20 คนได้รับบาดเจ็บจนถึงวันที่ 18 มีนาคม[1] คนงาน 3 คนได้รับปริมาณรังสีเข้าไปในปริมาณมาก และอีก 2 คนถูกเร่งนำตัวส่งโรงพยาบาลหลังได้รับปริมาณรังสีสูงถึง 180 มิลลิซีเวิร์ต ซึ่งน้อยกว่าปริมาณสูงสุด 250 มิลลิซีเวิร์ตที่รัฐบาลกำหนดไว้สำหรับคนงานที่ทำงานอยู่ที่นั่น[8] คนงานทั้งสองคน ซึ่งคนหนึ่งอยู่ในวัยยี่สิบ และอีกคนหนึ่งอยู่ในวัยสามสิบ เป็นคนงานประจำของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่สอง[5] ส่วนอีกคนหนึ่งเป็นคนงานจากบริษัทว่าจ้างของคันเด็นโกะ[25]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 「英雄フクシマ50」欧米メディア、原発の作業員ら称賛 ["Fukushima 50" western press praise workers at nuclear plant]. Asahi Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). JP. 18 March 2011.
  2. 2.0 2.1 福島第1原発:英雄でも何でもない…交代で懸命の復旧作業 [Fukushima I Nuclear Plant: "Not a hero...." rotating desperate work for recovering the plant]. Mainichi Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). JP. 21 มีนาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 มกราคม 2013. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2011.
  3. "Tokyo tap water 'radioactive'". The Sun. UK. 24 March 2011. สืบค้นเมื่อ 25 March 2011.
  4. Alford, Peter (24 March 2011). "Nameless samurai are `heroes of our modern world'". The Australian. AUS. สืบค้นเมื่อ 25 March 2011.
  5. 5.0 5.1 5.2 東日本大震災:福島第1原発事故 業界挙げ収束躍起 原子炉メーカー、作業員続々派遣 [East Japan Great Earthquake: Fukushima I N-plant accident: Whole nuclear industry commit to repair. Nuclear reactor maker dispatching its workers one after another]. Mainichi Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). JP. 25 มีนาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2013. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2011.
  6. 6.0 6.1 「特攻隊…」ヨウ素飲ませ覚悟の命令 放水支援の大阪市消防局 [Osaka Fire Department firefighter]. Sankei Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). JP. 25 มีนาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กันยายน 2011.
  7. 67人10台を派遣 福島第1原発に横浜市消防局 [Dispatched 67 people 10 Fire apparatus to Fukushima I N-plant: Yokohama Fire Department]. Sankei Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). JP. 21 มีนาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 มีนาคม 2012.
  8. 8.0 8.1 "Japan nuclear workers exposed to radioactive elements". Belfasttelegraph. 25 March 2011. สืบค้นเมื่อ 25 March 2011.
  9. Branigan, Tania; McCurry, Justin (15 March 2011). "Fukushima 50 battle radiation risks as Japan nuclear crisis deepens". The Guardian. UK.
  10. "BBC News - Japan hails the heroic 'Fukushima 50'". BBC News. 17 March 2011. สืบค้นเมื่อ 17 March 2011.
  11. "More volunteers 'prepared for death' at Fukushima". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-24. สืบค้นเมื่อ 2011-03-25.
  12. Table 2-2 EPA
  13. Bradsher, Keith; Tabuchi, Hiroko (16 March 2011), "Last Defense at Troubled Reactors: 50 Japanese Workers", Asia, The New York Times
  14. Gov't ups permissible radiation level, JP: NHK, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 มีนาคม 2011
  15. McCurry, Justin (16 March 2011). "Radiation spike forces evacuations at Fukushima nuclear power station". Guardian. สืบค้นเมื่อ 18 March 2011.
  16. "Radiation spike hinders work at Japan nuke plant". CBS News. 15 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-20. สืบค้นเมื่อ 18 March 2011.
  17. "復旧へ命がけ…「フクシマ50」に援軍" [Threatening lives for recovery.... Reinforcements sent to "Fukushima 50"]. Sponichi Annex (ภาษาญี่ปุ่น). JP. 20 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-23. สืบค้นเมื่อ 2011-03-27.
  18. "上限100ミリシーベルト超被曝の東電作業員1人増え、計7人に" [one more TEPCO worker added, now seven workers exposed to radiation over 100 millisievert.]. Sankei Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). JP. 20 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-23. สืบค้นเมื่อ 2011-03-27.
  19. "Fukushima 50 Stay Behind to Prevent Nuclear Meltdown". Fox News. สืบค้นเมื่อ 16 March 2011.
  20. "Lack of information frustrates Japanese public". CBS News. 16 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-20. สืบค้นเมื่อ 17 March 2011.
  21. Winerman, Lea. "The 'Fukushima 50': Nuclear Workers Stay Behind to Brave Plant's Woes". PBS NewsHour. สืบค้นเมื่อ 16 March 2011.
  22. "Toshiba, Hitachi send engineers to stricken nuclear plant". Reuters. 22 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-25. สืบค้นเมื่อ 2011-03-27.
  23. KATRANDJIAN, Olivia; Cho, Joohee; Chang, Juju (16 March 2011). "Japan's Fukushima 50: Heroes Who Volunteered to Stay Behind at Japan's Crippled Nuclear Plants". ABC News. สืบค้นเมื่อ 19 March 2011.
  24. KATRANDJIAN, OLIVIA (16 March 2011). "Japan's Fukushima 50: Heroes Who Volunteered to Stay Behind at Japan's Crippled Nuclear Plants". ABC News. สืบค้นเมื่อ 17 March 2011.
  25. 被曝の関電工社員は20代と30代「こんな量を…」戸惑う担当者 [Exposed Kandenko workers 20s and 30s, "We haven't experienced this much radiator...", confused manager] (ภาษาญี่ปุ่น). JP. 25 มีนาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2011.