โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง | |
---|---|
ภาพถ่ายเมื่อปี 2007 ก่อนเกิดแผ่นดินไหวในปี 2011 | |
ประเทศ | ประเทศญี่ปุ่น |
ที่ตั้ง | โอกูมะ จังหวัดฟูกูชิมะ |
พิกัด | 37°25′23″N 141°01′59″E / 37.42306°N 141.03306°E |
สถานะ | Being decommissioned |
เริ่มสร้าง | 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1967 |
เริ่มโครงการ | 26 มีนาคม ค.ศ. 1971 |
ปลดระวาง | 31 มกราคม ค.ศ. 2014 |
ผู้ดำเนินการ | บริษัทพลังงานไฟฟ้าโตเกียว (เทปโก้) |
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ | |
ประเภทเครื่องปฏิกรณ์ | BWR |
Reactor supplier | เจเนอรัลอิเล็กทริก โทชิบา ฮิตาชิ |
ความสามารถในการผลิตไฟฟ้า | |
Units cancelled | 2 × 1,380 MW |
Units decommissioned | 1 × 460 MW (หน่วยที่ 1) 4 × 784 MW (หน่วยที่ 2, 3, 4 และ 5) 1 × 1,100 MW (หน่วยที่ 6) |
กำลังการผลิตติดตั้งรวม | 5,306 MW (1979–2011) |
แหล่งข้อมูลอื่น | |
เว็บไซต์ | www |
คอมมอนส์ | มีสื่อที่เกี่ยวข้องอยู่ที่คอมมอนส์ |
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง (อังกฤษ: Fukushima Nuclear Power Plant; ญี่ปุ่น: 福島第一原子力発電所; โรมาจิ: Fukushima Dai-Ichi Genshiryoku Hatsudensho) เป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองโอกูมะ อำเภอฟูตาบะ จังหวัดฟูกูชิมะ ประเทศญี่ปุ่น โดยมีเครื่องปฏิกรณ์สำหรับผลิตไฟฟ้าหกหน่วย รวมกำลัง 4.7 กิกะวัตต์ โรงไฟฟ้าแห่งนี้เป็นหนึ่งใน 15 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกซึ่งได้รับการก่อสร้างและบริหารจัดการทั้งหมดโดยบริษัทพลังงานไฟฟ้าโตเกียว (TEPCO)
เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 จากเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิถล่มเซ็นได รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศ "ภาวะฉุกเฉินพลังงานนิวเคลียร์" และอพยพผู้อยู่อาศัยในรัศมี 20 กิโลเมตรออกจากพื้นที่ เจ้าหน้าที่คณะกรรมการความปลอดภัยนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นออกมาระบุว่าทางการกังวลว่าอาจมีความเป็นไปได้ที่แท่งเชื้อเพลิงในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์อาจหลอมละลาย[1]
เครื่องปฏิกรณ์
[แก้]เครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 1 2 และ 6 ผลิตโดยเจเนอรัลอิเล็กทริก หน่วยที่ 3 และ 5 ผลิตโดยโตชิบา และหน่วยที่ 4 ผลิตโดยฮิตาชิ เครื่องปฏิกรณ์ทั้งหกหน่วยออกแบบโดย General Electric[2] เครื่องปฏิกรณ์ของ General Electric ออกแบบสถาปัตยกรรมโดย Ebasco และการก่อสร้างทั้งหมดดำเนินการโดย Kajima.[3] ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2553 เครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่สามได้เปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิง mixed-oxide (MOX) แทนที่ low enriched uranium (LEU) ที่เคยใช้อยู่เดิมในเครื่องปฏิกรณ์ทั้งหมดในโรงไฟฟ้าแห่งนี้[4][5] เครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 1–5 เป็นแบบ Mark I type (light bulb torus) containment structures ส่วนหน่วยที่ 6 เป็นแบบ Mark II type (over/under) containment structure[6][7][8]
เครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 1 เป็นเครื่อง boiling water reactor (BWR-3) ขนาด 460 เมกะวัตต์ สร้างในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2510 และเริ่มใช้งานผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2514 และเดิมมีกำหนดปิดในต้นปี พ.ศ. 2554[9] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 หน่วยงานกำกับดูแลโรงไฟฟ้าของรัฐบาลญี่ปุ่นได้อนุญาตให้ขยายเวลาการใช้งานเครื่องปฏิกรณ์หน่วยนี้ออกไปอีก 10 ปี[10]
หน่วยปฏิกรณ์ | ชนิด[11] | เริ่มก่อสร้าง[12] | ถึงจุดวิกฤตครั้งแรก[12] | ใช้งานเชิงพาณิชย์[12] | กำลังไฟฟ้า[12] | ผู้ผลิตเครื่องปฏิกรณ์[11] | สถาปัตยกรรม[3] | ก่อสร้าง[3] | เชื้องเพลิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง – 1 | BWR-3 | July 25, 1967 | October 10, 1970 | March 26, 1971 | 460 MW | General Electric | Ebasco | Kajima | LEU |
ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง – 2 | BWR-4 | June 9, 1969 | May 10, 1973 | July 18, 1974 | 784 MW | General Electric | Ebasco | Kajima | LEU |
ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง – 3 | BWR-4 | December 28, 1970 | September 6, 1974 | March 27, 1976 | 784 MW | Toshiba | Toshiba | Kajima | MOX[4] |
ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง – 4 | BWR-4 | February 12, 1973 | January 28, 1978 | October 12, 1978 | 784 MW | Hitachi | Hitachi | Kajima | |
ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง – 5 | BWR-4 | May 22, 1972 | August 26, 1977 | April 18, 1978 | 784 MW | Toshiba | Toshiba | Kajima | |
ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง – 6 | BWR-5 | October 26, 1973 | March 9, 1979 | October 24, 1979 | 1,100 MW | General Electric | Ebasco | Kajima | |
ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง – 7 (โครงการ)[13] | ABWR | April 2012 | October 2016 | 1,380 MW | |||||
ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง – 8 (โครงการ)[13] | ABWR | April 2012 | October 2017 | 1,380 MW |
ปี | หน่วยที่ 1 | หน่วยที่ 2 | หน่วยที่ 3 | หน่วยที่ 4 | หน่วยที่ 5 | หน่วยที่ 6 |
---|---|---|---|---|---|---|
1970 | 60.482 | |||||
1971 | 2024.3 | |||||
1972 | 2589.1 | |||||
1973 | 2216.8 | 5.949 | ||||
1974 | 1629.7 | 3670.1 | 284.7 | |||
1975 | 0 | 622.1 | 2961.8 | |||
1976 | 1563.9 | 4191.4 | 4807.1 | |||
1977 | 0 | 49.7 | 2171.1 | 875.1 | ||
1978 | 1497.6 | 3876.3 | 2753.7 | 3163.2 | 4806.7 | |
1979 | 2504.4 | 2976 | 4916.3 | 3917.4 | 3898.6 | 3235.6 |
1980 | 1249.5 | 2889 | 4287 | 4317 | 4282.6 | 6441.1 |
1981 | 1084.8 | 3841.8 | 3722.8 | 4667.5 | 4553.9 | 7418.6 |
1982 | 2355 | 5290.2 | 2886.8 | 5734.7 | 4061.3 | 6666.5 |
1983 | 3019.5 | 3422.7 | 4034 | 4818.2 | 5338.8 | 5387.8 |
1984 | 2669.761 | 3698.718 | 4497.326 | 4433.166 | 4691.482 | 5933.242 |
1985 | 1699.287 | 4266.285 | 5798.641 | 4409.031 | 4112.429 | 5384.802 |
1986 | 2524.683 | 5541.101 | 4234.196 | 4315.241 | 4157.361 | 7783.537 |
1987 | 3308.888 | 3851.078 | 3748.839 | 5964.048 | 3995.012 | 7789.201 |
1988 | 2794.464 | 4101.251 | 5122.991 | 5309.892 | 5952.712 | 5593.058 |
1989 | 1440.778 | 6516.393 | 5706.694 | 4232.648 | 4766.535 | 5128.362 |
1990 | 2352.405 | 3122.761 | 2919.548 | 4273.767 | 3956.549 | 7727.073 |
1991 | 1279.986 | 3853.054 | 4491.022 | 6483.384 | 6575.818 | 6948.662 |
1992 | 1794.061 | 4568.531 | 6098.742 | 4082.747 | 4841.234 | 5213.607 |
1993 | 2500.668 | 4186.704 | 4204.301 | 4206.577 | 4059.685 | 6530.932 |
1994 | 3337.532 | 2265.961 | 4202.304 | 6323.277 | 4246.206 | 8079.391 |
1995 | 3030.829 | 6396.469 | 5966.533 | 5485.662 | 5878.681 | 6850.839 |
1996 | 2298.589 | 5192.318 | 4909.655 | 4949.891 | 5666.866 | 6157.765 |
1997 | 3258.913 | 4618.869 | 2516.651 | 4556.81 | 4609.382 | 9307.735 |
1998 | 3287.231 | 3976.16 | 2632.682 | 5441.398 | 5369.912 | 6328.985 |
1999 | 2556.93 | 3158.382 | 5116.09 | 5890.548 | 6154.135 | 7960.491 |
2000 | 3706.281 | 5167.247 | 5932.485 | 4415.901 | 1647.027 | 7495.577 |
2001 | 487.504 | 5996.521 | 5637.317 | 5858.452 | 5905.13 | 7778.874 |
2002 | 3120.2 | 5101.018 | 3567.314 | 4687.718 | 6590.488 | 6270.918 |
2003 | 0 | 1601.108 | 2483.557 | 0 | 2723.76 | 4623.905 |
2004 | 0 | 3671.49 | 3969.674 | 4728.987 | 5471.325 | 1088.787 |
2005 | 851.328 | 3424.939 | 5103.85 | 1515.596 | 2792.561 | 7986.451 |
2006 | 3714.606 | 3219.494 | 4081.932 | 4811.409 | 4656.9 | 5321.767 |
2007 | 610.761 | 5879.862 | 4312.845 | 5050.607 | 5389.565 | 6833.522 |
2008 | 3036.562 | 5289.599 | 6668.839 | 4410.285 | 3930.677 | 8424.526 |
2009 | 2637.414 | 4903.293 | 4037.601 | 5462.108 | 5720.079 | 7130.99 |
2010 | 2089.015 | 6040.782 |
อุบัติเหตุนิวเคลียร์ พ.ศ. 2554
[แก้]เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 เกิดแผ่นดินไหวซึ่งวัดความรุนแรงได้ 9.0 แมกนิจูด เมื่อเวลาราว 14.46 น. ตามเวลามาตรฐานญี่ปุ่น นอกชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น เครื่องปฏิกรณ์ที่ 4, 5 และ 6 ถูกปิดตัวลงก่อนหน้าที่จะเกิดแผ่นดินไหวเพื่อการบำรุงรักษาตามกำหนด[14][15] ส่วนเครื่องปฏิกรณ์ที่เหลือถูกปิดลงอัตโนมัติหลังจากเกิดแผ่นดินไหว แต่คลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นตามมาได้เข้าท่วมโรงไฟฟ้า ทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉินซึ่งใช้สำหรับทำงานปั๊มทำความเย็นและควบคุมเตาปฏิกรณ์ ความเสียหายจากอุทกภัยและแผ่นดินไหวทำให้ความช่วยเหลือจากที่อื่นไม่สามารถเข้ามาถึงได้ อีกหลายวันต่อมามีหลักฐานว่าแกนปฏิกรณ์บางส่วนหลอมละลายในเครื่องปฏิกรณ์ที่ 1, 2 และ 3 การระเบิดของไฮโดรเจนทำลายวัสดุใช้หุ้มส่วนบนของอาคารซึ่งเป็นที่ตั้งของเครื่องปฏิกรณ์ที่ 1 และ 3 แรงระเบิดได้ทำลายอาคารคลุมเตาปฏิกรณ์ที่ 2 และเกิดเพลิงไหม้อย่างรุนแรงที่เครื่องปฏิกรณ์ที่ 4
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Explosion at Japanese nuclear plant raises fears". Usatoday.Com. สืบค้นเมื่อ 2011-03-12.
- ↑ Dedman, Bill (March 13, 2011). "General Electric-designed reactors in Fukushima have 23 sisters in U.S". MSNBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 20, 2012. สืบค้นเมื่อ March 14, 2011.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Nuclear Reactor Maps: Fukushima-Daiichi". Council for Security Cooperation in the Asia Pacific. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-23. สืบค้นเมื่อ 14 March 2011.
- ↑ 4.0 4.1 "Fukushima to Restart Using MOX Fuel for First Time". Nuclear Street. 2010-09-17. สืบค้นเมื่อ March 12, 2011.
- ↑ "Third Japanese reactor to load MOX". World Nuclear News. 2010-08-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-17. สืบค้นเมื่อ March 12, 2011.
- ↑ Brady, A. Gerald (1980). Ellingwood, Bruce (บ.ก.). An Investigation of the Miyagi-ken-oki, Japan, earthquake of June 12, 1978. NBS special publication. Vol. 592. United States Department of Commerce, National Bureau of Standards. p. 123.
- ↑ "Fact Sheet on Fukushima Nuclear Power Plant" (PDF). Nuclear Information and Resource Service. 13 March 2011. สืบค้นเมื่อ 13 March 2011.
- ↑ Sandia National Laboratories (July 2006). "Containment Integrity Research at Sandia National Laboratories - An Overview" (PDF). U.S. Nuclear Regulatory Commission. NUREG/CR-6906, SAND2006-2274P. สืบค้นเมื่อ 13 March 2011.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "Fukushima Daiichi Information Screen". Icjt.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-15. สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.
- ↑ Yamaguchi, Mari; Donn, Jeff (March 12, 2011). "Japan quake causes emergencies at 5 nuke reactors". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-17. สืบค้นเมื่อ March 12, 2011.
- ↑ 11.0 11.1 "Reactors in operation". IAEA. 31 December 2009. สืบค้นเมื่อ March 12, 2011.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 "Japan: Nuclear Power Reactors". Power Reactor Information System - PRIS. IAEA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-28. สืบค้นเมื่อ 14 March 2011.
- ↑ 13.0 13.1 "Nuclear Power in Japan". World Nuclear Association. 2011-02-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-20. สืบค้นเมื่อ March 12, 2011.
- ↑ Black, Richard. "Reactor breach worsens prospects". BBC News. สืบค้นเมื่อ March 17, 2011.
- ↑ Biela Liwag. "Government Scientists on Japan Nuke Meltdown "No need to worry"". Noypi.ph. สืบค้นเมื่อ March 14, 2011.