โยสท์ กิพเพิร์ท
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
โยสท์ กิพเพิร์ท (เยอรมัน: Jost Gippert, ออกเสียง: [ˈjoːst gɪpʰɐt]; เกิดวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1956 ที่วินซ-นีเดอร์เวนิเกิร์น ขณะนี้คือเมือง ฮัททิงเงิน ประเทศเยอรมนี) เป็นนักภาษาศาสตร์ชาวเยอรมัน นักวิชาการภาษาคอเคซัส และศาสตราจารย์วิชาภาษาศาสตร์เปรียบเทียบของคณะภาษาศาสตร์เชิงประสบการณ์ (อังกฤษ: Empirical Linguistics) มหาวิทยาลัย เกอเธ่ แฟรงก์เฟิร์ต/ไมน์ (Goethe University of Frankfurt)[1] นอกจากนั้นยังมีผลงานทางวิชาการเป็นจำนวนมาก
ประวัติ และผลงาน[แก้]
- หลังจากที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียน ไลบ์นิซ (Leibniz-Gymnasium) ที่เมือง เอสเซิน ประเทศเยอรมนี ในปี ค.ศ. 1972 อาจารย์กิพเพิร์ทได้ศึกษาวิชาภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ (Comparative linguistics) อินเดียศึกษา (Indology) ญี่ปุ่นศึกษา (Japanese studies) และจีนศึกษา (Chinese studies) ที่มหาวิทยาลัยมาร์บูร์ก (University of Marburg) และมหาวิทยาลัยเสรีแห่งเบอร์ลินตั้งแต่ปี ค.ศ. 1972 ถึง 1977
- หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1977 ได้รับปริญญาเอกจากผลงานวิทยานิพนธ์เรื่องวากยสัมพันธ์ของการสร้างคำกริยาแบบอินฟินิทิฟในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ("On the Syntax of Infinitival Formations in the Indo-European Languages")
- ตั้งแต่ ค.ศ. 1977 ถึง 1990 ทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยที่เบอร์ลิน เวียนนา และซาลซ์บูร์ก
- ขณะที่เป็นผู้ช่วยวิจัยภาษาตะวันออกกลางกับคอมพิวเตอร์ได้มีผลงานทางวิชาการสำหรับตำแหน่งศาสตราจารย์เรื่องคำยืมอิหร่านในภาษาอาร์มีเนีย และภาษาจอร์เจีย ("On the Study of Iranian Loanwords in Armenian and Georgian")
- ตั้งแต่ ค.ศ. 1994 อาจารย์กิพเพิร์ทเป็นศาสตราจารย์สอนวิชาภาษาศาสตร์เปริยบเทียบที่มหาวิทยาลัยเกอเธ่ แฟรงก์เฟิร์ต/ไมน์
- ตั้งแต่ ค.ศ. 1996 เป็นสมาชิกสถาบันวิชาการแห่งเกลาติ ประเทศจอร์เจีย
- คั้งแต่ ค.ศ. 2002 เป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการถู่หลู่ฟาน (Turfan Commission)
- ตั้งแต่ 2007 เป็นสมาชิกศูนย์ "ภาษา" แห่งสถาบันวิชาการเบอร์ลิน-บรันเดินบวร์ค (Berlin-Brandenburg Academy of Sciences and Humanities)
- ในปี ค.ศ. 1997 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ ของมหาวิทยาลัย ซุลคาน ซาบา ออร์เบลิอานี (Sulkhan Saba Orbeliani University) ที่ทบิลิซี ประเทศจอร์เจีย
- ค.ศ. 2009 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัย อิวาเน จาวาคิชวิลิ (Ivane Javakhishvili University) ทบิลิซีเช่นเดียวกัน
- ค.ศ. 2013 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัย โชตา รุซตาเวลิ (Shota Rustaveli University) เมืองบาทูมี (Batumi) ประเทศจอร์เจีย
- งานวิจัยสำคัญของอาจารย์กิพเพิร์ทเน้นไปทางด้านภาษาศาสตร์เชิงประวัติและนิรุกติศาสตร์ของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน แบบลักษณ์ภาษาต่างๆ (Linguistic typology) โดยทั่วไป และโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาในเขตคอเคซัส นอกจากนั้นอาจารย์กิพเพิร์ทยังค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับคลังข้อมูลภาษาแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Text corpus) บันทึกภาษาด้วยระบบมัลติมีเดีย (multimedia language documentation) และการวิเคราะห์เอกสารโบราณด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic manuscript analysis)
มนุษยศาสตร์ดิจิทัล[แก้]
โครงการ ทีทุซ อาร์มาซี คลังข้อมูลภาษาจอร์เจียแห่งชาติ และ LOEWE[แก้]
- ในปี ค.ศ. 1987 อาจารย์กิพเพิร์ทได้ก่อตั้งและดำเนินการโครงการทีทุซ (TITUS) (อรรถาภิธานข้อความและคำศัพท์ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน)[2] มาจนบัดนี้
- ค.ศ. 1999 ได้เริ่มโครงการ อาร์มาซี (ARMAZI) ซึ่งรวบรวมหลักฐานของภาษาต่างๆในเขตคอเคซัส[3] จากโครงการนี้ได้เกิดคลังข้อมูลภาษาจอร์เจียแห่งชาติ (Georgian National Corpus/GNC)
- ตั้งแต่ ค.ศ. 2010 อาจารย์กิพเพิร์ทเป็นประธานของศูนย์มนุษยศาสตร์ดิจิทัลของรัฐเฮ็สเซิน ประเทศเยอรมนี ในโครงการ LOEWE (Federal Offensive for the Development of Scientific and Economic Excellence) ซึ่งเป็นศูนย์กลางการร่วมมือของมหาวิทยาลัยเกอเธ่ แฟรงก์เฟิร์ต และ มหาวิทยาลัยเทคนิก ดาร์มชตัดท์ (Technical University of Darmstadt) ด้วยการสนับสนุนจากพิพิธภัณฑ์เกอเธ่แห่งแฟรงก์เฟิร์ต (Goethe Museum Frankfurt)
การวิเคราะห์เอกสารโบราณด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์[แก้]
- ศาสตราจารย์กิพเพิร์ทเรียบเรียงพาลิมพ์เซสท์ (palimpsest) ภาษาแอลเบเนียคอเคซัส (ภาษาอูดีโบราณ) ซึ่งพบที่ภูเขาไซนาย
กิจกรรม[แก้]
โครงการนานาชาติ (การเลือก)[แก้]
- ค.ศ. 1995-1998 (มูลนิธิการวิจัยเยอรมัน/DFG): Avesta and Rigveda: Electronic Analysis
- ค.ศ. 1995-1999 (INTAS): The Georgian Verbal System
- ค.ศ. 1999-2002 (มูลนิธิโฟล์กสวาเกน, 117,900 ยูโร): Caucasian Languages and Cultures: Electronic Documentation
- ตั้งแต่ ค.ศ. 2000 (DFG): Graduate School “Types of Clauses: Variation and Interpretation”
- ค.ศ. 2002-2006 (มูลนิธิโฟล์กสวาเกน): Endangered Caucasian Languages in Georgia
- ค.ศ. 2003 (มูลนิธิ โฟล์กสวาเกน, 167,800 ยูโร): “Endangered Caucasian Languages in Georgia”
- ค.ศ. 2003-2007 (มูลนิธิโฟล์กสวาเกน): Palimpsest Manuscripts of Caucasian Provenience
- ค.ศ. 2005-2009 (INTAS): Georgian Gospels
- ค.ศ. 2005-2007 (มูลนิธิโฟล์กสวาเกน, 189,000 ยูโร): The Linguistic Situation in modern-day Georgia[4]
- ค.ศ. 2008-2014 (DFG, 240,000 ยูโร): Old German Reference Corpus
- ตั้งแต่ ค.ศ. 2008 (BMBF): German Language Resource Infrastructure
- ค.ศ. 2009 (มูลนิธิโฟล์กสวาเกน, 400,000 ยูโร): Aché Documentation Project
- ตั้งแต่ ค.ศ. 2009 (DFG/NEH, 96,000 ยูโร): RELISH (Rendering Endangered Languages Lexicons Interoperable Through Standards Harmonization)
- ตั้งแต่ ค.ศ. 2009 (มูลนิธิโฟล์กสวาเกน): Georgian Palimpsest Manuscripts
- ค.ศ. 2010 (กูเกิล, 49,600 ดอลลาร์สหรัฐ): Corpus Caucasicum
- ตั้งแต่ ค.ศ. 2011 (HMWK, 3,792,000 ยูโร): LOEWE Research Unit “Digital Humanities – Integrated Processing and Analysis of Text-based Corpora”
- ตั้งแต่ ค.ศ. 2011 (มูลนิธิโฟล์กสวาเกน, 299,600 ยูโร): Khinalug Documentation Project
- ตั้งแต่ ค.ศ. 2011 (DFG): Relative Clauses in a Typological View
- ตั้งแต่ ค.ศ. 2012 (มูลนิธิโฟล์กสวาเกน, 390,400 ยูโร): Georgian National Corpus
ผลงาน[แก้]
- ค.ศ. 1977: Zur Syntax der infinitivischen Bildungen in den indogermanischen Sprachen. (Europäische Hochschulschriften, 21/3) , 360 pp.; Frankfurt a/M, Bern, Las Vegas: Lang 1978. Doktor-Dissertation
- ค.ศ. 1990: Iranica Armeno-Iberica. Studien zu den iranischen Lehnwörtern im Armenischen und Georgischen. (Mayrhofer, Manfred [Hrsg. / ed.]), (Veröffentlichungen der Kommission für Iranistik, 26 / Sitzungsberichte der phil.-hist. Klasse der ÖAdW, 606) , XXIII, 451 + 389 pp.; Wien: Österreichische Akademie der Wissenschaften 1993. Habilitationsschrift
- ค.ศ. 2007: Gippert, Jost / Sarjveladze, Zurab / Kajaia, Lamara: The Old Georgian Palimpsest Codex Vindobonensis georgicus 2. Edited by Jost Gippert in co-operation with Zurab Sarjveladze and Lamara Kajaia. (Monumenta Palaeographica Medii Aevi, Series Ibero-Caucasica, 1) , 368 pp.; Turnhout: Brepols 2007.
- ค.ศ. 2008: Gippert, Jost / Schulze, Wolfgang / Aleksidze, Zaza / Mahé, Jean-Pierre: The Caucasian Albanian Palimpsests of Mount Sinai (Monumenta Palaeographica Medii Aevi / Series Ibero-Caucasica, 2) , 2 vols., XXIV+530 pp.; Turnhout: Brepols 2009.
- ค.ศ. 2010: Gippert, Jost / Schulze, Wolfgang / Aleksidze, Zaza / Mahé, Jean-Pierre: The Caucasian Albanian Palimpsests of Mount Sinai. Vol. III: The Armenian Layer, edited by Jost Gippert. (Monumenta Palaeographica Medii Aevi / Series Ibero-Caucasica, 2-3) , 220 pp.; Turnhout: Brepols 2010.
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "หลักสูตรมหาวิทยาลัย แฟรงก์เฟร์ต" Retrieved 26 February 2016
- ↑ "โครงการ TITUS" Retrieved 2 March 2016
- ↑ "โครงการ ARMAZI" Retrieved 2 March 2016
- ↑ "The Linguistic Situation in modern-day Georgia (ภาษาเยอรมับ)" เก็บถาวร 2016-03-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved 2 March 2016
แหลงข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: โยสท์ กิพเพิร์ท |
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |