โกวิทย์ ธารณา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โกวิทย์ ธารณา
โกวิทย์ ในปี พ.ศ. 2553
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 มกราคม พ.ศ. 2494 (73 ปี)
เขตบางแค จังหวัดกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2523–2529, 2536–2565)
มวลชน (2529–2536)
รวมไทยสร้างชาติ (2565–ปัจจุบัน)

นายโกวิทย์ ธารณา หรือชื่อที่รู้จักดีในฉายา วิทย์ ภาษีเจริญ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค)[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์

ประวัติ[แก้]

นายโกวิทย์ ธารณา เกิดเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2494 เป็นบุตรของนายบัณฑิต และนางชิต ธารณา จบการศึกษาปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ และปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี สำเร็จหลักสูตรพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ผู้บริหารการเมือง สถาบันพระปกเกล้า หลักสูตรกฎหมายมหาชน จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหลักสูตรการเจรจาไกล่เกลี่ยจากสถาบันพระปกเกล้า เสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 1 (4ส1)

งานการเมือง[แก้]

นายโกวิทย์ ธารณา เคยเป็นกรรมการบริหารพรรคมวลชน ซึ่งนำโดย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง[2] แต่ต่อมาได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร 2 สมัย ในปี พ.ศ. 2535 และ พ.ศ. 2537 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ ในปี พ.ศ. 2538, พ.ศ. 2539 พ.ศ. 2550 (3 สมัย) เคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาผู้ว่ากรุงเทพมหานคร (นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน) ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (นายสุทัศน์ เงินหมื่น) ที่ปรึกษากรรมาธิการตำรวจ ที่ปรึกษากรรมาธิการงบประมาณ ที่ปรึกษากรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ กรรมาธิการกฎหมายยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน กรรมาธิการ ปปส. และ ปปง. กรรมาธิการงบประมาณ ปี พ.ศ. 2538 พ.ศ. 2544 ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ[3] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. “พีระพันธุ์” ตั้ง 11 คณะที่ปรึกษารองนายกฯ “เสธ.หิ-แรมโบ้-สายัณห์” นั่งด้วย
  2. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคมวลชนเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 74ก วันที่ 1 กรกฎาคม 2535
  3. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]