แอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้

1915–1990
ตราแผ่นดิน (1963–1980)ของแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้
ตราแผ่นดิน
(1963–1980)
คำขวัญViribus Unitis
(ละติน: for "With United Forces")
เพลงชาติ"ก็อดเซฟเดอะคิง" (1910–52); "ก็อดเซฟเดอะควีน" (1952–57)[a]

"ดีสแต็มฟันเซยด์-อาฟรีกา" (1938–61)[1]
(ไทย: "เสียงเพรียกแห่งแอฟริกา")
ที่ตั้งของแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ (เขียวอ่อน) ในแอฟริกาใต้ (เขียวเข้ม)
ที่ตั้งของแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ (เขียวอ่อน) ในแอฟริกาใต้ (เขียวเข้ม)
สถานะรัฐในอาณัติของสันนิบาตชาติ
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
วินด์ฮุก
ภาษาราชการ
เดมะนิมชาวแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้
ผู้ว่าการ 
• 1915–1920
เอ็ดมอนด์ ฮาวเวิร์ด ลาแคม
• 1985–1990
หลุยส์ เปียนาร์
ประวัติศาสตร์ 
9 กรกฎาคม 1915
28 มิถุนายน 1919
• อาณัติถูกยกเลิกโดยสหประชาชาติ
27 ตุลาคม 1966
• เอกราช
21 มีนาคม 1990
สกุลเงินปอนด์แอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ (1920–1961)
แรนด์แอฟริกาใต้ (1961–1990)
ก่อนหน้า
ถัดไป
แอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ของเยอรมนี
สหภาพแอฟริกาใต้
นามิเบีย
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของนามิเบีย

แอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ (อาฟรีกานส์: Suidwes-Afrika; เยอรมัน: Südwestafrika; ดัตช์: Zuidwest-Afrika) หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า จังหวัดแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ เป็นดินแดนภายใต้การปกครองของแอฟริกาใต้ตั้งแต่ปี 1915 ถึง 1990 หลังจากนั้นจึงกลายเป็นประเทศนามิเบีย มีพรมแดนติดกับแองโกลา (อาณานิคมของโปรตุเกสก่อนปี 1975) บอตสวานา (เบชวานาแลนด์) แอฟริกาใต้ และแซมเบีย (นอร์เทิร์นโรดีเซียก่อนปี 1964) ในระหว่างการควบคุมดินแดน แอฟริกาใต้ได้ใช้ระบบการแบ่งแยกสีผิวขในดินแดนแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้[2][3][4][5]

อาณานิคมของเยอรมนีที่รู้จักกันในชื่อแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ของเยอรมนีตั้งแต่ปี 1884 ถึง 1915 ได้มอบแก่สหภาพแอฟริกาใต้ภายหลังความพ่ายแพ้ของเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แม้ว่าคำสั่งดังกล่าวจะถูกยกเลิกโดยสหประชาชาติเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 1966 การควบคุมดินแดนของแอฟริกาใต้ยังคงดำเนินต่อไปแม้ว่าการกระทำดังกล่าวจะผิดกฎหมายระหว่างประเทศก็ตาม[6] ดินแดนดังกล่าวได้รับการบริหารโดยตรงจากรัฐบาลแอฟริกาใต้ตั้งแต่ปี 1915 ถึง 1978 เมื่อการประชุมรัฐธรรมนูญเทิร์นฮาล ได้วางรากฐานสำหรับการปกครองกึ่งปกครองตนเอง ในช่วงรระหว่างปี 1978 ถึง 1985 แอฟริกาใต้ได้ค่อยๆ อนุญาตให้แอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้มีรูปแบบการปกครองตนเอง ซึ่งสิ้นสุดด้วยการจัดตั้งรัฐบาลเอกภาพเฉพาะกาลแห่งชาติ

ในปี 1990 แอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ได้รับเอกราชในฐานะสาธารณรัฐนามิเบีย ยกเว้นอ่าววอลวิสและหมู่เกาะเพนกวิน ซึ่งยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของแอฟริกาใต้จนถึงปี 1994

หมายเหตุ[แก้]

  1. Remained the royal anthem until 1961.

อ้างอิง[แก้]

  1. "South Africa Will Play Two Anthems Hereafter". The New York Times. New York. 3 June 1938. p. 10. สืบค้นเมื่อ 31 October 2018.
  2. Hasan, Najmul (1975). "Namibia: South— West Africa". Pakistan Horizon. 28 (3): 63–64. ISSN 0030-980X.
  3. Crawford, Neta (2002). Argument and Change in World Politics. Cambridge University Press. p. 336.
  4. Hebdon, Geoffrey (2022). Zero Hour: A Countdown to the Collapse of South Africa's Apartheid System. p. 683.
  5. Streissguth, Thomas (2008). Namibia in Pictures. Twenty-First Century Books. p. 29.
  6. "The End of Apartheid". Archive: Information released online prior to January 20, 2009. United States Department of State. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-05. สืบค้นเมื่อ 5 February 2009. South Africa had illegally occupied neighboring Namibia at the end of World War II, and since the mid-1970s, Pretoria had used it as a base to fight the communist party in Angola.