มารีย์ชาวมักดาลาสำนึกผิด (การาวัจโจ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มารีย์มักดาลาละอายใจ
ศิลปินคาราวัจโจ
ปีค.ศ. 1597
ประเภทจิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบ
สถานที่หอศิลป์ Doria Pamphilj, ประเทศอิตาลี

มารีย์มักดาลาละอายใจ (อังกฤษ: Penitent Magdalene) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจจิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์ Doria Pamphilj ในกรุงโรมในประเทศอิตาลี

ภาพ “มารีย์มักดาลาละอายใจ” เขียนราวปี ค.ศ. 1597 ภาพนี้และภาพ “พักระหว่างหนีไปอียิปต์” น่าจะเขียนในช่วงเวลาเดียวกันเพราะสตรีที่เป็นแบบสำหรับมารีย์มักดาลาและพระแม่มารีเป็นคนคนเดียวกัน นางแบบกล่าวกันว่าคือสตรีในราชสำนักชื่ออันนา บิอันชินิ ในภาพนี้ไม่มีสัญลักษณ์ใดๆ ที่เป็นเครื่องแสดงว่าเป็นภาพเกี่ยวกับคริสต์ศาสนาเช่นรัศมี เป็นภาพที่เขียนจากมุมเหนือแม่แบบผู้นั่งอยู่บนม้านั่งเตี้ยๆ ในบริเวณคล้ายถ้ำที่คาราวัจโจชอบโดยมีแสงสามเหลี่ยมสูงขึ้นไปบนผนังข้างหลังแมรี แม็กดาเลน บนพื้นมีเครื่องประดับกระจัดกระจายอยู่รอบๆ ที่มีสร้อยไข่มุก กำไล และผอบ (ที่อาจจะเป็นผอบน้ำมันหอมซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของนักบุญมารีย์มักดาลา) ผมสยายราวกับเพิ่งสระ เครื่องแต่งตัวเป็นเสื้อแขนยาวสีขาว ทูนิคสีเหลืองและกระโปรงลายดอกไม้ จิโอวานนิ เปียโตร เบลโลริบรรยายภาพนี้อย่างละเอียดที่เบลโลริพบในงานสะสมของหอศิลป์ Doria Pamphilj

จิโอวานนิ เปียโตร เบลโลริผู้พบภาพนี้ในงานสะสมของเจ้าชาย Pamphilj บรรยายภาพนี้อย่างละเอียดและให้ความเห็นว่าชื่อของภาพเป็นเพียงข้ออ้างว่าเป็นภาพทางศาสนา ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วก็เป็นเพียงภาพเหมือนของสตรีสาวเท่านั้น ความครุ่นคำนึงของนักบุญมารีย์มักดาลาก็เช่นเดียวกับภาพความครุ่นคำนึงของนักบุญปีเตอร์ที่เป็นหัวข้อที่นิยมกันในสมัยการปฏิรูปศาสนาของนิกายโรมันคาทอลิกเป็นหัวเรื่องที่นิยมสร้างกันในงานศิลปะและการประพันธ์โคลงกลอนที่เห็นคุณค่าของหัวเรื่องที่เป็นหัวเรื่องที่เต็มไปด้วยการแสดงออกทางอารมณ์ที่เรียกน้ำตา มารีย์มักดาลาของคาราวัจโจสะอื้นเงียบ ๆ กับตนเองและมีหยาดน้ำตาหยดเดียวที่ไหลลงมาบนแก้ม คาราวัจโจแสดงให้เราเห็นถึงมารีย์มักดาลาที่อยู่ระหว่างชีวิตเดิมที่เต็มไปด้วยความหรูหราฟุ่มเฟือยกับชีวิตใหม่ที่เลือกในฐานะผู้ติดตามพระเยซูอย่างใกล้ชิดที่เป็นชีวิตอันสมถะ การที่สามารถสื่อความรู้สึกสะเทือนอารมณ์เช่นที่เห็นในภาพเป็นความสามารถของคาราวัจโจ

แม้ว่าจะไม่มีภาพของมารีย์มักดาลาภาพใดที่สร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่กระตุ้นความสะเทือนอารมณ์เท่ากับงานแกะไม้ที่รุ่งริ่งของมารีย์มักดาลาของโดนาเทลโล (ราว ค.ศ. 1456-1460) จนกระทั่งภาพกึ่งเปลือย “มารีย์มักดาลา” ที่เขียนโดยทิเชียน ในคริสต์ทศวรรษ 1530 ที่สามสิบปีต่อมาในคริสต์ทศวรรษ 1560 กลายมาเป็นมารีย์มักดาลาที่สมถะลงในสมัยของคาราวัจโจ

อ้างอิง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]