แพ็กกี้ สกลนรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แพ็กกี้ สกลนรี
upright=210px
เกิดศศิวิมล ไชยประเทศ
7 มกราคม พ.ศ. 2542 (24 ปี)
อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
อาชีพนักร้อง
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลงลูกทุ่ง ● ป็อป ● หมอลำ
เครื่องดนตรีขับร้อง
ช่วงปีพ.ศ. 2564–ปัจจุบัน
ค่ายเพลงแกรมมี่โกลด์

ศศิวิมล ไชยประเทศ หรือชื่อในวงการคือ แพ็กกี้ สกลนรี (7 มกราคม พ.ศ. 2542 –) เป็นนักร้องลูกทุ่งหญิงชาวไทยสังกัดแกรมมี่โกลด์[1]

เกิดที่จังหวัดสกลนคร จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร เธอเริ่มร้องเพลงอย่างจริงจังตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากการที่เธอเข้าร่วมกับวงดนตรีโปงลางของโรงเรียน เมื่อเธอศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย เธอได้รับงานร้องเพลงกับวงดนตรีในจังหวัดสกลนครเพื่อหารายได้ และยังโคฟเวอร์เพลงในยูทูบ จนกระทั่งสลา คุณวุฒิเห็นความสามารถและแววของเธอ จึงชักชวนเธอเข้าสู่การเป็นศิลปินในสังกัดแกรมมี่โกลด์

ประวัติและวงการบันเทิง[แก้]

เธอเกิดเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2542 ที่อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร[2] จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสว่างแดนดิน และระดับอุดมศึกษาจากคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร และ จบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2565[2] เธอเริ่มสนใจการร้องเพลงตั้งแต่วัย 9 ปี และเริ่มร้องเพลงอย่างจริงจังในช่วงที่เธอศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อันเนื่องมาจากการที่เธอเข้าร่วมกับวงดนตรีโปงลางของโรงเรียน และเมื่อเธอศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย เธอก็ได้หารายได้พิเศษด้วยการร้องเพลงกับวงดนตรีที่จังหวัดสกลนคร และยังมีผลงานโคฟเวอร์เพลงลงในยูทูบ จนกระทั่งสลา คุณวุฒิเข้ามาเห็นความสามารถและแววของเธอ เธอจึงเข้าสู่วงการบันเทิงโดยการเป็นศิลปินสังกัดแกรมมี่โกลด์[2]

เธอมีผลงานชุดแรกร่วมกับเจมส์ จตุรงค์ เวียง นฤมล และมนต์แคน แก่นคูน ในชุด ลุยโลดรถแห่[3] เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 โดยเธอร่วมร้องเพลงกับมนต์แคน แก่นคูน ในเพลง ผู้บ่าวรถแห่แหย่ลูกสาวเจ้าภาพ[3] และเพลงเดี่ยวคือ ร้องไห้ใกล้หนองหาน[4] ต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 เธอมีผลงานซิงเกิลแรกที่เป็นของตัวเองในชื่อเพลง ญาอ้าย[5][6][7]

ผลงานเพลง[แก้]

อัลบั้มพิเศษ[แก้]

ปี ชื่ออัลบั้ม รายชื่อเพลง
2564

ลุยโลดรถแห่[แก้]

  1. มนต์แคนลำซิ่ง ศิลปิน มนต์แคน แก่นคูน
  2. ผู้บ่าวรถแห่แหย่ลูกสาวเจ้าภาพ ศิลปิน มนต์แคน แก่นคูน และ แพ็กกี้ สกลนรี
  3. ร้องไห้ใกล้หนองหาน ศิลปิน แพ็กกี้ สกลนรี
  4. เกิบสี่กิ่ง ศิลปิน เจมส์ จตุรงค์
  5. ฝากซองกินดองแฟน ศิลปิน เวียง นฤมล

ซิงเกิ้ลเดี่ยว[แก้]

ปี ชื่อเพลง ค่าย หมายเหตุ
2564 ร้องไห้ใกล้หนองหาน แกรมมี่โกลด์ เพลงในโปรเจกต์ ลุยโลดรถแห่ (ต้นฉบับคือ วงเดือน ชไมพร ในชื่อเดิม ทิ้งน้องไว้หนองหาร)
ญาอ้าย Single แรกภายใต้สังกัดแกรมมี่โกลด์
จบฮัก (ฉบับควายๆ)
สาวสว่าง YOUNG LOVE ร่วมกับเน็ค นฤพล[8]
2565 บ่คึด
ยังโสดไหวอยู่
ขี้ดื้อแต่กับอ้าย
มะลำมะลอย
ออนเดอะร็อค
โดเรมี
2566 แฟนเก่าบ่เซาหล่อ (ต้นฉบับ ศิริพร อำไพพงษ์)
น้องบ่แม่นยางลบ

เพลงที่ไปรับเชิญร้อง[แก้]

เพลงที่แพ็กกี้ได้มีส่วนร่วมในการการร้อง

ปี ชื่อเพลง ศิลปินร่วม ค่าย หมายเหตุ
2564 ผู้บ่าวรถแห่แหย่ลูกสาวเจ้าภาพ มนต์แคน แก่นคูน แกรมมี่ โกลด์ รวมในอัลบั้ม ลุยโลดรถแห่
สบตาหน้าฮ้าน รวมศิลปิน เพลงในโปรเจกต์ สงครามลำซิ่ง
แด่เธอ...ด้วยดอกแค เอิร์น กนกอร

เพลงในโปรเจกต์พิเศษ[แก้]

ปี ชื่อโปรเจกต์ เพลงที่มี แพ็กกี้ สกลนรี ร้อง
2564 ลุยโลดรถแห่
  1. ร้องไห้ใกล้หนองหาน (ต้นฉบับคือ วงเดือน ชไมพร ในชื่อเดิม ทิ้งน้องไว้หนองหาร)
  2. ผู้บ่าวรถแห่แหย่ลูกสาวเจ้าภาพ (ร้องร่วมกับ มนต์แคน แก่นคูน)
สงครามลำซิ่ง
  1. สบตาหน้าฮ้าน รวมศิลปิน (ต้นฉบับ พี สะเดิด)
  2. แด่เธอ...ด้วยดอกแค (ร้องร่วมกับ เอิร์น กนกอร) (ต้นฉบับ ศิริพร อำไพพงษ์)

ผลงานการแสดง[แก้]

ละครโทรทัศน์[แก้]

ปี เรื่อง ออกอากาศ บทบาท หมายเหตุ
256X ละครใหม่ (ยังไม่ทราบชื่อเรื่อง) ช่องวัน 31 รอยืนยัน

มิวสิกวิดิโอ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. เปิดวาร์ปสาวน้อย ศิลปินน้องใหม่แกรมมี่โกลด์ "แพ็กกี้ สกลนรี" สวยใสสะกดใจ!
  2. 2.0 2.1 2.2 เปิดวาร์ปสาวน้อย ศิลปินน้องใหม่แกรมมี่โกลด์ แพ็กกี้ สกลนรี เตรียมปล่อยเพลง 3 ก.ย. นี้
  3. 3.0 3.1 ‘แกรมมี่โกลด์’ส่งความม่วนเขย่าเทศกาล กับอัลบั้ม‘ลุยโลดรถแห่’
  4. "แกรมมี่ โกลด์" ส่งความม่วนเขย่าเทศกาล กับอัลบั้ม "ลุยโลดรถแห่"
  5. ‘แพ็กกี้-สกลนรี’ โยกย้ายโชว์สเต็ปสดใสใน‘ญาอ้าย’
  6. ลูกทุ่งสาวดาวรุ่ง! แพ็กกี้ สกลนรี ปล่อย Lyric Video เพลง ญาอ้าย โยกย้ายโชว์สเต็ปสดใส!
  7. สวยใส สะกดใจ เปิดวาร์ปสาวน้อย ศิลปินน้องใหม่แกรมมี่โกลด์ “แพ็กกี้ สกลนรี”
  8. ‘แพ็กกี้ สกลนรี’ ชวน ‘เน็ค นฤพล’ ขยับลีลาใน ‘สาวสว่าง YOUNG LOVE’
  9. "จากวันบอกรัก มาถึงวันบอกลา "เบียร์ เวียง" ปล่อยภาคต่อใน "เรวัตตะลาฮัก"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-22. สืบค้นเมื่อ 2021-09-22.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]