ข้ามไปเนื้อหา

แอ้ม ชลธิชา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอ้ม ชลธิชา
เกิดชลธิชา ไชยมณี
28 มีนาคม พ.ศ. 2548 (19 ปี)
อำเภอชานุมาน, จังหวัดอำนาจเจริญ, ประเทศไทย
การศึกษาวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
อาชีพนักร้อง
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2565–ปัจจุบัน
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
เครื่องดนตรีเสียงร้อง
ค่ายเพลงภูไทเรคคอร์ด (2565-2566)
ซองเดอ (2565-2566)
แกรมมี่โกลด์ในเครือจีเอ็มเอ็ม มิวสิค (2566 - ปัจจุบัน)

ชลธิชา ไชยมณี (28 มีนาคม พ.ศ. 2548 –) หรือชื่อในวงการคือ แอ้ม ชลธิชา เป็นนักร้องลูกทุ่งหญิงชาวไทยสังกัดแกรมมี่โกลด์ เธอเป็นที่รู้จักจากผู้ชนะเลิศ 21 สมัยจากรายการประกวดร้องเพลง ดวลเพลงชิงทุน[1] ทางช่องวัน 31 และมีผลงานเพลงหลังจากการประกวดในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ในชื่อ คำสัญญาที่ชานุมาน

ชีวิตช่วงต้น

[แก้]

เธอเกิดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2548 ที่ตำบลโคกสาร อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ในครอบครัวที่ค่อนข้างยากจน บิดามารดาของเธอต้องออกไปทำงานที่กรุงเทพมหานคร เป็นเหตุให้เธอต้องอาศัยอยู่กับยายตั้งแต่ยังเด็ก เธอรักการร้องเพลงและเดินสายประกวดตามเวทีงานวัดในอำเภอชานุมานมาหลายรายการ ซึ่งถึงแม้จะพลาดรางวัลชนะเลิศแต่ทำให้เธอมั่นใจในความสามารถของเธอมากขึ้น โดยได้ฝึกการร้องเพลงกับยายของเธอ

เธอจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนชานุมานวิทยาคม[2]และเป็นสมาชิกชมรมทูบีนัมเบอร์วันประจำโรงเรียนเดียวกันกับที่เธอศึกษาอยู่ โดยปัจจุบันเธอกำลังศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

เข้าสู่วงการบันเทิง

[แก้]

เธอเริ่มเป็นที่รู้จักจากการร้องเพลง ฝากเพลงถึงยาย ของต่าย อรทัย และได้อัปโหลดผลงานของเธอลงสู่ติ๊กต็อกซึ่งมียอดผู้ชมร่วม 2,000,000 ครั้ง หลังจากนั้นเธอได้ออกผลงานซิงเกิลแรกสังกัดภูไทเรคคอร์ด ได้แก่เพลง น้องมาลา เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 หลังจากนั้นในปีเดียวกันเธอได้เข้าประกวดรายการดวลเพลงชิงทุนและสามารถชิงชนะเลิศแทนชานนท์ คำอ่อนซึ่งเป็นผู้ชนะเลิศคนก่อนหน้า โดยเธอรักษาในฐานะผู้ชิงชนะเลิศถึง 21 สมัย[2] หลังจากนั้นสลา คุณวุฒิเห็นแววในความเป็นนักร้องของเธอจึงได้ประพันธ์เพลง คำสัญญาที่ชานุมาน ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับอำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ภูมิลำเนาของเธอเอง[3][4] และได้เผยแพร่ลงยูทูบในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 โดยมียอดการรับชม 15,871,849 ครั้ง (ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2566)

หลังจากนั้นเธอมีผลงานเพลงตามมา อาทิ ขอพรท้าวเวสสุวรรณวัดไร่ขิง, ผาแดงของน้อง (ต้นฉบับคือต่าย อรทัย), ตังหวายอายผู้บ่าว (ต้นฉบับคือศิริพร อำไพพงษ์) และ ห่อข้าวสาวบ้านนอก[5]

เธอได้ลงนามสัญญาการเป็นศิลปินสังกัดแกรมมี่โกลด์อย่างเต็มตัวในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566[3][6] พร้อมกันนี้เธอยังได้รับสมญานามว่า ชานุมานสะท้านทุ่ง อันเนื่องมาจากผลงานเพลงคำสัญญาที่ชานุมานซึ่งเธอเป็นผู้ร้องเพลงดังกล่าว[7]

ผลงานเพลง

[แก้]

ซิงเกิ้ลเดี่ยว

[แก้]
ปี ชื่อเพลง ค่าย หมายเหตุ
2565 น้องมาลา ภูไทเรคคอร์ดส์ ซิงเกิลแรกของเธอ
คำสัญญาที่ชานุมาน ซองเดอ ซิงเกิลที่สองของเธอ ผลงานการประพันธ์ของสลา คุณวุฒิ และเป็นเพลงที่มีชื่อเสียงที่สุด
ขอพรท้าวเวสสุวรรณวัดไร่ขิง (ต้นฉบับ จ่อย รวมมิตร ไมค์ทองคำ)
2566 ผาแดงของน้อง (ต้นฉบับ ต่าย อรทัย, ร้องแก้กับเพลง "นางไอ่ของอ้าย" มนต์แคน แก่นคูน แกรมมี่โกลด์
ตังหวายอายผู้บ่าว (ต้นฉบับ ศิริพร อำไพพงษ์
ห่อข้าวสาวบ้านนอก ซิงเกิลที่สามของเธอ ผลงานการประพันธ์ของสลา คุณวุฒิ
2567 น้องเอิ้นว่าคบ อ้ายเอิ้นว่าคุย ผลงานเพลงเร็วเพลงแรก ในชีวิตของเธอ

เพลงที่ไปรับเชิญร้อง

[แก้]

เพลงที่แอ้มได้มีส่วนร่วมในการการร้อง

ปี ชื่อเพลง ศิลปินร่วม ค่าย หมายเหตุ
2566 สาวกันตรึม เจมส์ จตุรงค์ และ แพ็กกี้ สกลนรี แกรมมี่ โกลด์ ซนซน 40 ปี GMM GRAMMY

เพลงในโปรเจกต์พิเศษ

[แก้]
ปี ชื่อโปรเจกต์ เพลงที่มี แอ้ม ชลธิชา ร้อง
2566 ซนซน 40 ปี GMM GRAMMY
  1. สาวกันตรึม (ต้นฉบับ ไผ่ พงศธร) (ร้องร่วมกับ เจมส์ จตุรงค์ และ แพ็กกี้ สกลนรี)
2568 30 ปี แกรมมี่ โกลด์

ผลงานการแสดง

[แก้]

ละครโทรทัศน์

[แก้]
  • ละครโทรทัศน์ทั้งหมดด้านล่างนี้ออกอากาศทางช่องวัน
ปี เรื่อง บทบาท
256.. ละครใหม่ (ยังไม่ทราบชื่อเรื่อง)

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]