แขวงพงสาลี
แขวงพงสาลี ແຂວງ ຜົ້ງສາລີ | |
---|---|
พงสาลี เมืองหลักของแขวง | |
แผนที่แขวงผงสาลี | |
ที่ตั้งของแขวงพงสาลีในประเทศลาว | |
พิกัด: 21°41′00″N 102°06′00″E / 21.683333°N 102.1°E | |
ประเทศ | ลาว |
เมืองหลัก | พงสาลี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 16,270 ตร.กม. (6,280 ตร.ไมล์) |
ประชากร (สำมะโน ค.ศ. 2015) | |
• ทั้งหมด | 177,989 คน |
• ความหนาแน่น | 11 คน/ตร.กม. (28 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+7 (เวลาในประเทศลาว) |
รหัส ISO 3166 | LA-PH |
HDI (2017) | 0.497[1] ต่ำ · อันดับที่ 17 |
พงสาลี (ลาว: ຜົ້ງສາລີ, ผ้งสาลี) เป็นแขวงที่อยู่ทางเหนือสุดของประเทศลาวโดยมีพงสาลีเป็นเมืองหลัก พงสาลีตั้งอยู่ระหว่างมณฑลยูนนาน (ประเทศจีน) กับจังหวัดเดี่ยนเบียนของประเทศเวียดนาม ในอดีต วัฒนธรรมในบริเวณนี้ได้รับอิทธิพลจากประเทศจีนอย่างมาก[2]
ที่ตั้ง
[แก้]- ทิศเหนือ ติดกับเมืองผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน ประเทศจีน
- ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดเดี่ยนเบียน ประเทศเวียดนาม
- ทิศใต้ ติดกับแขวงหลวงพระบางและแขวงอุดมไซ
- ทิศตะวันตก ติดกับอำเภอเมืองล้า เขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา ประเทศจีน
ประวัติ
[แก้]พงสาลีเป็นดินแดนของลาวที่ติดกับประเทศจีนและเวียดนาม จึงเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่ถูกหัวเมืองใหญ่ทั้งหลายเข้ามายึดครองในอดีต ในปัจจุบันพงสาลีเป็นเมืองหลักของแขวง มีประชากร 167,181 คน ตัวเมืองตั้งอยู่บนภูเขาสูง 1,400 เมตร ในเขตเขาภูฟ้า ทำให้อากาศเย็นสบายตลอดปี และเนื่องจากตั้งอยู่ในชัยภูมิอันเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ คืออยู่ตรงกึ่งกลางระหว่างจีนกับเวียดนาม ฝรั่งเศสจึงให้ความสำคัญกับพื้นที่แถบนี้มากถึงกับสั่งการให้ตั้งค่ายกองทหารรักษาการณ์ขึ้น ดังมีร่องรอยของสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศสปรากฏให้เห็นตามซอยต่าง ๆ แม้จะถูกอาคารพาณิชย์ของจีนที่เน้นประโยชน์ใช้สอยบดบังไปส่วนใหญ่
ตามบันทึกกล่าวไว้ว่า ในอดีตพงสาลีมีฐานะเป็นหนึ่งในเมืองของชาวไทลื้อในแคว้นสิบสองปันนาของจีน แต่ฝรั่งเศสได้แย่งมาจากจีนในสนธิสัญญาที่ทำขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2438 ต่อมาเมื่อตกเป็นของลาว จึงกลายเป็นแขวงที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติมากที่สุดแขวงหนึ่ง มีทั้งชาวม้ง อาข่า เย้า และไทเผ่าต่าง ๆ รวมถึงชาวเวียดนามและจีน เนื่องจากรัฐบาลลาวมีนโยบายที่จะสร้างเอกภาพในความหลากหลาย จึงได้รวมชนกลุ่มน้อยถึง 23 เผ่าเข้าด้วยกัน
การปกครอง
[แก้]แขวงพงสาลีประกอบด้วยเมืองต่าง ๆ ดังต่อไปนี้[2]
แผนที่ | รหัส | ชื่อ | อักษรลาว | ประชากร (ค.ศ. 2015) |
---|---|---|---|---|
02-01 | เมืองผงสาลี | ຜົ້ງສາລີ | 23,337 | |
02-02 | เมืองใหม่ | ໃໝ່ | 26,361 | |
02-03 | เมืองขวา | ຂວາ | 26,164 | |
02-04 | เมืองสำพัน | ສຳພັນ | 24,420 | |
02-05 | เมืองบุนเหนือ | ບຸນເໜືອ | 22,285 | |
02-06 | เมืองยอดอู | ຍອດອູ | 31,145 | |
02-07 | เมืองบุนใต้ | ບຸນໃຕ້ | 24,277 |
สถานที่ท่องเที่ยว
[แก้]- พิพิธภัณฑ์ชนเผ่า
- ตลาดเช้า
- ยอดภูฟ้าและพระธาตุภูฟ้า
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Sub-national HDI - Area Database - Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-09-13.
- ↑ 2.0 2.1 "Phongsaly Province". Lao Tourism Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2013. สืบค้นเมื่อ 1 December 2012.
บรรณานุกรม
[แก้]- Michaud, Jean (2006). Peoples of the Southeast Asian Massif. Scarecrow Press. pp. 21–. ISBN 978-0-8108-5466-6.
- Pholsena, Vatthana (2006). Post-war Laos: The Politics of Culture, History, And Identity. Cornell University Press. pp. 41–. ISBN 978-0-8014-7320-3.
- Tan, Andrew Tian Huat (2007). A Handbook of Terrorism and Insurgency in Southeast Asia. Edward Elgar Publishing. pp. 354–. ISBN 978-1-84542-543-2.
- Ruud van Dijk, บ.ก. (2008). Encyclopedia of the Cold War. Taylor & Francis US. pp. 532–. ISBN 978-0-415-97515-5.
- Williams, Paul; Ladwig, Patrice (26 April 2012). Buddhist Funeral Cultures of Southeast Asia and China. Cambridge University Press. pp. 100–. ISBN 978-1-107-00388-0.
- ภาษา
- Kingsadā, Thō̜ngphet, and Tadahiko Shintani. 1999. Basic Vocabularies of the Languages Spoken in Phongxaly, Lao P.D.R. Tokyo: Institute for the Study of Languages and Cultures of Asia and Africa (ILCAA).
- Shintani, Tadahiko, Ryuichi Kosaka, and Takashi Kato. 2001. Linguistic Survey of Phongxaly, Lao P.D.R. Tokyo: Institute for the Study of Languages and Cultures of Asia and Africa (ILCAA).
- Kato, Takashi. 2008. Linguistic Survey of Tibeto-Burman languages in Lao P.D.R. Tokyo: Institute for the Study of Languages and Cultures of Asia and Africa (ILCAA).