เอ็มมา ราดูคานู
ราดูคานูในปี 2021 | |
ประเทศ (กีฬา) | บริเตนใหญ่ |
---|---|
ถิ่นพำนัก | บรอมลีย์, ประเทศอังกฤษ |
วันเกิด | โทรอนโต, รัฐออนแทรีโอ, ประเทศแคนาดา | 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002
ส่วนสูง | 5 ft 9 in (1.75 m)[1] |
เทิร์นโปร | 2018 |
การเล่น | ขวา; แบ็กแฮนด์สองมือ |
ผู้ฝึกสอน | Torben Beltz |
เงินรางวัล | 2,967,929 ดอลลาร์สหรัฐ[2] |
เดี่ยว | |
สถิติอาชีพ | 77–28 (73.3%) |
รายการอาชีพที่ชนะ | 1 |
อันดับสูงสุด | อันดับ 12 (14 กุมภาพันธ์ 2022) |
อันดับปัจจุบัน | อันดับ 13 (28 กุมภาพันธ์ 2022) |
ผลแกรนด์สแลมเดี่ยว | |
ออสเตรเลียนโอเพน | 2R (2022) |
วิมเบิลดัน | 4R (2021) |
ยูเอสโอเพน | W (2021) |
คู่ | |
สถิติอาชีพ | 0–0 |
รายการอาชีพที่ชนะ | 0 |
อัปเดตล่าสุดเมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2022 |
เอ็มมา ราดูคานู (อังกฤษ: Emma Raducanu; /ræduˈkɑːnuː/;[3], 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545) เป็นนักเทนนิสอาชีพชาวอังกฤษ เคยมีอันดับโลกสูงสุด อันดับ 12 โดยการจัดอันดับของสมาคมนักเทนนิสอาชีพหญิง และเป็นมือวางอันดับ 1 ของอังกฤษในปัจจุบัน เอ็มมา ราดูคานู คว้าแชมป์เทนนิสยูเอสโอเพน ในปีค.ศ. 2021 และเป็นหญิงชาวอังกฤษคนแรกที่ชนะแกรนด์สแลม ประเภทเดี่ยวตั้งแต่ เวอร์จิเนีย เวด ในการแข่งขันเทนนิสวิมเบิลดันปี ค.ศ. 1977 เธอเป็นผู้เล่นหลังท้ายคอร์ดที่มีกราวด์สโตรคที่ทรงพลังและการโต้ลูกเสิร์ฟที่ดุดัน
ราดูคานูเกิดที่โตรอนโตและเติบโตในลอนดอน เธอเริ่มเล่นรายการอาชีพแรกของในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2021 โดยใช้สิทธิไวด์การ์ดในการแข่งขันวิมเบิลดัน ซึ่งในตอนนั้นเธอเป็นมือวางอันดับ 338[4] และผ่านเข้าถึงรอบสิบหกคนสุดท้าย และสองเดือนต่อมาในรายการเทนนิสยูเอสโอเพน เอ็มมาเป็นนักเทนนิสคนแรกในยุคโอเพนที่มาจากรอบคัดเลือกและสามารถคว้าแชมป์รายการระดับแกรนด์สแลมได้ เธอเอาชนะ เลย์ลาห์ เฟอร์นานเดซในรอบชิงชนะเลิศ
เธอชนะการแข่งขันรอบคัดเลือกสามรอบและเจ็ดรอบในทัวร์นาเมนต์ โดยไม่เสียเซ็ตให้ใครเลย แม้ว่าจะเป็นการแข่งขันแกรนด์สแลมครั้งที่สองในอาชีพของเธอ ราดูคานูยังถือสถิติจำนวนการลงแข่งในรายการแกรนด์สแลมที่น้อยที่สุดก่อนจะคว้าแชมป์อีกด้วย
ประวัติ
[แก้]เอ็มมา ราดูคานู เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ที่ โตรอนโต ประเทศแคนาดา[5] และเติบโตในเมืองบรอมลีย์ ประเทศอังกฤษ [6] คุณพ่อ เอียน ราดูคานู[7] [3] มาจาก บูคาเรสต์ ประเทศโรมาเนีย [8] [9] และแม่ของเธอ Renee Zhai (Dongmei) มาจาก เสิ่นหยาง ประเทศจีน [10] [11] เธอบอกว่าพ่อแม่ของเธอ "ทั้งคู่มาจากครอบครัววิชาการ... [ใน] ประเทศคอมมิวนิสต์ การศึกษาเป็นทางเลือกเดียวของพวกเขา" [12] ทั้งพ่อและแม่ของเธอทำงานด้านการเงิน [13]
ครอบครัวของเธอย้ายไปอังกฤษเมื่อเธออายุได้ 2 ขวบ [13] และเธอถือสัญชาติอังกฤษและแคนาดา [14] เธอสามารถสื่อสาร ภาษาอังกฤษ โรมาเนีย และ จีนกลาง ได้อย่างคล่องแคล่ว[15] คุณยายของเธออาศัยอยู่ในบูคาเรสต์และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน[16] เอ็มมาเริ่มเล่นเทนนิสตอนอายุห้าขวบ[17] เธอเล่นกีฬาและกิจกรรมหลายอย่าง ทั้งบาสเก็ตบอล, กอล์ฟ, โกคาร์ท, มอเตอร์ไซค์วิบาก, สกี, ขี่ม้า, และบัลเล่ต์ [18] [19] และยังเป็นแฟนตัวยงของฟอร์มูลาวันอีกด้วย[20]
เธอเข้าเรียนที่โรงเรียนประถมศึกษาบิคลีย์ ตามด้วยโรงเรียนมัธยมนิวสตีดวูดในเมืองออร์พิงตัน ซึ่งเธอได้เกรด A* วิชาคณิตศาสตร์และเกรด A วิชาเศรษฐศาสตร์ใน A-Levels [21] ราดูคานูได้ต้นแบบด้านความคิดและจริยธรรมมาจากนักเทนนิชอาชีพชาวโรมันเนีย ซิโมน่า ฮาเล็ป และนักเทนนิสอาชีพชาวจีน หลี่ น่า [22]
เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2565 ชายคนหนึ่งถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานสะกดรอยตามราดูคานูที่บ้านของเธอ ราดูคานูกล่าวว่าเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เธอกังวลที่จะออกไปข้างนอกคนเดียวและรู้สึกไม่ปลอดภัยในบ้านของเธอเอง[23] เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ชายผู้นี้ได้รับคำสั่งห้ามเข้าใกล้เป็นเวลาห้าปี [24]
ระดับเยาวชน
[แก้]ราดูคานู ชนะการแข่งขันเทนนิสหญิง ITF จัณฑีครห์ เมื่อต้นปี 2018 [25] ในปี 2018 เธอได้รับรางวัล ITF Grade-3 ที่จัณฑีครห์ และการแข่งขันระดับรองของ Grade-2 ที่ นิวเดลี ในประเทศอินเดีย [26] ราดูคานู เอาชนะ ไดอานา โครดานจากยูเครนในรอบชิงชนะเลิศที่จัณฑีครห์ ซึ่งจัดขึ้นที่สนามกีฬา Lawn Tennis Association ซึ่งเธอชนะสามเซ็ตรวด [27]
ต่อมาในปีนั้น เธอเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศของหญิงเดี่ยวเยาวชนทั้งที่วิมเบิลดันและยูเอสโอเพน[28] ที่วิมเบิลดันราดูคานูเอาชนะเลย์ลาห์ เฟอร์นานเดซในรอบที่สอง ซึ่งเป็นชัยชนะที่เธอจะทำซ้ำในรอบชิงชนะเลิศ ยูเอสโอเพนในอีกสามปีต่อมา [29]
ราดูคานูเริ่มเล่นอาชีพในปี ค.ศ. 2018 [30] เธอสลับไปมาระหว่างการแข่งขันระดับเยาวชนและการแข่งขันระดับอาชีพระหว่างปีค.ศ. 2018 และ ค.ศ.2019 [31]
สไตล์การเล่น
[แก้]ราดูคานูป็นผู้เล่นหลักที่มีสไตล์การเล่นที่ดุดัน เนื่องจากสไตล์การเล่นของเธอเน้นไปที่การรุก เธอมักจะตีลูกวินเนอร์เป็นจำนวนมาก ราดูคานูตีลูกขณะที่กำลังกระดอนขึ้น และเชี่ยวชาญในการเปลี่ยนทางไปขนานเส้นข้าง [32] ท่ากราวด์สโตรกที่ดีที่สุดของเธอคือแบ็คแฮนด์สองมือ ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น "ระดับโลก" โดย Anne Keothavong อดีตมือวางอันดับ 1 ของอังกฤษซึ่งช็อตเด็ดของเธอคือแบ็คแฮนด์ขนานเส้น [33] ราดูคานูสามารถตีแบ็คแฮนด์ด้วยมือเดียวด้วย สไลซ์เพื่อทำลายจังหวะของการตีโต้และขัดขวางจังหวะของคู่ต่อสู้ แต่เธอไม่ได้ใช้ช็อตนี้บ่อย [34]
ราดูคานูมีโฟร์แฮนด์ที่แข็งแกร่ง แม้ว่าจะมีความผันผวนมากกว่าแบ็คแฮนด์ของเธอ เสิร์ฟของเธอแข็งแกร่ง สูงสุดที่110 ไมล์ต่อชั่วโมง (177 กม./ชม.) และเธอมีการโยนบอลที่สม่ำเสมอ และตำแหน่งการเสิร์ฟที่แม่นยำ การเสิร์ฟที่ได้ผลที่สุดของราดูคานู คือการเสิร์ฟสไลซ์กว้างๆ ซึ่งเธอใช้ระหว่างการแข่งขัน US Open ปี 2021 [35] โดยทั่วไปแล้วการเสิร์ฟที่สองของราดูคานู นั้นเร็วกว่าค่าเฉลี่ยของสมาคมนักเทนนิสอาชีพหญิง (WTA) ที่ 93 ไมล์ต่อชั่วโมง (150 กม./ชม.) ทำให้เธอสามารถเล่นเกมรุกได้แม้จะพลาดการเสิร์ฟครั้งแรก[36] เธอเป็นที่รู้จักจากโต้ลูกเสิร์ฟ ทำให้ฝ่ายตรงข้ามอยู่ท้ายคอร์ทโดยโต้บอลเร็ว และตีลูกขนานเส้นข้างอย่างแรง ขณะที่โจมตีลูกเสิร์ฟสองที่สั้นโดยการตีวินเนอร์ [37]
การเคลื่อนไหว การครอบคลุมในคอร์ท ฝีเท้า ความเร็ว และความคาดหมายของเธอ ทำให้เธอสามารถตีโต้และป้องกันคู่ต่อสู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ [38] เธอผสมผสานการทำคะแนนที่ดีเข้ากับความยืดหยุ่นทางยุทธวิธี ทำให้คู่ต่อสู้อ่านเกมของเธอได้ยาก [39] แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วจะเล่นจากเส้นเบสไลน์แต่ราดูคานูก็เป็นผู้เล่นเน็ตที่มีความสามารถ และเธอก็สามารถดรอปช็อตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ราดูคานูเล่นได้อย่างสบายบนทุกพื้นผิว แม้ว่าเธอจะบอกว่าเธอชอบคอร์ทฮาร์ดมากกว่า ซึ่งเธอได้แชมป์แกรนด์สแลมครั้งแรก[40]
รางวัลและเกียรติยศ
[แก้]ในเดือนพฤศจิกายน 2021 ราดูคานูได้รับเลือกให้เป็น นักกีฬาหญิงแห่งปี จาก ซันเดย์ไทมส์ เดอะการ์เดียน จัดอันดับให้การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศของ US Open ปี 2021 เป็นอันดับที่ 47 ใน 50 รายการทีวีที่ดีที่สุดในปี 2021[41] ราดูคานูได้รับรางวัลนักกีฬาหญิงแห่งปีและ Peter Wilson Trophy สำหรับนักกีฬาหน้าใหม่ระดับนานาชาติในเดือนธันวาคม 2021 จากสมาคมนักข่าวกีฬา[42] เธอได้รับการโหวตให้เป็น นักเทนนิสหน้าใหม่แห่งปี ประจำปีปี 2021 จาก WTA[43] เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2021 ราดูคานูได้รับการเสนอชื่อให้เป็น บุคคลแห่งปีของ BBC Sports Personality กลายเป็นนักเทนนิสหญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้นับตั้งแต่เวอร์จิเนีย เวดชนะในปี 1977[44] เธอได้รับแต่งตั้งให้ เป็นสมาชิกของเครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรวรรดิบริติช (MBE) ใน ปี 2022 New Year Honors สำหรับเทนนิส[45]
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ราดูคานูได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Laureus World Sports Award for Breakthrough of the Year[46]
การสนับสนุน
[แก้]ราดูคานูได้รับการสนับสนุนจาก ไนกี้ สำหรับเสื้อผ้าและรองเท้า และโดย Wilson สำหรับแร็กเก็ต ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้สนับสนุนแร็คเก็ต Wilson Blade แม้ว่าเธอจะใช้ Wilson Steam 100 ในสนาม โดยทำสีให้เหมือน Wilson Blade [47] [48] ไม่นานหลังจากชัยชนะ US Open ของเธอ ราดูคานูได้กลายเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ให้กับแบรนด์ LVMH Tiffany & Co. และ Dior [49] [50] เธอยังเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ของ Evian, British Airways และ Vodafone [51] [52] [53] และในเดือนมีนาคม 2022 เธอเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ให้ Porsche[54]
สถิติการแข่งขันอาชีพ
[แก้]การแข่งขันแกรนด์สแลม รอบชิงชนะเลิศ
[แก้]ประเภทเดี่ยว: 1 (1 รายการ)
[แก้]ผลลัพธ์ | ปี | การแข่งขัน | พื้นผิว | ฝ่ายตรงข้าม | คะแนน |
---|---|---|---|---|---|
ชนะ | ปี 2021 | ยูเอสโอเพน | คอนกรีต | เลย์ลาห์ เฟอร์นันเดซ | 6–4, 6–3 |
เงินรางวัลจาก WTA Tour
[แก้]อัพเดท 21 มีนาคม 2022
ปี | แชมป์รายการ แกรนด์สแลมป์ |
แชมป์รายการ WTA |
รวม | รายได้ (ดอลลาร์สหรัฐ) | อันดับเงินรางวัล |
---|---|---|---|---|---|
2018 | 0 | 0 | 0 | 12,741 | 524 |
2019 | 0 | 0 | 0 | 14,606 | 545 |
2020 | 0 | 0 | 0 | 2,351 | 657 |
2021 | 1 | 0 | 1 | 2,807,446 | 6 |
2022 | 0 | 0 | 0 | 179,298 | 83 |
อาชีพ | 1 | 0 | 1 | 3,021,929 | 198 |
สถิติยุคโอเพน
[แก้]รายการ | ปี | สถิติ | ผู้เล่นที่ถือสถิติร่วม | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|
ยูเอสโอเพน | 2021 | ได้แชมป์รายการแกรนด์สแลมโดยลงแข่งตั้งแต่รอบคัดเลือก | คนเดียว | [55] |
ยูเอสโอเพน | 2021 | ได้แชมป์รายการแกรนด์สแลมในการลงแข่งครั้งที่ 2 | คนเดียว | [56] |
ยูเอสโอเพน | 2021 | ได้แชมป์รายการยูเอสโอเพนในการลงแข่งครั้งแรก | เบียนก้า อันดรีสคู | [57] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Wimbledon bio". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2021. สืบค้นเมื่อ 8 September 2021.
- ↑ "Player profile". wtatennis.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2021. สืบค้นเมื่อ 11 July 2021.
- ↑ 3.0 3.1 "Emma Raducanu Player Stats & More". Women's Tennis Association. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2021. สืบค้นเมื่อ 15 September 2021. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "wtaprof" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ "ทำความรู้จัก ราดูคานู สาวน้อยนักเทนนิสอังกฤษก่อนนัดชิงยูเอส โอเพ่น". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2022-03-03.
- ↑ "Emma Raducanu speaks to the media". Wimbledon. 3 July 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2021. สืบค้นเมื่อ 20 August 2021.
- ↑ "Commentary: Expect more epic moments from Emma Raducanu despite Indian Wells loss". Los Angeles Times. 2021-10-11. สืบค้นเมื่อ 2022-01-20.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "EoP24eDrVOV6_QEH". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2021. สืบค้นเมื่อ 7 October 2021.
- ↑ "The remarkable rise of Emma Raducanu". LTA. 12 September 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 September 2021. สืบค้นเมื่อ 14 September 2021.
- ↑ Hardinges, Nick (16 September 2021). "Emma Raducanu reunited with parents after historic US Open win". LBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 September 2021. สืบค้นเมื่อ 17 September 2021.
- ↑ Hamilton, Tom (13 September 2021). "Emma Raducanu shines bright among young British stars enjoying success on their own terms". ESPN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 September 2021. สืบค้นเมื่อ 14 September 2021.
- ↑ "Raducanu: US Open champion celebrated in China for her heritage". BBC. 13 September 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 September 2021. สืบค้นเมื่อ 14 September 2021.
- ↑ McElwee, Molly (5 February 2020). "Emma Raducanu undaunted despite tricky Fed Cup task facing inexperienced British team". The Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 February 2020. สืบค้นเมื่อ 10 February 2020.
- ↑ 13.0 13.1 Rothenberg, Ben (5 July 2021). "Wimbledon, and British Tennis Fans, See a Rising Star in Emma Raducanu". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 September 2021. สืบค้นเมื่อ 20 August 2021.
- ↑ DiManno, Rosie (11 September 2021). "Canadian Leylah Fernandez leaves the U.S. Open a winner, just without the trophy". Toronto Star. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 September 2021. สืบค้นเมื่อ 12 September 2021.
Raducanu ... has a Canadian passport and dual citizenship
- ↑ Janjuha-Jivraj, Shaheena (28 September 2021). "We, The Citizens Of Everywhere, Lessons From Emma Raducanu". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2021. สืบค้นเมื่อ 28 September 2021.
In addition to English, she is fluent in both Romanian and Chinese.
- ↑ "WATCH: Emma Raducanu addresses fans in Romanian as her multicultural heritage shines through". 6 October 2021.
- ↑ "Emma Raducanu". WTA. สืบค้นเมื่อ 10 September 2021.
- ↑ "Emma Raducanu: The teenage tennis star rewriting Grand Slam history". Olympics.com. 8 September 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 September 2021. สืบค้นเมื่อ 11 September 2021.
- ↑ "US Open: Emma Raducanu – the key facts about Britain's Grand Slam winner". BBC Sport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 September 2021. สืบค้นเมื่อ 12 September 2021.
- ↑ Devang Chauhan (11 September 2021). "Emma Raducanu Reveals Her Favorite F1 Driver Amidst Likes of Ricciardo & Hamilton". Essentially Sports. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 September 2021. สืบค้นเมื่อ 11 September 2021.
- ↑ Melissa Sigodo (11 September 2021). "US Open 2021: Emma Raducanu shares 'sweet' throwback picture from her time at Bromley primary school". MyLondon. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 September 2021. สืบค้นเมื่อ 11 September 2021.
- ↑ Dinu, Remus (1 July 2021). "Emma Răducanu, dialog cu Gazeta Sporturilor după prima victorie a carierei la Wimbledon". Gazeta Sporturilor (ภาษาโรมาเนีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2021. สืบค้นเมื่อ 2 July 2021.
- ↑ "Man guilty of stalking Emma Raducanu after leaving notes at her home". the Guardian. 2022-01-29. สืบค้นเมื่อ 2022-01-29.
- ↑ "Emma Raducana: Man handed five-year restraining order for stalking British tennis star". Sky Sports. 23 February 2022. สืบค้นเมื่อ 23 February 2022.
- ↑ Sharma, Nitin (13 September 2021). "When US Open champion Emma Raducanu won the junior ITF title in Chandigarh". The Indian Express. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2021. สืบค้นเมื่อ 13 September 2021.
- ↑ Srinivasan, Kamesh (13 September 2021). "Raducanu and her Indian sojourn". The Hindu (ภาษาIndian English). ISSN 0971-751X. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 September 2021. สืบค้นเมื่อ 16 September 2021.
- ↑ "When US Open champion Emma Raducanu won the junior ITF title in Chandigarh". The Indian Express (ภาษาอังกฤษ). 13 September 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 September 2021. สืบค้นเมื่อ 16 September 2021.
- ↑ Carayol, Tumaini (10 September 2021). "'This girl means serious business': the making of Emma Raducanu". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2021. สืบค้นเมื่อ 13 September 2021.
- ↑ "Teenage duo who stunned US Open – how Emma Raducanu and Leylah Fernandez compare". East London and West Essex Guardian. 10 September 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2021. สืบค้นเมื่อ 13 September 2021.
- ↑ Hamilton, Tom (3 July 2021). "Britain's Emma Raducanu, 18, storms into Wimbledon fourth round". ESPN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2021. สืบค้นเมื่อ 9 September 2021.
- ↑ "The remarkable rise of Emma Raducanu". Lawn Tennis Association. 12 September 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2021. สืบค้นเมื่อ 13 September 2021.
- ↑ "How Emma Raducanu keeps her opponents off balance". US Open. 2 September 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 September 2021. สืบค้นเมื่อ 19 September 2021.
- ↑ Hincks, Michael (3 July 2021). "Emma Raducanu beats Sorana Cirstea to reach Wimbledon fourth round – Briton set to shoot up through WTA Rankings". i. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 September 2021. สืบค้นเมื่อ 18 September 2021.
- ↑ Delgado, Jamie (8 September 2021). "The makings of a champion: What sets Emma Raducanu apart". The Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 September 2021. สืบค้นเมื่อ 19 September 2021.
- ↑ "Championship Point: Emma Raducanu Makes History – 2021 US Open". US Open on YouTube. 12 September 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 September 2021. สืบค้นเมื่อ 18 September 2021.
- ↑ "How Emma Raducanu won the 2021 US Open". US Open. 11 September 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 September 2021. สืบค้นเมื่อ 19 September 2021.
- ↑ "How new US Open champion can improve her game". Independent.co.uk. 14 September 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 September 2021. สืบค้นเมื่อ 23 September 2021.
- ↑ Garber, Greg (11 September 2021). "The improbable run of US Open champion Emma Raducanu". Women's Tennis Association. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 September 2021. สืบค้นเมื่อ 19 September 2021.
- ↑ Carayol, Tumaini (10 September 2021). "Anatomy of a tennis sensation: Emma Raducanu's run to the final is no fluke". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 September 2021. สืบค้นเมื่อ 18 September 2021.
- ↑ "Emma Raducanu". International Tennis Federation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2021. สืบค้นเมื่อ 18 September 2021.
- ↑ "The 50 best TV shows of 2021". the Guardian. 2021-12-22. สืบค้นเมื่อ 2022-01-20.
- ↑ "Gareth Southgate: England manager wins inaugural Sky/Kick It Out equality and inclusion award at SJA British Sports Awards". Sky Sports (ภาษาอังกฤษ). 2021-12-02. สืบค้นเมื่อ 2021-12-05.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Barty, Krejcikova among 2021 WTA award winners". Women's Tennis Association (ภาษาอังกฤษ). 2021-12-06. สืบค้นเมื่อ 2022-01-01.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Sports Personality 2021: Emma Raducanu crowned winner". BBC Sport. 19 December 2021. สืบค้นเมื่อ 19 December 2021.
- ↑ "New Year Honours 2022: Jason Kenny receives a knighthood and Laura Kenny made a dame". BBC Sport. 31 December 2021.
- ↑ "Laureus Awards: Emma Raducanu one of six British nominees". BBC News. BBC. 2 February 2022. สืบค้นเมื่อ 2 February 2022.
- ↑ Walker-Roberts, James (22 September 2021). "Tennis News - 'She is a billion-dollar girl' - How Emma Raducanu has world at her feet after US Open triumph". Eurosport.
- ↑ "Emma Raducanu's Racquet". tennisnerd.net. 10 September 2021.
- ↑ McDermott, Kerry (20 September 2021). "Emma Raducanu Is Now A Face Of Tiffany & Co". British Vogue.
- ↑ Palumbo, Jacqui (19 October 2021). "Emma Raducanu is the new face of Dior". CNN.com.
- ↑ "Emma Raducanu joins Evian as global ambassador". uk.style.yahoo.com. 9 December 2021.
- ↑ "British Airways Names Tennis Ace Emma Raducanu As Its Newest Global Ambassador". BritishAirways.com. 21 December 2021.
- ↑ "Vodafone teams up with teenage tennis sensation Emma Raducanu to inspire the next generation of play". sports-insight.co.uk. 7 March 2022.
- ↑ "Emma Raducanu becomes new Porsche Brand Ambassador". Porsche Newsroom. สืบค้นเมื่อ 21 March 2022.
- ↑ Carayol, Tumaini (8 September 2021). "Emma Raducanu marches into US Open semis with easy win over Bencic". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 September 2021. สืบค้นเมื่อ 9 September 2021.
- ↑ Carayol, Tumain (11 September 2021). "Emma Raducanu makes tennis history with US Open final win". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 September 2021. สืบค้นเมื่อ 12 September 2021.
- ↑ Nina Pantic (7 September 2019). "Baseline: The top fast facts from Andreescu's US Open win". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2020. สืบค้นเมื่อ 8 September 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Emma Raducanu: The Fairytale of New York สารคดีสั้นอเมริกันเกี่ยวกับชัยชนะ US Open ปี 2021 ของเธอ
- Emma Raducanu: Fairytale of New York สารคดีอังกฤษเรื่องพิเศษเกี่ยวกับชัยชนะ US Open ปี 2021 ของเธอ
- Carayol, Tumaini (18 December 2021). "Emma Raducanu and one of the most astonishing breakout years in sport". The Observer.