ข้ามไปเนื้อหา

เอเสเคียล 4

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอเสเคียล 4
หนังสือเอเสเคียล 30:13–18 ในสำเนาต้นฉบับอังกฤษจากช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13, MS. Bodl. Or. 62, fol. 59a. คำแปลภาษาละตินปรากฏอยู่ที่ขอบพร้อมการแทรกระหว่างบรรทัดเพิ่มเติมเหนือข้อความภาษาฮีบรู
หนังสือหนังสือเอเสเคียล
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเนวีอีม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู7
หมวดหมู่ผู้เผยพระวจนะยุคหลัง
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์26

เอเสเคียล 4 (อังกฤษ: Ezekiel 4) เป็นบทที่ 4 ของหนังสือเอเสเคียลในคัมภีร์ฮีบรูหรือพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์[1] หนังสือเอเสเคียลประกอบด้วยคำเผยพระวจนะที่ถือว่าเป็นของผู้เผยพระวจนะ/ปุโรหิตเอเสเคียล[2] เป็นหนึ่งในหนังสือหมวดผู้เผยพระวจนะ ในบทที่ 4 ของหนังสือเอเสเคียล เอเสเคียลแสดงการกระทำเชิงสัญลักษณ์ตามพระบัญชาของพระเจ้า แสดงสัญลักษณ์ถึงการล้อมเยรูซาเล็มและความกันดารอาหารที่เกิดขึ้นตามมา[3]

ต้นฉบับ

[แก้]

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู บทแบ่งออกเป็น 17 วรรค

พยานต้นฉบับ

[แก้]

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับไคโร (Codex Cairensis; ค.ศ. 895) หนังสือผู้เผยพระวจนะฉบับปีเตอส์เบิร์ก (Petersburg Codex of the Prophets; ค.ศ. 916) ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[4] ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี ได้แก่ 1Q9 (1QEzek; ก่อน ค.ศ. 68) โดยมีวรรคที่หลงเหลือคือ 15–17;[5][6][7][8] และ 11Q4 (11QEzek; 50 ปีก่อนคริสจกาล – ค.ศ. 50) โดยมีวรรคที่หลงเหลือคือ 3–6, 9–10[5][6][9][10]

ยังมีฉบับแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) บางสำเนาต้นฉบับที่หลงเหลือในเซปทัวจินต์ ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) ฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5) และฉบับมาร์ชาล (Codex Marchalianus; Q; Q; ศตวรรษที่ 6)[11][11][a]

การล้อมเยรูซาเล็ม (4:1–8)

[แก้]

ส่วนนี้บรรยายถึงวิธีการที่เอเสเคียลแสดงภาพการล้อมเยรูซาเล็ฒ โดยเริ่มจากการวาดแผนที่ของเยรูซาเล็มบนแผ่นดินเหนียมหรือก้อนอิฐ จากนั้นสร้างแบบจำลองของอุปกรณ์ปิดล้อมวางรอบเมืองลำลอง สุดท้ายจึงหันหน้าเข้าหาเมืองเพื่อเริ่มการปิดล้อม[3]

วรรค 1

[แก้]
"เจ้า บุตรมนุษย์เอ๋ย จงเอาก้อนอิฐมาวางไว้ข้างหน้าเจ้า และแกะรูปเมืองหนึ่งไว้บนนั้น คือนครเยรูซาเล็ม"[13]

วรรค 5

[แก้]
และเราได้กำหนดจำนวนวันแก่เจ้าคือ 390 วันซึ่งเท่ากับจำนวนปีของความผิดบาปพวกเขา เป็นวันซึ่งเจ้าจะต้องแบกความผิดบาปของพงศ์พันธุ์อิสราเอล[16]

วรรค 6

[แก้]
และเมื่อเจ้าทำเช่นนี้จนครบจำนวนวันแล้ว เจ้าจะต้องนอนลงเป็นครั้งที่สองโดยนอนตะแคงข้างขวาและแบกความผิดบาปของพงศ์พันธุ์ยูดาห์ เรากำหนดแก่เจ้า 40 วัน 1 วันแทน 1 ปี[19]
  • "40 วัน" หมายถึงช่วงเวลา 40 ของการลงโทษยูดาห์หลังถูกล้อม ด้วยการตกไปเป็นเชลย (เทียบกับ กันดารวิถี 14:34 )[17]

การกันดารอาหาร (4:9–17)

[แก้]

ในส่วนนี้ เอเสเคียลแสดงบทบาทของพลเมืองเยรูซาเล็ม โดยการกินอาหารเพียงน้อยนิดเพื่อเป็นสัญลักษณ์ถึงการกันดารอาหาร และถึงกับปิ้งขนมปังโดยใช้มูลสัตว์เป็นเชื้อเพลิงเพื่อเน้นย้ำถึงความรุนแรงของการกันดารอาหาร[20]

วรรค 9

[แก้]
และเจ้าจงเอาข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ถั่ว ถั่วแดง ข้าวฟ่าง และข้าวสเปลต์ มาใส่ในภาชนะอันเดียวกันใช้ทำเป็นขนมปังสำหรับเจ้า เจ้าจงกินอาหารนี้ระหว่างที่เจ้านอนตะแคงตามกำหนด 390 วัน[21]

วรรค 10

[แก้]
และอาหารที่เจ้ากินจะต้องชั่ง คือวันละ 230 กรัม เจ้าจงกินตามเวลากำหนด[24] (พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน) หรือ
และอาหารที่เจ้ารับประทานจะต้องชั่ง เป็นวันละยี่สิบเชเขล เจ้าจงรับประทานตามเวลากำหนด[25] (พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 1971)
  • "ยี่สิบเชเขล": ประมาณ 8 ออนซ์ (230 กรัม) เป็นอัตราส่วนของขนมปังต่อคนต่อวัน แสดงถึงความกันดารอาหารอย่างมาก[22][26] "เชเขล" เป็นหน่วยมาตรฐานของการชั่งน้ำหนัก (รวมถึงระบบเงินตรา) ในตะวันออกใกล้โบราณ โดยทั่วไป 1 เชเขลเท่ากับ 11.5 กรัม (0.4 ออนซ์)[27]

วรรค 11

[แก้]
และน้ำที่เจ้าดื่มก็ต้องตวงดื่ม คือประมาณครึ่งลิตร เจ้าจงดื่มน้ำตามเวลากำหนด[28] (พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน) หรือ
และน้ำเจ้าต้องตวงดื่ม คือหนึ่งในหกของฮินหนึ่ง เจ้าจงดื่มน้ำตามเวลากำหนด[29] (พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 1971)
  • "หนึ่งในหกของฮินหนึ่ง": ประมาณ ⅔ ควอร์ต (0.6 ลิตรหรือ 1.3 ไพนต์)[30][31] อัตราส่วนของน้ำที่ดื่มต่อวันแสดงถึงการเข้าถึงแหล่งน้ำที่จำกัด[22]

วรรค 12

[แก้]
และเจ้าจะต้องกินดังขนมปังข้าวบาร์เลย์ โดยปิ้งบนไฟที่ก่อจากอุจจาระมนุษย์ต่อหน้าเขาทั้งหลาย[32]
"ก่อจากอุจจาระมนุษย์": ขนมปังข้าวบาร์เลย์ถูกปิ้งบนหิน (เทียบกับ 1 พงศกษัตริย์ 19:6) ที่เผาด้วยไฟที่ใช้มูลสัตว์ผสมกับฟางเป็นเชื้อเพลิง[22] "อุจจาระมนุษย์" ถือว่า 'ไม่บริสุทธิ์ในทางพิธีการ' และต้องฝังไว้ภายนอกค่ายของพงศ์พันธ์อิสราเอล (เช่นเดียวกับระหว่างการรอนแรมในถิ่นทุรกันดาร) เพื่อป้องกัน 'มลทิน' (เฉลยธรรมบัญญัติ 23:12 -14)[22][33]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. หนังสือเอเสเคียลทั้งเล่มขาดหายไปจากจากฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus)[12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Carley 1974, pp. 29–35.
  2. Theodore Hiebert et al., 1996. The New Interpreter's Bible: Volume VI. Nashville: Abingdon.
  3. 3.0 3.1 Galambush 2007, p. 539.
  4. Würthwein 1995, pp. 35–37.
  5. 5.0 5.1 Ulrich 2010, p. 586.
  6. 6.0 6.1 Dead sea scrolls - Ezekiel
  7. Fitzmyer 2008, p. 19.
  8. 1Q9 at the Leon Levy Dead Sea Scrolls Digital Library
  9. Fitzmyer 2008, p. 110.
  10. 11Q4 - 11QEzek at the Leon Levy Dead Sea Scrolls Digital Library
  11. 11.0 11.1 Würthwein 1995, pp. 73–74.
  12. Shepherd, Michael (2018). A Commentary on the Book of the Twelve: The Minor Prophets. Kregel Exegetical Library. Kregel Academic. p. 13. ISBN 978-0825444593.
  13. เอเสเคียล 4:1 THSV11
  14. V. L. Pagninus, Montanus, Junius & Tremellius, Polanus. Piscator.
  15. 15.0 15.1 Coogan 2007, pp. 1186–1187 Hebrew Bible.
  16. เอเสเคียล 4:5 THSV11
  17. 17.0 17.1 Coogan 2007, p. 1186 Hebrew Bible.
  18. Carley 1974, pp. 30–31.
  19. เอเสเคียล 4:6 THSV11
  20. Galambush 2007, p. 530.
  21. เอเสเคียล 4:9 THSV11
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 22.4 22.5 Carley 1974, p. 34.
  23. หมายเหตุของเอเสเคียล 4:9 ใน NET Bible
  24. เอเสเคียล 4:10 THSV11
  25. เอเสเคียล 4:10 TH1971
  26. หมายเหตุของเอเสเคียล 4:10 ใน MEV
  27. หมายเหตุของเอเสเคียล 4:10 ใน NET Bible
  28. เอเสเคียล 4:11 THSV11
  29. เอเสเคียล 4:11 TH1971
  30. หมายเหตุของเอเสเคียล 4:11 ใน MEV
  31. หมายเหตุของเอเสเคียล 4:11 ใน NET Bible
  32. เอเสเคียล 4:12 THSV11
  33. หมายเหตุของเอเสเคียล 4:12 ใน NET Bible

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ศาสนายูดาห์

[แก้]

ศาสนาคริสต์

[แก้]