เหตุระเบิดในแบกแดด พ.ศ. 2564

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุระเบิดในแบกแดด พ.ศ. 2564
เป็นส่วนหนึ่งของการก่อการกำเริบของไอซิลในอิรัก
ตลาดหลังเกิดเหตุระเบิด
สถานที่แบกแดด เขตผู้ว่าการแบกแดด อิรัก
วันที่21 มกราคม 2564
ประเภทระเบิดฆ่าตัวตาย
อาวุธเข็มขัดระเบิด
ตาย34 คน (รวมผู้ก่อเหตุ 2 คน)
เจ็บ110 คน
รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์[1]

เหตุระเบิดในแบกแดด พ.ศ. 2564 เป็นการโจมตีก่อการร้ายโดยมือระเบิดฆ่าตัวตาย 2 คนที่ตลาดนัดกลางแจ้งแห่งหนึ่งกลางกรุงแบกแดด ประเทศอิรัก[2] ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 32 คน และมีผู้บาดเจ็บอีก 110 คน เหตุระเบิดครั้งนี้เป็นการโจมตีที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนักในเมืองหลวงของอิรัก เนื่องจากแบกแดดแทบไม่ได้เผชิญเหตุโจมตีเช่นนี้อีกเลยนับตั้งแต่เหตุระเบิดใน พ.ศ. 2561 หลังการสูญเสียดินแดนของรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (ไอซิล) ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560[3]

ภูมิหลัง[แก้]

ระหว่างปี พ.ศ. 2546–2560 การโจมตีของผู้ก่อการร้ายเกิดขึ้นทั่วไปในอิรักโดยแบกแดดและเมืองใกล้เคียงตกเป็นเป้าหมายหลัก ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์พ่ายแพ้ การโจมตีในลักษณะนี้กลายเป็นเรื่องที่พบไม่บ่อยในประเทศ เหตุโจมตีนองเลือดครั้งใหญ่ครั้งล่าสุดในสมัยหลังสงครามเกิดขึ้นในเดือนมกราคม พ.ศ. 2561 ในสถานที่เดียวกันกับที่เกิดเหตุระเบิดครั้งนี้ โดยส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 35 คน[4]

การโจมตี[แก้]

ในเวลาเช้าตรู่ ตลาดเสื้อผ้าแห่งหนึ่งในจัตุรัสเฏาะยะรอน กรุงแบกแดด คลาคล่ำด้วยผู้คนที่กำลังจับจ่ายซื้อของหลังจากที่ตลาดกลับมาเปิดอีกครั้งเมื่อไม่นานมานี้ หลังจากปิดไปประมาณหนึ่งปีเนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19 ในอิรัก ทันใดนั้นชายคนหนึ่งในฝูงชนก็ตะโกนขึ้นมาว่า "ผมปวดท้อง" เมื่อผู้คนรอบข้างเดินเข้าไปใกล้ เขาก็กดชนวนระเบิด[5] และในขณะที่ผู้คนเข้าไปช่วยเหลือเหยื่อระเบิดครั้งแรก มือระเบิดฆ่าตัวตายอีกคนก็ฉวยโอกาสกดระเบิดซ้ำ เหตุระเบิดทั้งสองครั้งส่งผลให้เหยื่อ 32 คนเสียชีวิต และอีกกว่า 110 คนบาดเจ็บ หลายคนในจำนวนนี้มีอาการสาหัส[6]

ความรับผิดชอบ[แก้]

รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ได้ออกมาอ้างความรับผิดชอบในการก่อเหตุระเบิดครั้งนี้[7] คำอ้างดังกล่าว (ซึ่งได้รับการเผยแพร่ออกมาหลังเกิดเหตุหลายชั่วโมง) ระบุว่าองค์กรได้พุ่งเป้าหมายไปยังมุสลิมชีอะฮ์[8][9]

ปฏิกิริยาจากนานาชาติ[แก้]

กาตาร์,[10] คูเวต,[11] แคนาดา,[10] จอร์แดน,[10] ซาอุดีอาระเบีย,[11] ตุรกี,[12] ตูนิเซีย,[10] บาห์เรน,[11] ฝรั่งเศส,[13] เยเมน,[10] เลบานอน,[10] สหรัฐ,[10] สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์,[11] อิหร่าน,[10] อียิปต์[10] รวมทั้งรัฐปาเลสไตน์ซึ่งได้รับการรับรองบางส่วน[10] ออกมาประณามเหตุโจมตีครั้งนี้

อ้างอิง[แก้]

  1. Islamic State claims responsibility for Baghdad's suicide attack
  2. "At least 32 killed as first suicide bombing in nearly 2 years rocks Baghdad". CNN. 21 January 2021. สืบค้นเมื่อ 21 January 2021.
  3. "Suicide Bombing in Crowded Baghdad Market Kills at Least 32". The New York Times. 21 January 2021. สืบค้นเมื่อ 21 January 2021.
  4. "Iraq attack: Twin suicide bombings in central Baghdad kill 32". BBC News. 21 January 2021. สืบค้นเมื่อ 21 January 2021.
  5. "First big suicide attack in Baghdad for three years kills at least 32". Reuters. 21 January 2021. สืบค้นเมื่อ 21 January 2021.
  6. "Deadly twin suicide attack hits central Baghdad". Al Jazeera English. 21 January 2021. สืบค้นเมื่อ 21 January 2021.
  7. "ISIL takes responsibility for deadly Baghdad suicide bombings". Al Jazeera English. 22 January 2021. สืบค้นเมื่อ 22 January 2021.
  8. "Iraq bombing: IS says it was behind deadly suicide attacks in Baghdad". BBC News. 22 January 2021. สืบค้นเมื่อ 22 January 2021.
  9. "Islamic State claims responsibility for Baghdad's suicide attack". Reuters. 22 January 2021. สืบค้นเมื่อ 22 January 2021.
  10. 10.00 10.01 10.02 10.03 10.04 10.05 10.06 10.07 10.08 10.09 "Baghdad bombing sparks global condemnation". Anadolu Agency.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 "Saudi Arabia, GCC condemn twin suicide bombing in central Baghdad". Arab News. 2021-01-21. สืบค้นเมื่อ 22 January 2021.
  12. "Turkey condemns deadly terror attack in Iraqi capital". Anadolu Agency. 21 January 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-21. สืบค้นเมื่อ 21 January 2021.
  13. étrangères, Ministère de l'Europe et des Affaires. "Iraq - Attack in Baghdad (21 Jan. 2021)". France Diplomacy - Ministry for Europe and Foreign Affairs (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-01-22.