ข้ามไปเนื้อหา

เพอร์เซอเวียแรนซ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เพอร์ซิเวียรันซ์)
เพอร์เซอเวียแรนซ์
ภาพถ่ายของยานเพอร์เซอเวียแรนซ์ และอินเจนูอิตี​ ณ จุดสังเกตการณ์ แวน ซีล (7 เมษายน 2021)
ประเภทภารกิจยานสำรวจอวกาศ
ผู้ดำเนินการNASA / JPL
เว็บไซต์mars.jpl.nasa.gov/mars2020/
ระยะภารกิจ1 ปีดาวอังคาร (668 วันบนโลก)[1]
ข้อมูลยานอวกาศ
ผู้ผลิตJet Propulsion Laboratory
มวลขณะส่งยานยานสำรวจ: 1,050 kg (2,315 lb)[2]
ขนาดยานสำรวจ: ยาว 3 เมตร กว้าง 2.7 เมตร สูง 2.2 เมตร [2]
กำลังไฟฟ้า110 watts[3]
เริ่มต้นภารกิจ
วันที่ส่งขึ้น30​ กรกฎาคม 2020[4]
จรวดนำส่งAtlas V 541[5]
ฐานส่งแหลมคะแนเวอรัล LC-41
ผู้ดำเนินงานUnited Launch Alliance
สิ้นสุดภารกิจ
ลงจอด18 กุมภาพันธ์ 2021, 20:55 UTC[6]
พิกัดลงจอด18°26′41″N 77°27′03″E / 18.4447°N 77.4508°E / 18.4447; 77.4508,
จุดลงจอดออกเตเวีย อี บัตเลอร์
หลุมอุกกาบาตเจซีโร
ยานสำรวจ ดาวอังคาร
วันที่ลงจอด18 กุมภาพันธ์ 2021[4]
ตำแหน่งลงจอดหลุมอุกกาบาตเจซีโร

Mars 2020 JPL patch  

เพอร์เซอเวียแรนซ์ (อังกฤษ: Perseverance) ในชื่อเล่นว่า เพอร์ซี (Percy) เป็น เป็นยานสำรวจดาวอังคารในลักษณะของโรเวอร์ภายใต้ภารกิจมาร์ส 2020 ในโครงการ NASA's Mars Exploration Program (MEP) ของนาซา ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการที่นาซาพยายามที่จะค้นหาความลับของดาวเคราะห์ดวงนี้ ภารกิจนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการศึกษาวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการดำรงชีวิตบนดาวอังคาร​ โดยในการสำรวจดาวอังคาร​ครั้ง​นี้​นาซาจะส่งเฮลิคอปเตอร์สำรวจดาวอังคาร​ไปด้วย​ โดยนาซาจะติดตั้งเฮลิคอปเตอร์​ไว้ที่ส่วนท้องของมาร์ส 2020​ ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นยานหลัก​ และทำหน้าที่ปล่อยเฮลิคอปเตอร์​ขึ้นบินสำรวจ

ภาพถ่ายจากยาน

[แก้]

การออกแบบ

[แก้]

มาร์ส 2020 ได้รับการออกแบบให้คล้าย คิวริออซิตี มีความยาว 10 ฟุต (ไม่รวมความยาวแขนกล) กว้าง 9 ฟุต สูง 7 ฟุต แต่หนักถึง 2314 ปอนด์ หรือประมาณ 1050 กิโลกรัม (1.05 ตัน) โครงสร้างถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันชิ้นส่วนภายใน ในส่วนที่เป็นสมองกลใช้ระบบประมวลผลแบบคอมพิวเตอร์ ในเรื่องของการควบคุมอุณหภูมิ ภายในประกอบด้วยเครื่องทำความร้อน (Internal Heater) เพื่อให้ยานสามารถทำงานได้ในอุณหภูมิที่หนาวจัด และฉนวนกันความร้อนเพื่อป้องกันความร้อนจากอวกาศที่จะทำให้อุปกรณ์ของยานเสียหาย ส่วนหัวของยานวางอยู่บนเสายาวเพื่อให้ยานสามารถมองเห็นในระดับมนุษย์ได้ กล้องที่ติดอยู่บนส่วนหัวของยานสามารถที่จะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของดาวอังคารได้ นอกจากนั้นส่วนหัวยังประกอบไปด้วยอุปกรณ์ที่ทำให้ยานสามารถฟังและเปล่งเสียงได้ แขนและมือกออกแบบมาเพื่อศึกษาโครงสร้างของหินให้ละเอียดมากขึ้น ขาถูกออกแบบมาให้เหมาะกับการเคลื่อนที่บนดาวอังคาร

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Mission: Overview". NASA. สืบค้นเมื่อ 7 March 2015.
  2. 2.0 2.1 "Designing A Mars Rover To Launch in 2020". NASA/JPL. สืบค้นเมื่อ 6 July 2018.
  3. "Mars 2020 Rover Tech Specs". JPL/NASA. สืบค้นเมื่อ 6 July 2018.
  4. 4.0 4.1 mars.nasa.gov. "Overview - Mars 2020 Rover". mars.nasa.gov. สืบค้นเมื่อ 19 February 2019.
  5. Ray, Justin (25 July 2016). "NASA books nuclear-certified Atlas 5 rocket for Mars 2020 rover launch". Spaceflight Now. สืบค้นเมื่อ 26 July 2016.
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ landingtime