จุดลงจอดออกเตเวีย อี บัตเลอร์

พิกัด: 18°26′N 77°27′E / 18.44°N 77.45°E / 18.44; 77.45
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยานสำรวจดาวอังคารเพอร์เซเวียแรนส์ ลงจอด ณ จุดลงจอดออกเตเวีย อี บัตเลอร์ ในหลุมอุกกาบาตเจซีโร

จุดลงจอดออกเตเวีย อี บัตเลอร์ เป็นพิกัดลงจอดของยานสำรวจดาวอังคารเพอร์เซเวียแรนส์ในภารกิจมาร์ส 2020 ภายในหลุมอุกกาบาตเจซีโร ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 บนดาวอังคาร ในวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2564 นาซา ได้ตั้งชื่อพิกัดตามกวีนิยายวิทยาศาสตร์ชื่อดัง ออกเตเวีย อี บัตเลอร์ ซึ่งถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 การลงจอดบนดาวอังคารใช้เวลาเกือบ 15 ปี จากวันที่เธอเสียชีวิต[1][2] พิกัดของจุดลงจอดบนดาวอังคารคือ18°26′N 77°27′E / 18.44°N 77.45°E / 18.44; 77.45[3]

คำอธิบาย[แก้]

นักเขียนออกเตเวีย อี บัตเลอร์ในงานลงลายมือชื่อหนังสือในปี พ.ศ. 2548

หลุมอุกกาบาตเจซีโร ถูกเลือกใน พ.ศ.2564 ให้เป็นจุดลงจอดของยานสำรวจดาวอังคารเพอร์เซเวียแรนส์และเฮลิคอปเตอร์อินเจนูอิตี ภายใต้ภารกิจมาร์ส 2020 โดยคิดว่าครั้งหนึ่งเคยท่วมไปด้วยน้ำ หลุมอุกกาบาตนี้มีตะกอนปากแม่น้ำรูปพัดที่อุดมไปด้วยดินเหนียว[4] ทะเลสาบในหลุมอุกกาบาตเกิดขึ้นเมื่อเครือข่ายหุบเขาก่อตัวขึ้นบนดาวอังคาร นอกจากจะมีดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแล้ว หลุมอุกกาบาตยังแสดงแถบจุดและช่องกลับหัว จากการศึกษาสามเหลี่ยมปากแม่น้ำและร่องน้ำสรุปได้ว่าทะเลสาบในปล่องภูเขาไฟน่าจะก่อตัวขึ้นในช่วงที่มีการไหลบ่าของผิวน้ำอย่างต่อเนื่อง[5] เนื่องจากเชื่อกันว่าทะเลสาบนี้มีอายุยาวนาน สิ่งมีชีวิตอาจพัฒนาขึ้นในหลุมอุกกาบาต สามเหลี่ยมปากแม่น้ำอาจใช้ระยะเวลาหนึ่งถึงสิบล้านปีในการก่อตัว[6]

ออกเตเวีย อี บัตเลอร์[แก้]

ออกเตเวีย เอสเตียลล์ บัตเลอร์ (อังกฤษ: Octavia Estelle Butler; 22 มิถุนายน พ.ศ. 2490 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549) เป็นกวีนิยายวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ผู้ซึงเผยแพร่นิยายหลายเรื่องระหว่าง พ.ศ. 2519 ถึง 2541 เป็นผู้ได้รับรางวัลทั้งรางวัลฮิวโก และรางวัลเนบิวลาหลายครั้ง ใน พ.ศ. 2538 เธอเป็นนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์คนแรกที่ได้รับทุนแมกอาเธอร์[a][7][8]

บัตเลอร์ตีพิมพ์นิยายเดี่ยว เรื่องสั้น บทความ และสุนทรพจน์ เธอเกิดและเติบโตในแพซาดีนา, รัฐแคลิฟอร์เนีย ตำแหน่งของห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่นของนาซา ซึ่งจัดการโครงการยานสำรวจดาวอังคารเพอร์เซเวียแรนส์

ระเบียงภาพ[แก้]

Octavia E. Butler Landing
Elevation map of Jezero crater
Perseverance rover landing site
Octavia E. Butler Landing viewed by the Perseverance rover.

แม่แบบ:Features and memorials on Mars

เชิงอรรถ[แก้]

  1. จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2563 ที่นักเขียนนิยายแนวคาดการณ์อีกคน (N.K. Jemisin) จะได้รับรางวัล

อ้างอิง[แก้]

  1. "NASA's Perseverance Drives on Mars Terrain for First Time". NASA. March 5, 2021. สืบค้นเมื่อ March 5, 2021. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
  2. "Welcome to "Octavia E. Butler Landing"". NASA. March 5, 2021. สืบค้นเมื่อ March 5, 2021. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
  3. "Mars Lander Missions". NASA Goddard Institute for Space Studies. สืบค้นเมื่อ October 26, 2021.
  4. Muir, Hazel. "Prime landing sites chosen for biggest Martian rover". New Scientist. สืบค้นเมื่อ November 20, 2018.
  5. Goudge, T. (2017). Stratigraphy and Evolution of Delta Channel Deposits, Jezero Crater Mars (PDF). Lunar and Planetary Science Conference (2017). 1195.pdf.
  6. Schon, S.; Head, J.; Fassett, C. (2012). "An overfilled lacustrine system and progradational delta in Jezero crater, Mars: Implications for Noachian climate". Planetary and Space Science. 67 (1): 28–45. Bibcode:2012P&SS...67...28S. doi:10.1016/j.pss.2012.02.003.
  7. Crossley, Robert "Critical Essay" In Kindred, by Octavia Butler Boston: Beacon, 2004 ISBN 0807083690 (10) ISBN 978-0807083697 (13)
  8. "Octavia Butler". MacArthur Foundation Fellows. สืบค้นเมื่อ October 9, 2015.

แม่แบบ:Mars แม่แบบ:Mars 2020 แม่แบบ:Octavia Butler