เพทาย โชตินุชิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เพทาย โชตินุชิต เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดธนบุรี 2 สมัย เป็นอดีตหัวหน้าพรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค[1]

ประวัติ[แก้]

เพทาย โชตินุชิต ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2492 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งแบบประเภทที่ 1 เพิ่มเติม จากสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 5 โดยมี ส.ส.เพิ่มขึ้นจำนวน 21 คน และได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495

ต่อมาหลังจากที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีหลังจากได้เดินทางไปเยือนนานาประเทศในช่วงปี พ.ศ. 2498 และเกิดความประทับใจในมุมนักพูด ที่สวนสาธารณะไฮด์ปาร์ค กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ที่เปิดโอกาสให้มีผู้ปราศรัยโจมตีการทำงานของรัฐบาลได้อย่างอิสระ เมื่อกลับมาจึงได้เปิดโอกาสให้กระทำเช่นนั้นที่ท้องสนามหลวง[2] จึงเกิดการปราศรัยครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2498 โดยโจมตีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น และได้ขยายแนวร่วมและการเคลื่อนไหวขึ้นเป็นลำดับ โดยเรียกร้องให้ยกเลิก ส.ส. ประเภทที่ 2 โดยอ้างว่าไม่เป็นประชาธิปไตย ในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2498 นายเพทาย ได้กรีดเลือดประท้วงเรียกร้องให้มีการยกเลิก ส.ส. ประเภทที่ 2 และมีการเดินขบวนที่ถนนราชดำเนินและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในปลายปีเดียวกัน จนถูกจับ ผู้ที่ถูกจับคุมขังจึงประท้วงด้วยการอดอาหาร จนกระทั่งรัฐบาลเปิดโอกาสให้มีการจดทะเบียนพรรคการเมืองขึ้นมาอย่างเป็นทางการ[3] นายเพทายจึงได้จดทะเบียนก่อตั้งพรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค ตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2498 เป็นลำดับที่ 4/2499[4] โดยเขาทำหน้าที่หัวหน้าพรรค นำสมาชิกลงสมัครในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ซึ่งทางพรรคได้ที่นั่งในสภาทั้งสิ้น 2 ที่นั่งคือ ทวีศักดิ์ ตรีพลี จากจังหวัดขอนแก่น และ พีร์ บุนนาค จากจังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนตัวนายเพทายเองไม่ได้รับเลือกตั้ง เขาจึงตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 เปิดโอกาสให้นายทวีศักดิ์ เข้ามาทำหน้าที่แทน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. เปิดนโยบาย “พรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค” เมื่อ พ.ศ. 2499 ห้ามทหารยุ่งเกี่ยวกับการเมือง!!!
  2. Rose, Saul. Socialism in Southern Asia. London: Oxford University Press, 1959. p. 181
  3. Nity (2011-08-24). ""ขบวนการไฮด์ปาร์ก" ?". โอเคเนชั่น. สืบค้นเมื่อ 2017-06-17.
  4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมืองขบวนการไฮด์ปาร์ค
  5. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๕๐๓, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๙๔๙, ๔ พฤศจิกายน ๒๔๘๔