ข้ามไปเนื้อหา

นขลิขิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เครื่องหมายวงเล็บ)
(◌)
[◌]
{◌}
(◌)
〈◌〉
「◌」
『◌』
《◌》
[◌]
{◌}
【◌】
〖◌〗
〔◌〕
นขลิขิต
วรรคตอน
อะพอสทรอฟี   '
วงเล็บ [ ]  ( )  { }  ⟨ ⟩
ทวิภาค :
จุลภาค ,  ،  
จุดไข่ปลา   ...  . . .      
อัศเจรีย์  !
มหัพภาค .
กิลเลอเมต ‹ ›  « »
ยัติภังค์ -
ยัติภาค   
ปรัศนี  ?
อัญประกาศ ‘ ’  “ ”  ' '  " "
อัฒภาค ;
ทับ /    
ตัวแบ่งคำ
อินเตอร์พังก์ ·
เว้นวรรค     
การพิมพ์ทั่วไป
แอมเพอร์แซนด์ &
ดอกจัน *
แอต @
แบ็กสแลช \
เบสิสพอยต์
บุลเลต
แคเรต ^
แดกเกอร์ † ‡ ⹋
องศา °
บุพสัญญา ” 〃
ดับเบิลไฮเฟน = ⸗
อัศเจรีย์กลับหัว ¡
ปรัศนีกลับหัว ¿
เครื่องหมายอ้างอิง
เครื่องหมายคูณ ×
นัมเบอร์, แฮชแท็ก #
นูเมอโร
ออเบอลุส ÷
ตัวบอกลำดับ º ª
สัญลักษณ์ร้อยละ (เปอร์เซ็นต์)  %
สัญลักษณ์พันละ (เปอร์มิลล์)
พิลโครว์
บวกและลบ + −
บวกหรือลบ ± ∓
ไพรม์     
เซกชัน §
ทิลเดอ, ตัวหนอน ~
อันเดอร์สกอร์ _
เส้นตั้ง |    ¦
ทรัพย์สินทางปัญญา
ลิขสิทธิ์ ©
กอปปีเลฟต์ 🄯
ลิขสิทธิ์การอัดเสียง
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียน ®
เซอร์วิสมาร์ก
เครื่องหมายการค้า
สกุลเงิน
เครื่องหมายสัญลักษณ์สกุลเงิน ¤

؋฿¢$֏ƒ£元 圆 圓 ¥

การพิมพ์เฉพาะทาง
แอสเทอริซึม
ฟลอวรอน
ดัชนี
อินเทอร์รอแบง
วรรคตอนไอเรอนี
ลอซินจ์
ไท
ที่เกี่ยวข้อง
ในภาษาอื่น ๆ
ในภาษาไทย
โคมูตร
ตีนครุ
ไปยาลน้อย
ไปยาลใหญ่ ฯลฯ
ฟองมัน
ไม้ยมก
อังคั่น , ฯะ, , ๚ะ

นขลิขิต หรือ วงเล็บ ( ) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนชนิดหนึ่ง มีลักษณะโค้งเหมือนรอยเล็บ เครื่องหมายด้านซ้ายเรียกว่า วงเล็บเปิด ส่วนด้านขวาเรียกว่า วงเล็บปิด (สำหรับภาษาที่เขียนจากขวาไปซ้ายก็จะเรียกกลับกัน) ปกติใช้สำหรับคลุมข้อความที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่นให้ความหมายชัดเจนมากขึ้น

การใช้งาน

[แก้]
  • ใช้ขยายหรืออธิบายความที่อยู่ข้างหน้า ซึ่งการตัดข้อความในวงเล็บออกก็ไม่ได้ทำให้เนื้อความเสียไป
    • ตำบลพระยาไกร อำเภอยานนาวา จังหวัดพระนคร (ปัจจุบันคือ แขวงวัดพระยาไกร เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร)
  • ใช้ขยายความให้ชัดเจนยิ่งขึ้นเพื่อลดความกำกวม
  • ใช้กำกับหัวข้อย่อย ซึ่งอาจเป็นตัวอักษรหรือตัวเลข สามารถใช้วงเล็บปิดเพียงอย่างเดียวก็ได้
    • (ก) (ข) (ค) (ง)
    • 1) 2) 3)
  • ใช้คลุมตัวระบุเชิงอรรถหรือการอ้างอิง
    • เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใดพี่เอย (๑)
    • ประเพณีเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรม [3]
  • สำหรับวงเล็บเหลี่ยม ใช้คลุมข้อความที่เติมขึ้นเองในการยกอ้างอิงคำกล่าวเพื่อให้อธิบายความหมายได้ดีขึ้น
    • "ขายอย่าให้แพง คนเขาจะได้กินลง ฉันขาย [ปลาที่ปู่เย็นหาได้] ถูกๆ เอาไปเถอะ ซื้อไปแกงให้พอหม้อ"
    • "I appreciate it [the honor], but I must refuse"
    • "Yf they say the mone is belewe / We must believe that it is true [If they say the moon is blue, we must believe that it is true]"
    • มีการใช้ […] แทนส่วนที่ถูกตัดทิ้งไประหว่างกลาง และ [sic] สำหรับจุดที่สะกดคำผิดพลาดตามต้นฉบับ
  • ในทางคณิตศาสตร์ และการเขียนโปรแกรม นขลิขิตมักจะหมายถึงส่วนที่มีความสำคัญ ต้องดำเนินการก่อน
    • (2 + 4) × 3 = 6 × 3 = 18
    • $ch = 0x80 | ($codepoint >> 6) & 0x3f;
    • ทั้งนี้ไม่รวมถึงไวยากรณ์เฉพาะของแต่ละภาษาที่ใช้วงเล็บชนิดต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งของไวยากรณ์

การเขียนวงเล็บ ควรเว้นวรรคก่อนวงเล็บเปิดหนึ่งเคาะ หลังวงเล็บปิดหนึ่งเคาะ ส่วนข้อความภายในให้เขียนติดกับวงเล็บ [1] เช่น xxx (yyy) zzz

นขลิขิตรูปแบบอื่น

[แก้]

วงเล็บต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นและภาษาจีน มีหน้าที่ใช้งานที่แตกต่างกัน ซึ่งเมื่อเขียนในแนวตั้งก็จะคลุมข้อความตามแนวตั้ง

  • วงเล็บภูเขา (山括弧) 〈 〉
  • วงเล็บภูเขาสองชั้น (二重山括弧) 《 》 ใช้คลุมชื่อหนังสือ
  • วงเล็บตะขอ (鉤括弧) 「 」 ใช้เน้นข้อความคล้ายอัญประกาศ
  • วงเล็บตะขอสองชั้น (二重鉤括弧) 『 』 ใช้เน้นข้อความคล้ายอัญประกาศ
  • วงเล็บมุมทึบ (隅付き括弧) 【 】 ใช้คลุมการอ่านออกเสียง
  • วงเล็บมุมโปร่ง (隅付き括弧(白)) 〖 〗 ใช้คลุมการอ่านออกเสียง
  • วงเล็บกระดองเต่า (亀甲括弧) 〔 〕
  • วงเล็บกระดองเต่าสองชั้น (二重亀甲括弧) 〘 〙

อ้างอิง

[แก้]
  1. เครื่องหมายวรรคตอนและการเขียน[ลิงก์เสีย] คลังความรู้ออนไลน์ ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สวทช.