เครื่องราชกกุธภัณฑ์เนเธอร์แลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งเนเธอร์แลนด์ในโบสถ์นิวเวอร์แคร์ก พ.ศ. 2556 มงกุฎวางอยู่ทางด้านซ้าย ส่วนคทาและลูกโลกประดับกางเขนวางอยู่ทางด้านขวา
มงกุฎแห่งเนเธอร์แลนด์

เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องราชกกุธภัณฑ์ของประเทศอื่นในยุโรปแล้ว เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งเนเธอร์แลนด์ ถือว่ามีอายุไม่เก่าแก่มากนัก ถูกใช้งานเป็นครั้งแรกโดยพระเจ้าวิลเลิมที่ 2 ในปี พ.ศ. 2383 ซึ่งเครื่องราชกกุธภัณฑ์ชุดก่อนหน้าถูกทำขึ้นจากเงินและใช้งานโดยพระเจ้าวิลเลิมที่ 1 ในปี พ.ศ. 2358[1]

เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งเนเธอร์แลนด์ประกอบด้วย :

  • คทา หมายถึงพระราชพันธกิจของพระมหากษัตริย์

ซึ่งทั้งคทาและลูกโลกประดับกางเขนถูกทำขึ้นโดยช่างเพชรหลวง ไมเยอร์ (ดัตช์: Meijer) จากเมืองเดนฮาก (กรุงเฮก)[3]

  • ธงกอนฟาลอนแห่งรัฐ (ดัตช์: Rijksvaandel หรือ Rijksbanier) ธงผ้าไหมสีขาวลายมัวเรซึ่งถูกขึงโดยทวนเคลือบทอง บนธงเป็นรูปตราแผ่นดินของเนเธอร์แลนด์รุ่นวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2358 อันหมายถึงประเทศชาติ ต่อมาแม้จะมีการเปลี่ยนตราแผ่นดินรุ่นใหม่ แต่ตราแผ่นดินรุ่นเดิมก็ยังคงปรากฏอยู่บนธงกอนฟาลอนมาจนถึงปัจจุบัน[4] ตราแผ่นดินดังกล่าววาดโดยบาโตโลเมอึส โยฮันเนิส ฟัน โฮเฟอ[5]

เครื่องราชกกุธภัณฑ์ทุกชิ้นรวมถึงชุดคลุมราชาภิเษกจะถูกใช้งานในพิธีขึ้นครองราชย์ของพระมหากษัตริย์เท่านั้น ซึ่งเครื่องราชกกุธภัณฑ์ทุกชิ้นถูกมอบให้อยู่ในการดูแลของมูลนิธิเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งราชวงส์ออเรนจ์-นัสเซาโดยพระราชินีนาถยูเลียนา[6]

การใช้งาน[แก้]

พระมหากษัตริย์เนเธอร์แลนด์จะไม่ได้รับการสวมมงกุฎทางกายภาพ ระหว่างพิธีขึ้นครองราชย์ มงกุฎ คทา และลูกโลกประดับกางเขน จะถูกวางบนโต๊ะภายในโบสถ์นีวเวอแกร์กในกรุงอัมสเตอร์ดัม ธงกอนฟาลอนแห่งรัฐและกระบี่อาญาสิทธิ์จะถูกประคองโดยเจ้าหน้าที่ทหารอาวุโสในขบวนเสด็จฯ พระราชดำเนินจากพระราชวังหลวงอัมสเตอร์ดัมมายังโบสถ์ และจะถูกประคองอยู่คนละฝั่งของแท่นพิธีขณะพระมหากษัตริย์ตรัสคำปฏิญาณตน[7]

เครื่องอัญมณี[แก้]

ในบางครั้งเครื่องราชกกุธภัณฑ์ (Regalia) ยังถูกใช้ในความหมายของชุดเครื่องอัญมณีของพระมหากษัตริย์ (Crown jewels) ในอดีตคำว่า รัตนากรของตระกูล (family jewels) ตามพระประสงค์ในปี พ.ศ. 2327 ของวิลเลิมที่ 5 สตัดเฮาเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็น รัตนากรของราชวงศ์ (House-diamonds, House-jewels) ตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าวิลเลิมที่ 1 ในปี พ.ศ. 2384 ในปี พ.ศ. 2333 คำว่า มงกุฎเพชร (ฝรั่งเศส: Bijoux de la Couronne) ถูกใช้โดยหลุยส์แห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล เพื่อหมายถึงเพชรเม็ดใหญ่จากเกาะบอร์เนียว ในปี พ.ศ. 2439 บริษัทฟันแก็มเปินเอินเบอเคร์ (van Kempen & Begeer) ได้บันทึกเกี่ยวกับการจัดทำเครื่องราชกกุธภัณฑ์ขึ้นใหม่ โดยเรียกเครื่องราชกกุธภัณฑ์เหล่านั้นว่า เครื่องรัตนากรของพระมหากษัตริย์ (ดัตช์: juweleelen der kroon) พระราชินีนาถยูเลียนาทรงมอบชุดเครื่องเพชรทางการของพระองค์แก่มูลนิธิเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งราชวงศ์ออเรนจ์-นัสเซา ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 ในปี พ.ศ. 2511 มูลนิธิ โกรงคูเดอเรินฟันเอิตเฮยส์ฟันโอรันเยอ-นัสเซา ถูกก่อตั้งขึ้น เครื่องราชกกุธภัณฑ์และเครื่องประดับต่าง ๆ จึงตกไปอยู่ในความดูแลของมูลนิธิดังกล่าว

ราชวงศ์ออเรนจ์-นัสเซาครองครองชุดเครื่องอัญมณีซึ่งรวมถึงเพชรและไข่มุก เพชรแซนซีขนาด 34 กะรัต อันโด่งดัง[8] ถูกซื้อมาโดยเฟรเดอริก แฮ็นดริก และขณะนี้ตกอยู่ในความครอบครองพระราชวงศ์ปรัสเซีย ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของวิลเลิมที่ 3 สตัดเฮาเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2245 ชุดเครื่องเพชรนี้ก็ถูกแยกออกจากกันหลายครั้ง สร้อยไข่มุกสีส้มอันโด่งดังถูกส่งไปยังปรัสเซีย ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 พระราชธิดาและพระราชปนัดดาของพระเจ้าวิลเลิมที่ 1 อีกทั้งพระราชธิดาของพระเจ้าวิลเลิมที่ 2 ได้รับพระราชทานชุดเครื่องเพชรเหล่านี้เมื่อเข้าพิธีเสกสมรส ปัจจุบันชุดเครื่องเพชรดังกล่าวกระจัดกระจายกันไปอยู่ในความครอบครองของเชื้อพระวงศ์สวีเดน เดนมาร์ก ปรัสเซีย และซัคเซิน-ไวมาร์ ต่อมาเจ้าชายแห่งออเรนจ์และพระมหากษัตริย์เนเธอร์แลนด์หลายพระองค์ทรงพยายามเรียกคืนเครื่องเพชรชุดดังกล่าวคืนแต่ไม่ประสบความสำเร็จ และในรัชสมัยของพระเจ้าวิลเลิมที่ 3 ทรงตัดสินพระทัยว่าเครื่องเพชรและเครื่องอัญมณีทั้งหลายต้องถูกรวบรวมขึ้นเป็น ชุดเครื่องเพชรของพระมหากษัตริย์ (The Diamonds of the Crown) และมีไว้ใช้งานโดยพระมหากษัตริย์และพระชายาเท่านั้น[9]

ภายในชุดเครื่องเพชรนี้ประกอบไปด้วยมงกุฎรูปทรงโบราณ ชุดเสื้อยกทรงและสร้อยคอประดับมรกต ไพลิน เพชร และทับทิมขนาดใหญ่ บางครั้งทรงสวมใส่เครื่องประดับเหล่านี้ในงานเลี้ยงรับรองอย่างเป็นทางการของรัฐ[10]

อัญมณีที่น่าประทับใจมากที่สุดในชุดคือเพชรอินเดียเจียระไนรูปกลีบกุหลาบทรงหยดน้ำที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นของเจ้าหญิงแมรี พระราชกุมารีและเจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ มันถูกอธิบายว่า "มีขนาดใหญ่เท่ากับไข่นกพิราบและโปร่งใสราวกับน้ำ" ส่วนข้อมูลเกี่ยวกับการสวมใส่และน้ำหนักยังไม่เป็นที่ทราบโดยแน่ชัด ทั้งนี้ไม่มีชื่อเรียกที่แน่นอนสำหรับเพชรดังกล่าว แต่ในอดีตถูกอ้างถึงในชื่อเพชร สจวร์ต หรือ ฮอลแลนด์[11]

ส่วนชุดเครื่องเพชร ทับทิม และไพลิน ที่ถูกมอบให้แก่พระราชินีนาถวิลเฮลมินาและพระราชินีนาถยูเลียนา ตามกฎหมายแล้วไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของชุดเครื่องเพชรเหล่านี้ ชุดอัญมณีดังกล่าวประกอบไปด้วยเพชร 800 เม็ด และกำไลข้อพระกร การูดา อันโด่งดังจากบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ซึ่งถูกมอบให้แก่เจ้าหญิงยูเลียนา ต่อมาถูกแบ่งย่อยออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ และกลายเป็นส่วนประกอบตามต่างหู เข็มกลัด และเครื่องอัญมณีอื่น ๆ[12]

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เครื่องอัญมณีของดัตช์ถูกส่งจากกรุงเฮกไปเก็บรักษาไว้ในสหราชอาณาจักร ณ ห้องนิรภัยของศาลาว่าการเมืองวุลเวอร์แฮมป์ตัน ที่ซึ่งเจ้าหญิงไอรีน บริเจดแห่งเนเธอร์แลนด์ ผู้ประจำการอยู่ในกองทัพเนเธอร์แลนด์ในขณะนั้น ประจำการอยู่บริเวณใกล้เคียง ณ วรอตเตสลีย์ปาร์ก นครวุลเวอร์แฮมป์ตัน

ระเบียงภาพ[แก้]

แมรีอังกฤษ เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ ขณะทรงสวมสร้อยไข่มุกสีส้ม
แมรีอังกฤษ เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ ขณะทรงสวมสร้อยไข่มุกสีส้ม 
โซฟีแห่งเวือร์ทเทิมแบร์ค ขณะทรงสวมสร้อยไข่มุก 113 เม็ด ซึ่งต่อมาถูกขายโดยพระราชโอรสองค์โตและถูกประมูลไปในปี พ.ศ. 2447 ด้วยราคา 855,000 ฟรังก์
โซฟีแห่งเวือร์ทเทิมแบร์ค ขณะทรงสวมสร้อยไข่มุก 113 เม็ด ซึ่งต่อมาถูกขายโดยพระราชโอรสองค์โตและถูกประมูลไปในปี พ.ศ. 2447 ด้วยราคา 855,000 ฟรังก์ 
พระราชินีนาถวิลเฮลมินา ขณะทรงชุดเครื่องเพชรและไพลิน ซึ่งเป็นของขวัญจากประชาชนชาวดัตช์เนื่องในวโรกาสอภิเษกสมรส
พระราชินีนาถวิลเฮลมินา ขณะทรงชุดเครื่องเพชรและไพลิน ซึ่งเป็นของขวัญจากประชาชนชาวดัตช์เนื่องในวโรกาสอภิเษกสมรส 
พระราชินีนาถยูเลียนา ขณะทรงสวมใส่กำไล การูดา ในข้อพระกรด้านขวา ส่วนเข็มกลัดที่ประดับด้วยมรกตขนาดใหญ่เป็นเครื่องประดับชิ้นหนึ่งในชุดเครื่องอัญมณีของพระมหากษัตริย์
พระราชินีนาถยูเลียนา ขณะทรงสวมใส่กำไล การูดา ในข้อพระกรด้านขวา ส่วนเข็มกลัดที่ประดับด้วยมรกตขนาดใหญ่เป็นเครื่องประดับชิ้นหนึ่งในชุดเครื่องอัญมณีของพระมหากษัตริย์ 

เชิงอรรถ[แก้]

  1. A.J.P.H. van Cruyningen, De inhuldiging van de Nederlandse vorst. Van Willem Frederik tot Beatrix Wilhelmina Armgard (unpublished MA thesis, Katholieke Universiteit Nijmegen, 1989) 61.
  2. Van Cruyningen, 61–62.
  3. Van Cruyningen, 62.
  4. Kl. Sierksma, Nederlands vlaggenboek. Vlaggen van Nederland, provincies en gemeenten (Utrecht/Antwerpen: Het Spectrum 1962, 17.
  5. http://beeldbank.nationaalarchief.nl/na:col1:dat534445
  6. Ren? Brus
  7. Van Cruyningen, passim.
  8. [1]
  9. Ren? Brus
  10. Ren? Brus
  11. Ren? Brus
  12. Ren? Brus

วรรณกรรม[แก้]

  • Ren? Brus; "De juwelen van het Huis Oranje-Nassau, Haarlem 1996.
  • Dieuwke Grijpma; Kleren voor de elite, 1999 ISBN 9789050184472

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]