เหยียนคัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหยียนคัง
延康
ค.ศ 220 เดือน 3 – เดือน 10
พระเจ้าเหี้ยนเต้
สถานที่ประเทศจีน (ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก)
พระมหากษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
เหตุการณ์สำคัญพระเจ้าเหี้ยนเต้สละราชบัลลังก์ให้โจผี
ช่วงเวลา
← ก่อนหน้า
เจี้ยนอัน
ถัดไป →
อ้วยโช่ (วุยก๊ก)
เหยียนคัง
ภาษาจีน延康

เหยียนคัง (จีน: 延康; พินอิน: Yánkāng) เป็นชื่อศักราชลำดับที่ 6 ในรัชสมัยพระเจ้าเหี้ยนเต้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ชื่อศักราชเหยียนคังใช้ในปี ค.ศ. 220 ตั้งแต่เดือน 3 ถึงเดือน 10 รวมเวลา 8 เดือน[1] ถือเป็นชื่อรัชศกสุดท้ายของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก

ศักราชเหยียนคังปีที่ 1 เดือน 10 พระเจ้าเหี้ยนเต้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออกถูกบังคับให้สละราชบัลลังก์ให้โจผี ถือเป็นการสิ้นสุดการปกครองของราชวงศ์ฮั่นตะวันออกและเข้าสู่ยุคสามก๊ก โจผีชิงอำนาจราชวงศ์ฮั่นมาเป็นของตนและสถาปนารัฐวุยก๊กขึ้น ชื่อศักราชถูกเปลี่ยนจากเหยียนคังเป็นอ้วยโช่ (黄初 หฺวางชู)

ด้านเล่าปี่ไม่ยอมรับการปกครองของโจผี จึงยังคงใช้ชื่อศักราชเจี้ยนอัน (建安) ต่อไป จึงกระทั่งเมื่อเล่าปี่สถาปนาตนเป็นจักรพรรดิแห่งจ๊กก๊กที่เซงโต๋ (เฉิงตู) เมื่อศักราชเจี้ยนอันปีที่ 26 (ค.ศ. 221) จึงเปลี่ยนชื่อศักราชเป็นเจี๋ยงบู๋ (章武 จางอู่)

ด้านซุนกวนในตอนแรกยอมเป็นสวามิภักดิ์เป็นรัฐประเทศราชของโจผี จึงใช้ชื่อศักราชเหยียนคังและอ้วยโช่ตามลำดับ จนกระทั่งศักราชอ้วยโช่ปีที่ 3 (ค.ศ. 222) ซุนกวนประกาศตั้งตนเป็นอิสระจากวุยก๊ก และใช้ชื่อศักราชเป็นหฺวางอู่ (黃武) ภายหลังเมื่อจะบันทึกถึงเหตุการณ์ในช่วงศักราชเหยียนคังและอ้วยโช่ ก็เปลี่ยนไปเรียกด้วยศักราชเจี้ยนอันแทน[2]

การเปลี่ยนชื่อศักราช[แก้]

เหตุการณ์สำคัญ[แก้]

ตารางเทียบศักราช[แก้]

เหยียนคัง 1
ค.ศ. 220

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 李崇智,《中國歷代年號考》,第14頁。
  2. 根据考古发现的吴镜铭辞。详见罗新《走马楼吴简中的建安纪年简问题》。
  3. 後漢書獻帝紀  – โดยทาง Wikisource.「(建安二十五年)三月,改元延康。……冬十月乙卯,皇帝遜位,魏王丕稱天子。」
  4. 三國志文帝紀  – โดยทาง Wikisource.「太祖崩,嗣位為丞相、魏王。改建安二十五年為延康元年。 元年二月……(十一月)庚午,王升壇即阼,百官陪位。事訖,降壇,視燎成禮而反。改延康為黃初,大赦。」
  5. 5.0 5.1 資治通鑑魏紀一  – โดยทาง Wikisource.「〔黃初元年正月〕改元延康。……冬,十月,乙卯,漢帝告祠高廟,使行御史大夫張音持節奉璽綬詔冊,禪位于魏。王三上書辭讓,乃為壇於繁陽,辛未,升壇受璽綬,即皇帝位,燎祭天地、嶽瀆,改元,大赦。」

บรรณานุกรม[แก้]

  • 李崇智 (December 2004). 中國歷代年號考. 北京: 中華書局. ISBN 7101025129.
ก่อนหน้า เหยียนคัง ถัดไป
เจี้ยนอัน ศักราชของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก
(ค.ศ. 220)
วุยก๊ก:
อ้วยโช่ (หฺวางชู)