อเล็กทีนิบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อเล็กทีนิบ
ข้อมูลทางคลินิก
การอ่านออกเสียง/əˈlɛktɪnɪb/ ə-lek-ti-nib
ชื่อทางการค้าAlecensa
AHFS/Drugs.comโมโนกราฟ
MedlinePlusa616007
ข้อมูลทะเบียนยา
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • AU: D
  • US: N (ยังไมได้จำแนก)
ช่องทางการรับยารับประทาน (แคปซูล)
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผล37% (ภายใต้สภาวะให้อาหาร)
การจับกับโปรตีน>99%
การเปลี่ยนแปลงยาส่วนใหญ่โดย CYP3A4
สารซึ่งได้หลังการเปลี่ยนแปลงยาM4 (สารออกฤทธิ์)
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ33 ชั่วโมง (อเล็กทีนิบ), 31 ชั่วโมง (M4)
การขับออกอุจจาระ (98%)[1]
ตัวบ่งชี้
  • 9-Ethyl-6,6-dimethyl-8-[4-(morpholin-4-yl)piperidin-1-yl]-11-oxo-6,11-dihydro-5H-benzo[b]carbazole-3-carbonitrile
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ECHA InfoCard100.256.083
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC30H34N4O2
มวลต่อโมล482.628 g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • CCc1cc2c(cc1N3CCC(CC3)N4CCOCC4)C(c5c(c6ccc(cc6[nH]5)C#N)C2=O)(C)C
  • InChI=1S/C30H34N4O2/c1-4-20-16-23-24(17-26(20)34-9-7-21(8-10-34)33-11-13-36-14-12-33)30(2,3)29-27(28(23)35)22-6-5-19(18-31)15-25(22)32-29/h5-6,15-17,21,32H,4,7-14H2,1-3H3 COPY
  • Key:KDGFLJKFZUIJMX-UHFFFAOYSA-N
สารานุกรมเภสัชกรรม

อเล็กทีนิบ[2] (INN: Alectinib[3] และชื่อทางการค้า Alecensa) เป็นยารับประทานที่ออกฤทธิ์ขัดขวางการทำงานของเอนไซม์อะนาพลาสติกลิมโฟมาไคเนส (anaplastic lymphoma kinase, ALK)[4][5] และใช้ในการรักษามะเร็งปอดชนิดเซลล์ที่ขนาดไม่เล็ก (non-small cell lung cancer, NSCLC) พัฒนาขึ้นโดยบริษัทชูไก ฟาร์มาซูติคอล (Chugai Pharmaceutical) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของกลุ่มบริษัทฮอฟฟ์แมน-ลา โรช

ประวัติ การทดลองทางคลินิก การอนุมัติ และการใช้ทางการแพทย์[แก้]

อเล็กทีนิบ ได้รับการอนุมัติในประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557[6] สำหรับการรักษามะเร็งปอดชนิดเซลล์ที่ขนาดไม่เล็ก (NSCLC) ซึ่งตรวจพบยีนลูกผสม ALK, ไม่สามารถผ่าตัดได้, ระยะลุกลาม หรือกลับเป็นซ้ำ[5]

ยาได้รับการอนุมัติเร่งด่วนจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งชนิด NSCLC ที่ตรวจพบ ALK-positive ซึ่งมีอาการรุนแรง โดยโรคแย่ลงภายหลังรักษาด้วยยาไครโซทีนิบ (Crizotinib, Xalkori) หรือผู้ที่ไม่สามารถทนต่อการรักษาดังกล่าว[4] (สิ่งนี้ถูกแปลงเป็นการอนุมัติเต็มรูปแบบในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560)[7]

ได้รับการอนุมัติแบบมีเงื่อนไขจากองค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (European Medicines Agency) ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 สำหรับข้อบ่งชี้เดียวกัน ซึ่งหมายความว่ากำลังรอการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันอัตราส่วนผลประโยชน์-ความเสี่ยง ในเชิงบวก[8]

การอนุมัติมีพื้นฐานมาจากการทดลองสองฉบับ: ในการทดลองระยะที่ I–II ของประเทศญี่ปุ่น หลังจากผ่านไปประมาณ 2 ปี ผู้ป่วยร้อยละ 19.6 มีผลการตอบสนองอย่างสมบูรณ์ โดยอัตราการรอดชีวิตที่มะเร็งไม่มีการลุกลามสองปีอยู่ที่ร้อยละ 76[5] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 การศึกษา J-ALEX ระยะที่ 3 ที่เปรียบเทียบอเล็กทีนิบ กับไครโซทีนิบ ถูกยกเลิกก่อนกำหนด เนื่องจากการวิเคราะห์ระหว่างกาลแสดงให้เห็นว่าผู้ได้รับอเล็กทีนิบมีการรอดชีวิตที่ปราศจากการลุกลามยาวนานกว่า[9]

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 องค์การอาหารและยาสหรัฐอนุมัติอเล็กทีนิบเป็นการรักษาลำดับแรกสำหรับรักษาผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดเซลล์ที่ขนาดไม่เล็กซึ่งมี ALK-positive ในระยะแพร่กระจาย[7] โดยอิงจากผลของการทดลอง ALEX ระยะที่ 3 เปรียบเทียบกับยาไครโซทีนิบ[7]

ข้อห้าม[แก้]

ไม่มีข้อห้ามใช้ภายใต้การอนุมัติของสหรัฐ[10] สำหรับข้อห้ามใช้ในการอนุมัติของยุโรปมีเพียงข้อสังเกตเบื้องต้นเกี่ยวกับภาวะภูมิไวเกิน[11]

ผลข้างเคียง[แก้]

นอกเหนือจากผลกระทบต่อทางเดินอาหารที่ไม่จำเพาะเจาะจง เช่น อาการท้องผูก (ในผู้ป่วยร้อยละ 34) และคลื่นไส้ (ร้อยละ 22) ผลข้างเคียงที่พบบ่อยในการทดลองได้แก่ อาการบวมน้ำ (ร้อยละ 34) ปวดกล้ามเนื้อ (ร้อยละ 31) ภาวะโลหิตจาง (ตรวจวัดมีจำนวนเม็ดเลือดแดงต่ำ) ความผิดปกติของการมองเห็น อาการไวแสง และผื่น (ทั้งหมดต่ำกว่าร้อยละ 20)[12] ผลข้างเคียงที่ร้ายแรงเกิดขึ้นผู้ป่วยร้อยละ 19 โดยเสียชีวิตร้อยละ 2.8[10]

อันตรกิริยา[แก้]

อเล็กทีนิบมีศักยภาพในการเกิดปฏิกริยาต่ำ ในขณะที่มันถูกเผาผลาญโดยเอนไซม์ตับ CYP3A4 ผลที่ตามมาตัวยับยั้งของเอนไซม์จะมีความเข้มข้นเพิ่มขึ้นในร่างกาย พวกมันจะลดความเข้มข้นของสารเมแทบอไลต์ M4 ในรูปออกฤทธิ์ ส่งผลให้มีประสิทธิผลโดยรวมเพียงเล็กน้อย ในทางกลับกัน ตัวกระตุ้น CYP3A4 จะลดความเข้มข้นของอเล็กทีนิบ และเพิ่มความเข้มข้นของ M4 ปฏิกริยาผ่านเอนไซม์ CYP อื่นและโปรตีนขนส่งไม่สามารถแยกออกได้ แต่ไม่น่าจะมีความสำคัญทางคลินิก[11][12]

เภสัชวิทยา[แก้]

ผังการเผาผลาญ ของอเล็กทีนิบ โดยอเล็กทีนิบและสารออกฤทธิ์ M4 เป็นสารประกอบหลักที่พบในระบบไหลเวียน ในขณะที่สารอื่นเป็น สารเมแทโบไลต์รอง[13]

กลไกการออกฤทธิ์[แก้]

สารนี้สกัดกั้นตัวรับเอนไซม์ไทโรซีนไคเนสอย่างมีศักยภาพและเจาะจงสองตัวได้แก่ อะนาพลาสติกลิมโฟมาไคเนส (ALK) และโปรโต-ออนโคยีน RET สารออกฤทธิ์ M4 มีฤทธิ์คล้ายต่อต้านกับ ALK ซึ่งการยับยั้ง ALK จะตามด้วยการขัดขวางเส้นทางการส่งสัญญาณของเซลล์ รวมถึงเส้นทาง STAT3 และ PI3K/AKT/mTOR และทำให้เกิดการตายของเซลล์เนื้องอก (apoptosis)[11][12]

เภสัชจลนศาสตร์[แก้]

มีอัตราการดูดซึมยาได้อย่างสมบูรณ์เมื่อรับประทานพร้อมอาหารที่ร้อยละ 37 ความเข้มข้นในพลาสมาจะสูงสุดหลังจากผ่านไปสี่ถึงหกชั่วโมง และเข้าสู่สภาวะคงตัวภายในเจ็ดวัน การจับโปรตีนในพลาสมาของอเล็กทีนิบและ M4 มีค่ามากกว่าร้อยละ 99 เอนไซม์ที่มีหน้าที่หลักในการเผาผลาญอเล็กทีนิบคือ CYP3A4 ส่วนเอนไซม์ CYP อื่น ๆ และแอลดีไฮด์ดีไฮโดรจีเนส (aldehyde dehydrogenases) มีบทบาทเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อเล็กทีนิบ และ M4 คิดเป็นร้อยละ 76 ของสารในระบบไหลเวียน ในขณะที่ส่วนที่เหลือเป็นสารเมแทโบไลต์รอง[12][13]

ครึ่งชีวิตในพลาสมาของอเล็กทีนิบคือ 32.5 ชั่วโมง และของ M4 คือ 30.7 ชั่วโมง ถูกขับออกทางอุจจาระร้อยละ 98 โดยร้อยละ 84 เป็นอเล็กทีนิบที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และร้อยละ 6 เป็น M4 ส่วนการขับออกทางปัสสาวะพบน้อยกว่าร้อยละ 1[12][13]

เคมี[แก้]

อเล็กทีนิบมีค่า pKa เท่ากับ 7.05 การใช้งานอยู่ในรูปของไฮโดรคลอไรด์ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนผงสีขาวถึงขาวเหลือง[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Alecensa (alectinib) Capsules, for Oral Use. Full Prescribing Information" (PDF). Genentech USA, Inc. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2017.
  2. "ชื่อสามัญทางยา อเล็กทีนิบ ความแรง 150 (มิลลิกรัม) ชนิดแคปซูล" (PDF). กลุ่มนโยบายแห่งชาติด้านยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. กรกฎาคม 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 กันยายน 2023.
  3. "International Nonproprietary Names for Pharmaceutical Substances (INN). Recommended International Nonproprietary Names: List 70" (PDF). World Health Organization. p. 279. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 มกราคม 2022. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2017.
  4. 4.0 4.1 "New Oral Therapy To Treat ALK-Positive Lung Cancer". Pharmacy Practice News. McMahon Publishing. 15 ธันวาคม 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2016.
  5. 5.0 5.1 5.2 McKeage K (มกราคม 2015). "Alectinib: a review of its use in advanced ALK-rearranged non-small cell lung cancer". Drugs. 75 (1): 75–82. doi:10.1007/s40265-014-0329-y. PMID 25428710. S2CID 34062880.
  6. Roche (4 กรกฎาคม 2014). "Japan becomes first country to approve Roche's alectinib for people with a specific form of advanced lung cancer". European Pharmaceutical Review. Russell Publishing.
  7. 7.0 7.1 7.2 "FDA approves Alecensa for ALK-positive metastatic non-small cell lung cancer". Healio. 6 พฤศจิกายน 2017.
  8. "Alecensa authorisation details". European Medicines Agency. 16 กุมภาพันธ์ 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 มิถุนายน 2018. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2022.
  9. "Chugai's ALK Inhibitor "Alecensa" Trial Stopped Early for Benefit. Feb 2016" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 18 เมษายน 2016. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2016.
  10. 10.0 10.1 10.2 ข้อมูลยาของ FDA สำหรับผู้เชี่ยวชาญ on Alecensa.
  11. 11.0 11.1 11.2 "Alecensa: EPAR – Product Information" (PDF). European Medicines Agency. 16 พฤษภาคม 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 17 เมษายน 2018. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2022.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 Haberfeld, H, บ.ก. (2017–2018). Alecensa 150 mg Hartkapseln. Austria-Codex (ภาษาเยอรมัน). Vienna: Österreichischer Apothekerverlag. ISBN 978-3-85200-250-7.
  13. 13.0 13.1 13.2 "Alecensa: Assessment report" (PDF). European Medicines Agency. 15 ธันวาคม 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 กันยายน 2018. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]