มุญาฮิด อิบน์ ญับร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มุญาฮิด อิบน์ ญับร์
مجاهد بن جبر
ส่วนบุคคล
เกิดค.ศ. 642
ฮ.ศ. 21
ศาสนาอิสลาม
นิกายซุนนี
ลัทธิอะษะรียะฮ์
ผลงานโดดเด่นตัฟซีร มุญาฮิด อิบน์ ญับร์
ตำแหน่งชั้นสูง
ได้รับอิทธิจาก
มีอิทธิพลต่อ

อะบูลฮัจญาจญ์ มุญาฮิด อิบน์ ญับร์ อัลกอรี (อาหรับ: مُجَاهِدُ بْنُ جَبْرٍ) (ฮ.ศ. 642–722) เป็นตาบิอีน และเป็นหนึ่งใน นักวิชาการอิสลามยุคแรกที่สำคัญ[1] ตัฟซีร อัลกุรอานของท่าน เชื่อกันว่าเป็นแหล่งอรรถกถาแบบเป็นลายลักษณ์อักษรที่เก่าแกุ่สุดที่มีอยู่ แม้ว่าจะมีเพียงเศษเสี้ยวเท่านั้นที่เข้ามาถึงยุคของเรา ตั้งแต่สมัยอุมัยยะฮ์

ชีวประวัติ[แก้]

นามเต็มๆ ของท่านเรียกว่า "มุญาฮิด อิบน์ ญับร์, เมาลา อัสซาอิบ อิบน์ อะบี อัสซาอิบ อัลมัคซูมี อัลกุร็อยชี" นิสบะฮ์ (การอิงตนเป็น) อัลมัคซูมี เป็นเพราะท่ารเป็นทาสรับใช้ของใครบางคนจากชนเผ่าบะนูมัคซูม[2]

ท่านมูญาฮิดเป็นหนึ่งในนักตัฟซีร อัลกุรอานชั้นนำ และนักอธิบายรุ่นต่อจากนะบีมุฮัมมัด และเศาะฮาบะฮ์ของท่าน ท่านเป็นคนแรกที่รวบรวมคำอธิบายอัลกุรอานเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งท่านกล่าวว่า "ไม่อนุญาตให้ผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์และวันพิพากษาพูดอัลกุรอานโดยไม่ต้องเรียนภาษาอาหรับมาตราฐาน"[ต้องการอ้างอิง] กล่าวกันว่าท่านได้ศึกษาภายใต้ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ จนกระทั่งท่านเสียชีวิต เมื่อถึงจุดนั้น ท่านเริ่มศึกษากับอิบน์ อับบาส เศาะฮาบะฮ์ของท่านนะบีซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม บิดาแห่งการอธิบายคัมภีร์ มุญาฮิด อิบน์ ญับร์ เป็นที่รู้กันว่าเต็มใจที่จะค้นหาความหมายที่แท้จริงของโองการในอัลกุรอาน และได้รับการพิจารณาให้เป็นชายผู้ชอบเดินทาง อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานว่าท่านเคยเดินทางออกนอกคาบสมุทรอาหรับ

ผลงาน[แก้]

อิบน์ ซะอ์ด บันทึกในเฏาบะกอต (6:9) และที่อื่นๆ ว่าท่านอ่านคำอธิบายอัลกุรอานร่วมกับอิบน์ อับบาสถึงสามสิบครั้ง[1]

กล่าวกันว่าท่านมุญาฮิด อิบน์ ญับร์ เป็นที่พึ่งในแง่ของ ตัฟซีร ตามคำกล่าวของซุฟยาน อัษเษารี ซึ่งกล่าวว่า: "หากท่านได้รับการตัฟซีรของมุญาฮิด ก็เพียงพอแล้วสำหรับท่าน"

อรรถกถาโดยทั่วไปเป็นไปตามหลักการ 4 ประการ ดังนี้:

  1. อัลกุรอานสามารถอธิบายได้จากส่วนอื่นๆ ของอัลกุรอาน ตัวอย่างเช่น ในการอถรรกถากุรอาน 29:13 ท่านใช้ความหมายจากกุรอาน 16:25
  2. การอธิบายด้วยหะดีษ
  3. เหตุผล
  4. ความคิดเห็นทางภาษา

ญามิอ์ อัลบะยาน โดย อัฏเฏาะบะรี ระบุถึงเนื้อหาเชิงอรรถกถาจำนวนมากว่าเป็นของมุญาฮิด[จำเป็นต้องอ้างอิง]


สิ่งที่ทิ้งไว้[แก้]

มุมมองของบรรดานักวิชาการอิสลาม[แก้]

ท่านถูกจัดอยู่ในประเภทผู้รายงานหะดีษที่ ษิเกาะฮ์ (กล่าวคือน่าเชื่อถือมาก)[1]

อัลอะอ์มัช กล่าวว่า:

“มุญาฮิดเปรียบเสมือนชายที่มีสมบัติ เมื่อใดก็ตามที่ท่านพูด ไข่มุกจะออกมาจากปากของท่าน”[1]

หลังจากยกย่องท่านด้วยคำพูดที่คล้ายกัน อัษษะฮะบี ได้กล่าวว่า: “ประชาชาติอุมมะฮ์มีมติเป็นเอกฉันท์ว่ามุญาฮิดเป็นอิหม่ามผู้คู่ควรในอิจญ์ติฮาด”[ จำเป็นต้องอ้างอิง ]

ดูเพิ่ม[แก้]

ลิงค์ภายในอก[แก้]

แม่แบบ:Quranic qira'ates

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Mujahid". www.livingislam.org.
  2. Ayoub, Mahmoud (1984). The Qur'an and Its Interpreters. Vol. 1. SUNY Press. ISBN 978-0-87395-727-4.